ข่าวประชาสัมพันธ์
สถานการณ์น้ำและการรับน้ำเข้าทุ่งพื้นที่ลุ่มต่ำตอนล่าง


กรมชลประทาน คาดการณ์ปริมาณน้ำสูงสุดจะไหลลงสู่บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ในเกณฑ์ประมาณ 2,240 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 9 .. 60 นี้ พร้อมเดินหน้าส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน ก่อนนำน้ำเข้าทุ่งแก้มลิงต่างๆตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง โดยควบคุมระดับน้ำในทุ่งให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 

 

  

         นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่า บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคใต้ จะมีฝนตกชุกหนาแน่น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตลอดช่วง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ 

 

        สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ 1 .. 60 มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 56,131 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ..) หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯรวมกันทั้งหมด ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2559 รวม 9,411 ล้าน ลบ.. เป็นน้ำใช้การได้ 32,312 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 63 สามารถรองรับน้ำได้อีก 19,087        ล้าน ลบ.. เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำรวมกัน 17,279 ล้าน ลบ.. คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯรวมกัน ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2559 รวม 2,657 ล้าน ลบ.. มีปริมาณน้ำใช้การได้ 10,583 ล้าน ลบ..      คิดเป็นร้อยละ 58 (ปี 2559 มีน้ำใช้การได้ 7,956 ล้าน ลบ..) สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 7,592 ล้าน ลบ..

 

 

สำหรับการรับน้ำเข้าทุ่งต่างๆ จนถึงปัจจุบัน(1 .. 60) มีดังนี้ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา กรมชลประทาน ได้ส่งน้ำเข้าระบบชลประทานผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์ลงสู่คลองชัยนาทป่าสัก ก่อนจะนำน้ำส่วนหนึ่งเข้าไปเก็บไว้ในทุ่งต่างๆ ซึ่งมีปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ ขังอยู่ในทุ่งบางส่วน สรุปได้ดังนี้ ทุ่งเชียงราก มีปริมาณน้ำรวม 50.38 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาท-ป่าสัก มีปริมาณน้ำรวม 8.19 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุ่งท่าวุ้ง มีปริมาณน้ำรวม 6.15 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุ่งบางกุ่ม มีปริมาณน้ำรวม 32.98 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุ่งบางกุ้ง มีปริมาณน้ำรวม 17.35 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

 

 

   ในส่วนของพื้นที่ฝั่งตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา นั้น กรมชลประทาน ได้มีการส่งน้ำเข้าระบบชลประทานผ่านประตูระบายน้ำต่างๆ ก่อนจะนำน้ำบางส่วนเข้าไปเก็บไว้ในทุ่ง ที่มีปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ขังอยู่แล้วบางส่วน สรุปได้ดังนี้ ส่งน้ำผ่านประตูระบายน้ำพลเทพ ลงสู่แม่น้ำท่าจีน จากนั้นจะรับน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่งโพธิ์พระยา มีปริมาณน้ำในทุ่งรวม 15 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำที่รับผ่านประตูระบายน้ำบรมธาตุลงสู่แม่น้ำน้อย จะนำไปเก็บไว้ในทุ่งผักไห่ มีปริมาณน้ำรวม 88 ล้านลูกบาศก์เมตร ทุ่งป่าโมก มีปริมาณน้ำรวม 12 ล้านลูกบาศก์เมตร และทุ่งเจ้าเจ็ด มีปริมาณน้ำรวม 52.59 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำที่มีการรับน้ำเข้าทุ่งทั้งสองฝั่งทั้งสิ้น 298.69 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณน้ำที่รับได้ทั้งหมด (ปริมาณน้ำในทุ่งที่รับได้ทั้งหมด 12 ทุ่ง รวม 1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร) 

 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะทยอยนำน้ำเข้าไปในทุ่งต่างๆ ที่มีความพร้อมและได้รับการยินยอมจากราษฎรในพื้นที่ ที่ได้มีการทำประชาคมและมีมติร่วมกันแล้ว เพื่อใช้ประโยชน์ในการหมักตอซังเป็นปุ๋ยอินทรีย์ การเกษตร และการประมง โดยจะควบคุมระดับน้ำในทุ่งให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากยังคงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนที่จะตกลงมาในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิดด้วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีปริมาณน้ำหลากจำนวนมากไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยาแต่อย่างใด  

   สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 2 .. 60 ปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 .เมืองนครสวรรค์ 1,849 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.29 เมตร มีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,273   ลบ..ต่อวินาที ซึ่งบริเวณเหนือเขื่อนได้รับน้ำเข้าสู่คลองฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวมทั้ง 2 ฝั่งวันละประมาณ 577    ลบ..ต่อวินาที ทั้งนี้ จะบริหารน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้เข้าคลองชลประทานให้มากที่สุดตามศักยภาพของพื้นที่ พร้อมกับทดระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาที่ไหลมาจากจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อชะลอน้ำไว้บริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในระดับการควบคุม(ไม่เกิน +17.00 เมตร(รทก.)) เพื่อลดผลกระทบกับพื้นที่ตอนล่างบริเวณอ.ผักไห่ .บางบาล .พระนครศรีอยุธยา


 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน คาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 8 – 11 .. 60 ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จะอยู่ในเกณฑ์ประมาณ 2,076 – 2,240 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะมีปริมาณน้ำสูงสุดในวันที่ 9 .. 60 ในเกณฑ์ 2,240 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนี้ ฝั่งตะวันออก รับน้ำเข้าระบบชลประทานรวม 275 ลบ../วินาที จากนั้นจะนำน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่ง ได้แก่ ทุ่งเชียงราก ทุ่งท่าวุ้ง ทุ่งฝั่งซ้ายคลองชัยนาทป่าสัก ทุ่งบางกุ่ม ทุ่งบางกุ้ง และทุ่งรังสิตใต้ ส่วนทางด้านฝั่งตะวันตก จะรับน้ำเข้าระบบชลประทานรวม 470 ลบ../วินาที จากนั้นจะนำน้ำเข้าไปเก็บไว้ในทุ่ง ได้แก่ ทุ่งบางบาล ทุ่งป่าโมก ทุ่งผักไห่ ทุ่งเจ้าเจ็ด ทุ่งโพธิ์พระยา และทุ่งพระยาบรรลือ ตามความต้องการของประชาชนต่อไป

 

สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในฤดูแล้ง ปี 2560/61 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำอื่นๆ ซึ่งมีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ปีปกติ สามารถจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2560/61 ตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ที่อยู่ระหว่างการกำหนดแผนการเพาะปลูก คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2560 รวมไปถึงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน มีปริมาณน้ำต้นทุน สามารถสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูฝนฤดูกาลผลิตปี 2561 ได้ ยกเว้น พื้นที่ที่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา และอ่างเก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจากมีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อย จึงไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2559/60 ได้


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ต.ค. 2560 เวลา : 19:10:16
05-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 5, 2024, 2:21 am