เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
"การเมือง" ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 57


 

 

สถานการณ์เมืองที่ยังยืดเยื้อ ไม่มีทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายรัฐบาลและผู้ชุมนุม แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศยุบสภา และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งได้ในวันที่ 2 ก.พ. 2557 ทำให้หน่วยงานต่าง ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างกังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

 

ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ยอมรับว่า ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2557 ขึ้นกับปัจจัยทางการเมืองเป็นหลัก โดยกสิกรไทยได้ประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาทางการเมืองออกมาใน 4 กรณี ได้แก่ กรณี1.หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2557 และรัฐบาลสามารถดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที การส่งออกของไทยขยายตัวได้ในระดับที่ 7% จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) อยู่ที่ 4.5%

กรณีที่ 2 หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในครึ่งปีแรกปี 2557 แต่รัฐบาลใหม่ยังไม่สามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และภาคการส่งออกเติบโตในระดับ 5% จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีอยู่ที่ 3.%

กรณีที่ 3 หากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่มีความล่าช้าออกไปเกินกว่าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 ซึ่งจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2557 ของภาครัฐล่าช้าออกไป และส่งผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณปี 2558 ซึ่งหากภาคการส่งออกสามารถขยายตัวได้ถึง 7% โดยที่เศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนต่างๆ ของภาครัฐไม่ขยายตัว อัตราการขยายตัวของจีดีพีจะอยู่ที่ 2.5%

และกรณีสุดท้ายเป็นกรณีเลวร้ายที่สุด หากการเมืองยังมีความขัดแย้งรุนแรงและไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ รวมทั้งการส่งออกขยายตัวไม่ถึง 3% จะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของจีดีพีเหลือเพียงแค่ 0.5% เท่านั้น 

ด้าน นางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย บอกว่า ปัญหาการเมืองยังเป็นตัวแปรสำคัญที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การบริโภค การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมทั้งยังมีผลต่อการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยเฉพาะงบการลงทุน 

 

ผลกระทบจากการเมืองต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2557

                                           กรณีการเมืองขัดแย้งรุนแรง

                    เศรษฐกิจในประเทศสะดุด         และส่งออกโตต่ำ

GDP                             2.5%                         0.5%

การบริโภคเอกชน            0%                              0%

การลงทุน                        0%                             0%

การส่งออก                      7%                             3%

 

ที่มา: ประมาณการโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย 

 

 

สอดคล้องกับมุมมองของ ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ยอมรับว่า เป็นห่วงภาวะการเมืองไทยในปัจจุบัน ในช่วงที่ยังไม่มีรัฐบาลที่แท้จริงในการบริหารงาน โดยหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นเวลายาวนาน จะส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจไทย เพราะการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่จะมาจากการบริหารงานทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นหลัก ทั้งด้านการใช้จ่าย การลงทุน การผลักดันในการเจรจาการค้า การส่งออก การท่องเที่ยว รวมทั้งการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆกับรัฐบาลและหน่วยราชการ ดังนั้น หากไม่มีใครบริหารเศรษฐกิจ นโยบายเศรษฐกิจทั้งระบบก็จะมีปัญหา ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจให้ชะลอตัวมากยิ่งขึ้น   
 


LastUpdate 13/12/2556 12:36:44 โดย : Admin
02-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 2, 2024, 5:04 am