เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
สภาอุตฯ ชง 7 มาตรการเสนอ ธปท.ลดผลกระทบค่าเงินบาทแข็ง


นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เชิญผู้ประกอบการ 25 กลุ่มอุตสาหกรรม และอีก 2 องค์กรการค้า ที่ได้รับผลกระทบค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เข้าหารือด่วนถึงมาตรการที่จะเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ช่วงสัปดาห์หน้า มี 7 มาตรการ คือ
         
1.ต้องการให้ ธปท.ดูแลไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นอย่างผันผวน ดังนั้นธปท.ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ 2. อย่าให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าคู่แข่งในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ซึ่งหากแข็งค่าขึ้นมากกว่า 3% ถือว่าเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับผู้ประกอบการ โดยขณะนี้ถือว่าค่าเงินบาทไทยแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย เช่น มาเลเซียแข็งค่า 2.2% อินโดนีเซียแข็งค่า 0.05% เวียดนาม 0.66% ใต้หวัน 0.45 % จีน 0.40% แต่ไทยแข็งค่าขึ้น 3.13% เป็นต้น ขณะที่ฮ่องกงและสิงคโปร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง
         
3.ปลดล็อคเรื่องการถือครองเงินตราต่างประเทศ เพื่อลดแรงกดดันอัตราแลกเปลี่ยน  4.ต้องการให้กลุ่มผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี เข้าถึงกลไกและมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น เช่น ให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐลดวงเงินค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมทางการเงิน ลดการป้องกันความเสี่ยงให้มีขนาดเล็กลง กำหนดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมให้เหมาะสม เช่น ค่าปริวรรตเงิน แยกวงเงินความเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยนออกจากวงเงินสินเชื่อ 5.แยกเงินที่ไหลเข้ามาเป็นเงินต่างประเทศแปลงเป็นเงินบาทเพื่อมาหาประโยชน์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ชัดเจน6.ให้สิทธิประโยชน์สนับสนุนผู้ประกอบการให้ลงทุนในต่างประเทศ และ 7. สนับสนุนการลงทุนภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น
         
พร้อมกันนี้ ได้เสนอให้ ธปท.ยกเลิกการเปรียบเทียบค่าเงินบาทของไทยกับประเทศที่ไม่ใช่คู่แข่งทางการค้า เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แต่ให้เปรียบเทียบในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด และเชื่อว่าในช่วง 2-3 เดือนค่าเงินจะมีความผันผวนแต่แนวโน้มที่จะที่ค่าเงินจะแข็งค่าขึ้นจะมากกว่านี้


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ม.ค. 2556 เวลา : 18:56:52
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 9:21 am