ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll กัญชา 'ประโยชน์' หรือ 'โทษ'


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง กัญชา ประโยชน์ หรือ โทษ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 17 สิงหาคม 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการทำให้กัญชาถูกกฎหมายเพื่อการรักษาโรค การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการทราบหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับประโยชน์ของ กัญชา ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.24 ระบุว่า ทราบ/เคยได้ยิน ร้อยละ 31.36 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่เคยได้ยิน และร้อยละ 0.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

 

ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีกฎหมายเฉพาะให้ใช้ กัญชา เป็นยารักษาโรคโดยถูกกฎหมายในอนาคต พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.40 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ กัญชามีประโยชน์หลายอย่าง น่าจะใช้ในการรักษาโรคได้ ถ้านำมาใช้กับทางการแพทย์ก็คาดว่าน่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต่างประเทศก็ทำกัน รองลงมา ร้อยละ 24.96 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ ถ้าทำให้ถูกฎหมายจะมีผลเสียมากกว่าผลดี ไม่สามารถควบคุมได้ และมีการลักลอบนำมาใช้เสพเป็นสารเสพติด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ เช่น ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนว่า หากในอนาคตมีกฎหมายรับรองกัญชา เพื่อการรักษาโรคได้แล้ว เจ้าหน้าที่รัฐของไทยจะ สามารถควบคุมการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคได้หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.32 ระบุว่า ควบคุมไม่ได้ เพราะ กัญชาถูกนำไปใช้เป็นสารเสพติด อาจจะมีการลักลอบนำมาใช้เสพมากกว่าการนำมาทำเป็นยารักษาโรค และเจ้าหน้าที่รัฐบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ตามมา รองลงมา ร้อยละ 38.72 ระบุว่า ควบคุมได้ เพราะ น่าจะมีกฎหมายรองรับและมีแนวทางการป้องกันที่ดี เจ้าหน้าที่มีความเข้มงวด ขณะที่บางส่วนระบุว่า รัฐบาลน่าจะมีนโยบายสำหรับ การควบคุมที่เด็ดขาด และร้อยละ 6.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำให้ กัญชา ถูกกฎหมายเพื่อการรักษาโรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.12 ระบุว่า กำหนดให้มีการใช้กัญชาได้เฉพาะบางสถานที่ที่ได้รับอนุญาต เช่น โรงพยาบาล เท่านั้น รองลงมา ร้อยละ 36.48 ระบุว่า กำหนดให้มี การปลูกได้เฉพาะพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ร้อยละ 29.04 ระบุว่า เจ้าหน้าที่ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและลงโทษขั้นรุนแรงกับผู้ที่กระทำผิด ร้อยละ 19.92 ระบุว่า สร้างความรู้/จิตสำนึกให้กับประชาชนถึงประโยชน์และโทษของกัญชา ร้อยละ 8.88 ระบุว่า นำกฎหมาย ของต่างประเทศที่กัญชาถูกกฎหมายมาปรับใช้กับกฎหมายไทย ร้อยละ 6.88 ระบุว่า การเปิดเสรีการค้ากัญชาแบบถูกกฎหมาย เพื่อการรักษาโรค ร้อยละ 1.44 ระบุอื่น ได้แก่ มีการนำเสนอข้อมูลการวิจัยที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้กัญชา ถูกกฎหมาย เพราะยังถือว่าเป็นสิ่งเสพติด และร้อยละ 3.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.48 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.36 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.40 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.60 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 52.48 เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.44 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่าง ร้อยละ 5.68 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.72 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.72 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 36.32 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 22.00 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ ร้อยละ 0.56 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 91.76 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.44 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.28 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 3.52 ไม่ระบุศาสนา

ตัวอย่าง ร้อยละ 16.96 สถานภาพโสด ร้อยละ 74.96 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.24 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.84 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่าง ร้อยละ 27.84 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.24 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.36 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.28 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.08 ไม่ระบุการศึกษา





ตัวอย่าง ร้อยละ 11.28 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.48 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.16 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.64 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.56 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.92 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 4.40 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.40 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.76 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.68 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.88 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านทราบหรือเคยได้ยินหรือไม่ เกี่ยวกับประโยชน์ของ กัญชา ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้

การทราบหรือเคยได้ยินเกี่ยวกับประโยชน์ของ กัญชา ที่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้ ร้อยละ

ทราบ/เคยได้ยิน 68.24

ไม่ทราบ/ไม่เคยได้ยิน 31.36

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.40

รวม 100.00


2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าในอนาคตประเทศไทยจะมีกฎหมายเฉพาะให้ใช้ กัญชา เป็นยารักษาโรคโดยถูกกฎหมาย

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีกฎหมายเฉพาะให้ใช้ กัญชา เป็นยารักษาโรคโดยถูกกฎหมายในอนาคต ร้อยละ

เห็นด้วย เพราะ กัญชามีประโยชน์หลายอย่าง น่าจะใช้ในการรักษาโรคได้ ถ้านำมาใช้กับทางการแพทย์ก็คาดว่า

น่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต่างประเทศก็ทำกัน 72.40

ไม่เห็นด้วย เพราะ ถ้าทำให้ถูกฎหมายจะมีผลเสียมากกว่าผลดี ไม่สามารถควบคุมได้ และมีการลักลอบนำมาใช้เสพ

เป็นสารเสพติดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ เช่น ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น 24.96

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 2.64

รวม 100.00

3. หากในอนาคตมีกฎหมายรับรอง กัญชา เป็นยารักษาโรคได้แล้ว ท่านคิดว่าเจ้าหน้าที่รัฐของไทยจะสามารถควบคุมการใช้กัญชา

เพื่อการรักษาโรคได้หรือไม่

เจ้าหน้าที่รัฐของไทยจะสามารถควบคุมการใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคได้หรือไม่ ถ้าในอนาคตมีกฏหมายรับรองกัญชาเป็นยารักษาโรคได้แล้ว ร้อยละ

ควบคุมไม่ได้ เพราะ กัญชาถูกนำไปใช้เป็นสารเสพติด อาจจะมีการลักลอบนำมาใช้เสพมากกว่าการนำมาทำเป็น

ยารักษาโรค และเจ้าหน้าที่รัฐบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ดูแลได้ไม่ทั่วถึง ซึ่งจะทำให้เกิด

ปัญหาต่าง ตามมา 54.32

ควบคุมได้ เพราะ น่าจะมีกฎหมายรองรับและมีแนวทางการป้องกันที่ดี เจ้าหน้าที่มีความเข้มงวด ขณะที่บางส่วน

ระบุว่า รัฐบาลน่าจะมีนโยบายสำหรับการควบคุมที่เด็ดขาด 38.72

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 6.96

รวม 100.00


4. ท่านมีข้อเสนอแนะอย่างไรเกี่ยวกับการทำให้กัญชาถูกกฎหมาย เพื่อการรักษาโรค (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำให้ กัญชา ถูกกฎหมายเพื่อการรักษาโรค ร้อยละ

กำหนดให้มีการใช้กัญชาได้เฉพาะบางสถานที่ที่ได้รับอนุญาต เช่น โรงพยาบาล เท่านั้น 53.12

กำหนดให้มีการปลูกได้เฉพาะพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น 36.48

เจ้าหน้าที่ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและลงโทษขั้นรุนแรงกับผู้ที่กระทำผิด 29.04

สร้างความรู้/จิตสำนึกให้กับประชาชนถึงประโยชน์และโทษของกัญชา 19.92

นำกฎหมายของต่างประเทศที่กัญชาถูกกฎหมายมาปรับใช้กับกฎหมายไทย 8.88

การเปิดเสรีการค้ากัญชาแบบถูกกฎหมาย เพื่อการรักษาโรค 6.88

อื่น ได้แก่ มีการนำเสนอข้อมูลการวิจัยที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่ควรอนุญาตให้กัญชา

ถูกกฎหมาย เพราะยังถือว่าเป็นสิ่งเสพติด 1.44

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 3.52

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 106 8.48

ปริมณฑลและภาคกลาง 317 25.36

ภาคเหนือ 230 18.40

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 420 33.60

ภาคใต้ 177 14.16

รวม 1,250 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 656 52.48

หญิง 593 47.44

เพศทางเลือก 1 0.08

รวม 1,250 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

18 – 25 ปี 71 5.68

26 – 35 ปี 184 14.72

36 – 45 ปี 259 20.72

46 – 59 ปี 454 36.32

60 ปีขึ้นไป 275 22.00

ไม่ระบุ 7 0.56

รวม 1,250 100.00


ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,147 91.76

อิสลาม 43 3.44

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 16 1.28

ไม่ระบุ 44 3.52

รวม 1,250 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 212 16.96

สมรส 937 74.96

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

53 4.24

ไม่ระบุ 48 3.84

รวม 1,250 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 348 27.84

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 378 30.24

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 92 7.36

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 316 25.28

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 65 5.20

ไม่ระบุ 51 4.08

รวม 1,250 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 141 11.28

พนักงานเอกชน 157 12.56

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 231 18.48

เกษตรกร/ประมง 227 18.16

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 183 14.64

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 232 18.56

นักเรียน/นักศึกษา 24 1.92

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร - -

ไม่ระบุ 55 4.40

รวม 1,250 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 180 14.40

ไม่เกิน 10,000 322 25.76

10,001 – 20,000 296 23.68

20,001 – 30,000 134 10.72

30,001 – 40,000 61 4.88

40,001 ขึ้นไป 96 7.68

ไม่ระบุ 161 12.88

รวม 1,250 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 20 ส.ค. 2561 เวลา : 10:52:24
07-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 7, 2024, 8:56 pm