เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
พาณิชย์ผลักดันไทยเป็นฮับ อุตฯภาพยนตร์และบันเทิงไทย


นางอภิรดี  ตันตราภรณ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งบูรณาการกับหลายหน่วยงาน ผลักดันธุรกิจบริการด้านภาพยนตร์เพื่อสร้างรากฐานแห่งการเป็นศูนย์กลางสำหรับ Production และ Post-Production ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีที่ผ่านมาจำนวนของภาพยนตร์ที่ใช้ประเทศไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำเพิ่มขึ้นถึง 15% ภาพรวมของธุรกิจด้านภาพยนตร์ประกอบด้วย 1) Pre-Production : casting, costume, make up, music 2) Production: shooting team, location, equipment service 3) Post Production: computer graphic, visual effect, editing, sound ส่วนที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การรับจ้าง Outsourcing การบริการ Production และ Post Production รวมทั้งบริการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย (Location Shooting) และขายลิขสิทธิ์ อีกทั้งปัจจุบันมีนักแสดง ผู้สร้างภาพยนตร์ อนิเมชั่นและสเปเชียล เอฟเฟคที่ได้รับรางวัล รวมทั้งได้ร่วมแสดงภาพยนตร์ที่สร้างรายได้ให้ประเทศปีละหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ


รัฐบาลได้ประกาศสิทธิประโยชน์ที่ให้กับภาพยนตร์และสื่อโทรทัศน์ที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยที่จะมีผลในปีนี้ คือการให้เงินคืน 15% สำหรับโปรเจคที่มีการลงทุนภายในประเทศไทยขั้นต่ำ 50 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 20% ได้เมื่อรวมกับ 3% หากมีการจ้างงานบุคลากรไทยในตำแหน่งที่สำคัญกับโปรเจคนั้นๆ และอีก 2% หากมีการโปรโมทประเทศไทยในด้านการท่องเที่ยว

ในปี 2560 กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกิจบริการด้านภาพยนตร์ไว้ 7 ด้าน คือ
1) สร้างให้ไทยเป็นฐานการผลิตงาน ฐานการลงทุนที่มีคุณภาพสูงของเอเชีย(Hub) และเป็นประตู (Gateway) สำหรับนักลงทุน นักธุรกิจต่างชาติที่จะเข้ามาทำธุรกิจในภูมิภาค
2) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขานี้ ให้มีขีดความสามารถสูงในการคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างผลงานใหม่ ๆ และพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สามารถรับจ้างผลิตงานที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมากขึ้น
3) สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและหน่วยงานภาคปอกชนกับกลุ่มประเทศเป้าหมาย
4) ขยายตลาดการส่งออกภาพยนตร์ไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก
5) สร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของ Creative Content/ IP/ Brand ของไทยและสร้างศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย
6) เพิ่มความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ขยายตลาดกับบริษัทต่างชาติ/กระตุ้นการ Co-Production/Investment
7) สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและหน่วยงานภาคเอกชนกับกลุ่มประเทศเป้าหมาย

นางอภิรดี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการหารือผู้ประกอบการไทย สิ่งที่ภาคเอกชนต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ คือ 1. จัดกิจกรรมเผยแพร่ศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง (Production, Post Production, Computer Graphics) 2. จัดอบรมสัมมนา เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถและเทคนิคต่างๆ /ให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อการส่งออกต่อไป 3. นำภาพยนตร์ไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่สำคัญของโลกอย่างต่อเนื่อง 4. จัดคณะผู้แทนการค้า (Inbound/Outbound Business Matching) และ 5.กลยุทธ์เสริมสร้างมิตรทางการค้ากับผู้ลงทุน ผู้สร้าง ผู้กำกับ นักธุรกิจในต่างประเทศ ได้แก่ การจัดThai Night/Networking Party
 
โดยแผนงานในปี 2560 จะเน้นในเรื่องของการร่วมงานแสดงสินค้าเฉพาะ เช่น งาน Cannes Film Festival งานMIPCOM งานAmerican Film Market เทศกาลภาพยนตร์ไทยในกัมพูชา งาน Taipei Film Festival ซึ่งประเทศดังกล่าวเป็นเป้าหมายสำคัญของไทยในการส่งออก

“ธุรกิจบริการด้านภาพยนตร์สร้างรายได้หมุนเวียนในระบบกว่า 3 หมื่นล้านบาท หากธุรกิจนี้เติบโตก็จะพาให้ธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องเติบโตไปด้วย เช่น ธุรกิจบริการสตูดิโอและอุปกรณ์ในการถ่ายภาพยนตร์,   บริการเช่ารถ, นักแสดง, ธุรกิจบริการด้าน Location, ธุรกิจบริการด้าน Visual effect/Computer Graphics, ธุรกิจโรงภาพยนตร์ รวมไปถึงร้านอาหาร การจัดเลี้ยง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เงินในเศรษฐกิจไทยหมุนเวียนได้อีกมากมาย” นางอภิรดี กล่าว

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 พ.ค. 2560 เวลา : 15:41:50
19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 10:15 am