การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
'บิ๊กฉัตร' เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำเจ้าพระยาตอนล่างตามศาสตร์พระราชา เร่งขุดคลองบางบาล-บางไทร มั่นใจแล้วเสร็จปี 2565


บิ๊กฉัตร” ลงพื้นที่เร่งขยายผลศาสตร์พระราชา “โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรมั่นใจแล้วเสร็จตามแผนภายในปี 2565 เผยจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะในพระนครศรีอยุธยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


 

พล..ฉัตรชัย สาริกัลยะ  รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การเดินทางมาติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร .พระนครศรีอยุธยา ในครั้งนี้ เนื่องจาก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา ตนในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางเร่งรัดโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญให้เป็นไปตามมติ กนช. ที่ต้องการขับเคลื่อนโครงการสำคัญให้ได้จนถึงขั้นตอนการก่อสร้าง โดยที่ประชุมมีมติให้โครงการคลองระบายน้ำ บางบาล-บางไทร .พระนครศรีอยุธยา เป็น 1 ใน 9 โครงการที่รัฐบาลจะเริ่มขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในปี 2562 นี้

จากการรับฟังรายงานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ขณะนี้การดำเนินงานในขั้นตอนการเตรียมความพร้อมด้านต่าง  เป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยในด้านการมีส่วนของประชาชนได้มีการจัดปฐมนิเทศโครงการเพื่อเผยแพร่ข้อมูล  และจัดประชุมกลุ่มย่อย ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ และรับฟังความคิดเห็นไปแล้วจำนวน 5 ครั้ง ในด้านการสำรวจออกแบบดำเนินแล้วเสร็จแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติแบบ  ส่วนการจัดหาที่ดินได้มีการสำรวจปักหลักเขตชลประทานและแจ้งเจ้าของที่ดินเพื่อให้มายื่นคำขอรังวัดที่ดิน พร้อมทั้งได้เจรจาทำความตกลงซื้อขายกับเจ้าของที่ดิน โดยได้ดำเนินการเบิกจ่ายค่าที่ดินและค่ารือย้ายชุดแรกแล้ว จำนวน 15 แปลง ให้กับประชาชน 13 ราย รวมเป็นพื้นที่กว่า 30 ไร่เป็นเงินจำนวน 20.82 ล้านบาท ในส่วนของการดำเนินการก่อสร้างโครงการ จะเริ่มดำเนินการในปี2562  และแล้วเสร็จในปี 2565  ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างประตูระบายน้ำปากคลองบางบาล และประตูระบายน้ำปากคลองบางหลวง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด


รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า การดำเนินงานโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรได้นำศาสตร์พระราชามาขยายผลแก้ไขปัญหาน้ำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมตามเป้าหมาย พร้อมยังได้น้อมนำหลักการทรงงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เรื่อง การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยการบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมมือกันขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนในพื้นที่ด้วย


นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เปิดเผยว่า ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างมี 9 แผนงาน ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการแล้ว โดยมีโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร เป็น  1 ใน 9 แผนงานนั้น โดยเมื่อวันที่ 19กันยายน 2560 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมชลประทานดำเนินการ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนการสำรวจ-ออกแบบรายละเอียด และชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการ และดำเนินการในกระบวนการจัดหาที่ดินเพื่อการก่อสร้าง ตลอดจนงานเตรียมความพร้อมเพื่อการก่อสร้าง  นอกจากนี้ กนช.ยังได้มอบหมายให้ สทนชร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการการดำเนินงานให้สามารถขับเคลื่อนโครงการได้ตามแผนงานที่ได้วางไว้ 

 

 

 “โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จะได้เสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติให้ความเห็นชอบ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเปิดโครงการในเร็ว นี้ โดยการบริหารจัดการน้ำในปัจจุบันได้ใช้ศักยภาพการระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาสามารถระบายน้ำสูงสุดปริมาณ 2,800 ลบ../วินาที ที่คันกั้นน้ำ แต่ก็จะเกิดปัญหาน้ำท่วมขังชุมชนที่อยู่นอกคันกันน้ำสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยารวม 14 แห่ง โดยเฉพาะ อำเภอเสนา และอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่หากมีการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพียง 700 ลบ../วินาที ก็จะเกิดน้ำท่วมชุมชนนอกคันกั้นน้ำคลองโผงเผง คลองบางบาล และแม่น้ำน้อย อีกทั้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านตัวเมือง พระนครศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นคอขวดลำน้ำแคบมาก สามารถรับน้ำได้เพียง 1,200 ลบ. /วินาทีซึ่งเมื่อโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเป็นการเพิ่มความสามารถระบายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้อีกประมาณ 1,200 ลบ../วินาที  ทำให้สามารถแก้ปัญหาคอขวดของแม่น้ำเจ้าพระยา และสามารถระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาได้ 2,000ลบ../วินาที โดยไม่มีชุมชนนอกคันกั้นน้ำได้รับผลกระทบ จะเห็นได้ว่าโครงการนี้เป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เกิดขึ้นเป็นประจำแทบทุกปี อย่างไรก็ตามหากต้องระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเต็มศักยภาพปริมาณ 2,800 ลบ../วินาที ก็ต้องดำเนินการช่วยเหลือและป้องกันน้ำท่วมชุมชนนอกคันกั้นน้ำดังกล่าวด้วย ซึ่งในประเด็นนี้ได้บรรจุอยู่ใน 9 แผนบรรเทาอุทกเจ้าพระยาตอนล่างแล้ว” นายสมเกียรติกล่าว

คลองระบายน้ำหลากบางบาล – บางไทร เริ่มต้นโครงการที่ .บ้านใหม่ .บางบาล ตัดตรงผ่านทุ่งบางบาลถึง    .สนามชัย .บางไทร เป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ไม่กระทบชุมชนขนาดใหญ่ และพื้นที่ศูนย์รวม เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล โดยจะมีแนวกันเขตก่อสร้างกว้าง200 เมตรในพื้นที่ทั่วไป และกว้าง 110 เมตรในพื้นที่ชุมขน  คลองยาว 22.50 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการช่วยย่นระยะทางการระบายน้ำได้ถึง 12.5 กิโลเมตร จากเดิม 35 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำให้เชื่อมโยงกันเป็นระบบ กรมชลประทานก่อสร้างประตูระบายน้ำ(ปตร.) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ปตร.ปลายคลองระบายน้ำหลากฯ  ปตร.ปากคลองบางหลวง และ ปตร.ปากคลองบางบาล  พร้อมทั้งอาคารจ่ายน้ำและสถานีสูบน้ำข้างคลองระบายน้ำหลากฯ จำนวน 36แห่ง สะพานรถยนต์ข้ามคลองระบายน้ำหลากฯ จำนวน 11 แห่ง ทำกำแพงป้องกันตลิ่งบริเวณท้ายประตูระบายน้ำปลายคลองระบายน้ำหลากฯ  และคันกันน้ำโดยรอบพื้นที่โครงการพร้อมอาคารประกอบ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร

สำหรับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นนอกจากจะช่วยบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ประมาณ400,000-800,000ไร่ และลดการท่วมซ้ำซากของพื้นที่เกษตรกรรมในอ.บางบาล และอ.เสนาแล้ว คลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรยังสามารถเก็บน้ำไว้สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคได้ประมาณ 15ล้านลูกบาศก์เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 48 ตำบล 3 เทศบาล  362หมู่บ้าน พร้อมทั้งยังจะมีการก่อสร้างถนนสัญจรสองฝั่งคลองเเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการสัญจร และอาจจะมีการพิจารณาออกแบบถนนให้มีทางจักรยาน  ปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม สำหรับออกกำลังกายและพักผ่อน รวมทั้งยังจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอีกด้วย


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 ก.ค. 2561 เวลา : 13:04:05
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 12:45 am