การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตรักษาฟรีทุกสิทธิฟรี 72 ชม. แรก ทันที


นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” (Universal Coverage for EmergencyPatients : UCEP) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต 

 


 

ที่ผ่านมาประเทศไทยมีสิทธิสุขภาพมากมาย แต่อาจมีความเหลื่อมล้ำในการรักษาบางจุด แต่นับจากนี้ กรณี ครม. อนุมัตินโยบายรัฐบาล ที่เรียกว่าเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ซึ่งหมายถึงประชาชนทุกคนไม่ว่าสิทธิสุขภาพใดก็ตาม เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตภายใน 72 ชั่วโมง ต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่ โดยโรงพยาบาลที่ใกล้บ้าน หรือจุดเกิดเหตุที่สุด โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อพ้นวิกฤต 72 ชั่วโมงแล้วก็ต้องทำการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลในสิทธิต่อไป ซึ่งมีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา

สำหรับค่าใช้จ่ายช่วง 72 ชั่วโมงนั้น ทางภาครัฐได้ร่วมกันหารือกับทุกภาคส่วน ทั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง กองทุนประกันสังคมและกองทุนสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน จนได้กำหนดอัตราการค่ารักษาพยาบาลขึ้น แบ่งออกเป็นกว่า 3,000 รายการ ในกรณีฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ตกลงร่วมกันห้ามคิดเกินจากนี้ โดยจะเป็นการจ่ายของแต่ละกองทุน ซึ่งประชาชนไม่ต้องกังวล หากอยู่ใน 72 ชั่วโมงไม่ต้องจ่ายเงิน แต่หลังจากนั้นจะต้องส่งต่อไปโรงพยาบาลตามสิทธิ ซึ่งในส่วนรพ.สังกัด สธ.ได้มีการจัดเตรียมต่างๆ เพื่อให้สำรองเตียงไว้แล้ว รวมทั้งรพ.ของสังกัดอื่นๆทั้งมหาวิทยาลัย ทหาร ตำรวจ เป็นต้น

หากใครมีข้อสงสัยหรือข้อถกเถียงเรื่องอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินว่าเข้าขั้นวิกฤตหรือไม่อย่างไรนั้น ขณะนี้ได้ตั้งศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตขึ้น โดยสามารถติดต่อมาได้ที่โทร.02-872 -1669 ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งศูนย์ดังกล่าว เป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

สำหรับกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต หลักๆ มี 6 กลุ่ม คือ 

1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 

2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง

3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม 

4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง  

5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด  

และ6.หรือมีอาการอื่นร่วม ที่มีผลต่อการหายใจระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 มี.ค. 2561 เวลา : 17:02:09
11-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 11, 2024, 9:55 am