ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll 'เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ ใน 3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2561'


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง เศรษฐกิจไทยดีขึ้นหรือไม่ ใน 3 เดือนแรกของปี .. 2561 ? ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 – 10 เมษายน 2561โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วง    3 เดือนแรกของปี .. 2561 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี    แบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling)   เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

 

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมมีนาคม 2561) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.92 ระบุว่า เศรษฐกิจแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 37.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 16.24 ระบุว่า เศรษฐกิจดีขึ้น และร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละด้านที่รัฐบาลปัจจุบันกำลังดำเนินอยู่ พบว่า ด้านเพิ่มรายได้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.08 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 25.28 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 21.76 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 0.88                   ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านลดค่าครองชีพ (ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.76 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 33.76 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 18.08 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านลดภาระหนี้สิน พบว่า ประชาชน      ส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.32 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 25.92 ระบุว่า แย่ลง ร้อยละ 10.08 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ   ด้านเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน (ซื้อง่ายขายคล่อง) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.80 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา ร้อยละ 39.84 ระบุว่า   แย่ลง ร้อยละ 14.72 ระบุว่า ดีขึ้น และร้อยละ 0.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ด้านเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (เช่น ที่อยู่อาศัย  ระบบคมนาคม การสื่อสารหรือโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้าและประปา) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.60 ระบุว่า เท่าเดิม รองลงมา      ร้อยละ 37.52 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 14.16 ระบุว่า แย่ลง และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับระดับความสุขจากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.92 ระบุว่า มีความสุขเท่าเดิม เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน เศรษฐกิจเหมือนเดิม ไม่ได้แย่ลงและก็ไม่ได้ดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า นโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประชาชน รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า มีความสุขลดลง เพราะ สภาวะเศรษฐกิจ แย่ลง ไม่มีอะไรดีขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น แต่รายได้ลดลง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่เคยได้รับประโยชน์จากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง เลย และร้อยละ 20.96 ระบุว่า มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ สภาพทางการเงินดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น การคมนาคมต่าง ดีขึ้น เศรษฐกิจค่อนข้างดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความชื่นชอบนโยบายต่าง ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อนโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมมีนาคม 2561) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.44 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ช่วยประชาชน       ทุกระดับอย่างแท้จริง เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นโครงการที่ไม่ต่อเนื่อง                     และเป็นโครงการระยะสั้น รองลงมา ร้อยละ 42.24 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นโครงการที่ดี ทำให้หลาย อย่างดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีผู้นำที่ดีและมีความเข้มแข็ง และร้อยละ 8.32 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคาดหวังต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากที่มีการเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.96 ระบุว่า          คาดว่าจะดีขึ้น เพราะ ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางใหม่ ในการบริหารประเทศได้ดีกว่านี้ รองลงมา ร้อยละ 16.88 ระบุว่า เหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา และต้องอาศัยปัจจัยหลาย อย่างร่วมด้วยจึงจะดีขึ้นไม่ใช่แค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล     ชุดไหนก็เหมือนเดิม ร้อยละ 5.92 ระบุว่า คาดว่าจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และจะไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง และร้อยละ 18.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ  

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.44 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.76 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 32.64 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 50.32 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.68 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.72 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ตัวอย่างร้อยละ 14.56 มีอายุ               26 – 35 ปี ร้อยละ 22.32 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.56 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.52 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุอายุ 

 

ตัวอย่างร้อยละ 91.20 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.92 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 4.16 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 20.96 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 70.56 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.24 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 4.24 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 27.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.56 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.40 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.36 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.68  จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.88 ไม่ระบุการศึกษา 

 

ตัวอย่างร้อยละ 10.72 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.40 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.00 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.36 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/    ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 15.92 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.12 เป็นนักเรียน/นักศึกษา  ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.72 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.84 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.56 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท   ร้อยละ 21.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.36 มีรายได้เฉลี่ย     ต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 8.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 15.76 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านคิดว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ดีขึ้นหรือไม่

 

ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมมีนาคม 2561)

ร้อยละ

เศรษฐกิจแย่ลง

45.92

เท่าเดิม

37.52

เศรษฐกิจดีขึ้น

16.24

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

0.32

รวม

100.00

 

2. ท่านคิดอย่างไรกับนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละด้านที่รัฐบาลปัจจุบันกำลังดำเนินอยู่ เช่น โครงการไทยนิยมยั่งยืน ,      

 

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, ธงฟ้าประชารัฐ, นโยบายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ,โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและนโยบายอื่น

ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละด้านที่รัฐบาลปัจจุบันกำลังดำเนินอยู่

ร้อยละ

รวม





ดีขึ้น

เท่าเดิม

แย่ลง

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ


ด้านเพิ่มรายได้

21.76

52.08

25.28

0.88

100.00

ด้านลดค่าครองชีพ (ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง)

18.08

47.76

33.76

0.40

100.00

ด้านลดภาระหนี้สิน

10.08

62.32

25.92

1.68

100.00

ด้านเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน (ซื้อง่ายขายคล่อง)

14.72

44.80

39.84

0.64

100.00

ด้านเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (เช่น ที่อยู่อาศัย ระบบคมนาคม การสื่อสารหรือโทรคมนาคม ระบบไฟฟ้าและประปา)

37.52

47.60

14.16

0.72

100.00

3. ผลจากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน ทำให้ท่านมีระดับความสุขเป็นอย่างไร

ระดับความสุขจากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบัน

ร้อยละ

 

มีความสุขเท่าเดิม เพราะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเมื่อก่อน เศรษฐกิจเหมือนเดิม ไม่ได้แย่ลงและก็ไม่ได้ดีขึ้น 

ขณะที่บางส่วนระบุว่า นโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประชาชน

57.92

 

มีความสุขลดลง เพราะ สภาวะเศรษกิจแย่ลง ไม่มีอะไรดีขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หนี้สินเพิ่มขึ้น แต่รายได้ลดลง 

ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่เคยได้รับประโยชน์จากนโยบายหรือโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง เลย

21.12

มีความสุขเพิ่มขึ้น เพราะ สภาพทางการเงินดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น การคมนาคมต่าง ดีขึ้น เศรษฐกิจค่อนข้างดีขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น และมีความชื่นชอบนโยบายต่าง ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

20.96

รวม

100.00

 

4. ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่านโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น

 

ความเชื่อมั่นต่อนโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคมมีนาคม 2561)

ร้อยละ

 

ไม่เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่ได้ช่วยประชาชนทุกระดับอย่างแท้จริง 

 

เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นโครงการที่ไม่ต่อเนื่อง 

และเป็นโครงการระยะสั้น

49.44

 

เชื่อมั่น เพราะ นโยบายและโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลมีความน่าเชื่อถือ เป็นโครงการที่ดี 

ทำให้หลาย อย่างดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า มีผู้นำที่ดีและมีความเข้มแข็ง

42.24

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

8.32

รวม

100.00

5. ท่านคาดว่าหลังจากที่มีการเลือกตั้ง เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นหรือไม่

ความคาดหวังต่อเศรษฐกิจไทย หลังจากที่มีการเลือกตั้ง

ร้อยละ

 

คาดว่าจะดีขึ้น เพราะ ต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากมีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 

รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางใหม่ ในการบริหารประเทศได้ดีกว่านี้

58.96

 

เหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา 

 

และต้องอาศัยปัจจัยหลาย อย่างร่วมด้วยจึงจะดีขึ้นไม่ใช่แค่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว 

ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็เหมือนเดิม

16.88

คาดว่าจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และจะไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง

5.92

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

18.24

รวม

100.00

 


ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

 

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค      

 

ภูมิภาค

จำนวน

ร้อยละ

กรุงเทพฯ

118

9.44

ปริมณฑลและภาคกลาง

322

25.76

ภาคเหนือ

225

18.00

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

408

32.64

ภาคใต้

177

14.16

รวม

1,250

100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ

จำนวน

ร้อยละ

ชาย

629

50.32

หญิง

621

49.68

เพศทางเลือก

-

-

รวม

1,250

100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ

จำนวน

ร้อยละ

ไม่เกิน 25 ปี

84

6.72

26 – 35 ปี

182

14.56

36 – 45  ปี

279

22.32

46 – 59  ปี

432

34.56

60 ปีขึ้นไป

244

19.52

ไม่ระบุ

29

2.32

รวม

1,250

100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา

จำนวน

ร้อยละ

พุทธ

1,140

91.20

อิสลาม

49

3.92

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด

9

0.72

ไม่ระบุ

52

4.16

รวม

1,250

100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส

จำนวน

ร้อยละ

โสด

262

20.96

สมรส

882

70.56

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

53

4.24

ไม่ระบุ

53

4.24

รวม

1,250

100.00

 

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา

จำนวน

ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า

339

27.12

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า

382

30.56

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า

80

6.40

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

317

25.36

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

71

5.68

ไม่ระบุ

61

4.88

รวม

1,250

100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก

จำนวน

ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

134

10.72

พนักงานเอกชน

155

12.40

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ

271

21.68

เกษตรกร/ประมง

200

16.00

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน

192

15.36

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน

199

15.92

นักเรียน/นักศึกษา

39

3.12

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร

1

0.08

ไม่ระบุ

59

4.72

รวม

1,250

100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

จำนวน

ร้อยละ

ไม่มีรายได้

173

13.84

ไม่เกิน 10,000

307

24.56

10,001 – 20,000

274

21.92

20,001 – 30,000

129

10.32

30,001 –  40,000

67

5.36

40,001 ขึ้นไป

103

8.24

ไม่ระบุ

197

15.76

รวม

1,250

100.00

   


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 เม.ย. 2561 เวลา : 12:12:46
07-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 7, 2024, 12:08 pm