การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
ซีพีเอฟเดินหน้าร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รักษ์โลกยั่งยืน


บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ  มุ่งมั่นมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดห่วงโซ่การผลิตต้นน้ำถึงปลายน้ำ และในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ ทั้งด้านน้ำ อากาศ และของเสีย  นำนวัตกรรมใหม่มาใช้รวมทั้งปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืน     

 

  

 

  
นายจารุบุตร เกิดอุดม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า   ซีพีเอฟตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาสังคม จึงได้พัฒนาการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่การผลิตเพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านพลังงาน การจัดการขยะและของเสีย ลดการปล่อยก๊าซกระจก  ลดปริมาณการใช้น้ำ 
 
“ซีพีเอฟกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งด้าน พลังงาน ก๊าซเรือนกระจก การนำน้ำมาใช้ และปริมาณของเสียที่กำจัดโดยวิธีฝังกลบ ถือเป็นนโยบายที่ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่สนับสนุน ผลักดัน และปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม” นายจารุบุตร กล่าว   

บริษัท ฯ มีเป้าหมายร่วมบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ  โดยในปี  2560  ด้านการผลิตอาหารสัตว์ ร้อยละ 59  ของการผลิตอาหารสัตว์ใช้ถังบรรจุอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ (Bulk Feed Tank) แทนการใช้ถุงอาหารสัตว์พลาสติก สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ 8,755 ตัน เทียบเท่ากับการลดก๊าซเรือนกระจก 17,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  ด้านการเลี้ยงสัตว์ มูลสุกรจากฟาร์มหมูทุกฟาร์มถูกนำไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ทดแทนการซื้อไฟฟ้าได้ 53 % เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 284,005 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าจากมูลสุกร ได้ขยายผลมายังมูลไก่ สามารถลดการใช้พลังงานได้ทั้งสิ้น 6.99 ล้านเมกะจูล เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 13,087 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 

ด้านการผลิตอาหาร ซีพีเอฟร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน นำร่องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ รวมทั้งเครื่องจักรในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศใน 11 หน่วยงาน คาดว่าจะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้กว่า 30.49 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4,606 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
 
 
 
 
นอกจากนี้ ซีพีเอฟฯนำระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ (Air Chiller )มาใช้แทนระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ (Water Chiller) ณ โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ โคราช เพื่อลดอุณหภูมิซากไก่เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2554  สามารถลดการใช้น้ำได้ 521,472  ลูกบาศก์เมตร ลดการใช้พลังงาน 1.82 ล้านเมกะจูล เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3,403 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นต้น
 
บริษัทฯ ยังได้ดำเนินโครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint)  มาตั้งแต่ปี 2551 และดำเนินโครงการฉลากลด คาร์บอน ฟุตพริ้นท์ หรือ ฉลากลดโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2558 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งผลิตภัณฑ์ของซีพีเอฟที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน อาทิ  ไก่สด ไก่มีชีวิต ลูกไก่ และเกี๊ยวกุ้งซีพี   
 
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ มุ่งออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม  โดยในปี 2560 สามารถลดการใช้พลาสติกและกระดาษได้ 185 ตัน หรือรวมกว่า 2,315 ตัน ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 131,361 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยบริษัทฯ ลดการใช้พลาสติกจากปิโตรเลียมชนิด Polyethylene Terephthalate (PET) โดยการนำบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกชนิด Polylactic Acid (PLA) ที่ผลิตจากพืชและสามารถย่อยสลายเอง มาใช้ในสินค้าอาหารเป็นรายแรกในประเทศไทย  
 
ซีพีเอฟยังได้ปรับปรุงประกาศฯ ปรับเป้าหมายความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2563 ที่กำหนดไว้เดิมโดยใช้ปี 2558 เป็นปีฐาน โดยปรับเป้าหมายลดปริมาณการใช้พลังงานต่อหน่วยน้ำหนักผลผลิตให้ได้ถึงร้อยละ 15 จากเป้าหมายเดิมอยู่ที่ร้อยละ 5 ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ร้อยละ 15 จากเป้าหมายเดิมอยู่ที่ร้อยละ 5 ลดปริมาณการนำน้ำมาใช้ ให้ได้ร้อยละ 25 จากเป้าหมายเดิมอยู่ที่ร้อยละ 10 และลดปริมาณของเสียที่กำจัดโดยวิธีฝังกลบให้ได้ร้อยละ 30 ตามลำดับ   เพื่อใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 มิ.ย. 2561 เวลา : 17:53:13
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 7:18 am