การตลาด
สกู๊ป จับตา 'แวตรีฟันด์' ผลประโยชน์เพื่อประเทศและนักท่องเที่ยว


แม้ว่าช่วงครึ่งปีหลังจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจะปรับตัวลดลงไปบ้าง  แต่สิ้นปี 2561 ประเทศไทยก็ยังตั้งเป้าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 37 ล้านคนตามเป้าหมายเดิมที่วางไว้  เนื่องจากสถานการณ์ท่องเที่ยวของประเทศไทย ในช่วงเดือนม.. – .. ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยคิดเป็นจำนวน 25,886,325 คน  ขยายตัว 9.94% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560  และสร้างรายได้รวม 1,350,317.90 ล้านบาท ขยายตัว12.85% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

 

 

 

สำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากที่สุด 10 อันดับแรก คือ  จีน  มาเลเซีย  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ลาว อินเดีย ฮ่องกง เวียดนาม สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร  ซึ่งจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยดังกล่าวทำให้เกิดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวระหว่างเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย  คิดเป็นรายได้ 168,045.87 ล้านบาท ขยายตัว 2.79% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา  โดยนักท่องเที่ยวที่สร้างรายได้สูงสุด 10 อันดับแรก  คือ  จีน  มาเลเซีย  ญี่ปุ่น  เกาหลี  สหราชอาณาจักร  ฮ่องกง  อินเดีย  สหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย และลาว

จากจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย  ส่งผลให้ภาคเอกชนพยายามพลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการช้อปปิ้ง  เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจะเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  

 

ปัจจัยดังกล่าวทำให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมค้าปลีกในประเทศไทยยังเติบโตไม่สะท้อนความเป็นจริง  ทั้งที่ประเทศไทยมีแหล่งช้อปปิ้งที่หลากหลาย  และเพื่อผลักดันให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาช้อปปิ้งในประเทศไทยมากขึ้น  สมาคมผู้ค้าปลีกไทยและผู้ประกอบการในธุรกิจค้าปลีก  จึงพยายามผลักดันในด้านของการลดอัตราภาษีสินค้านำเข้า เพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน  และกลุ่มประเทศในภูมิภาคเดียวกันได้  เพราะหากมีการลดกำแพงภาษีนำเข้าให้เหลือ 0%  หรือไม่เกิน 5% ได้จะสามารถดึงความสนใจนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาช้อปปิ้งในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

 

 

อย่างไรก็ดี  แม้ว่าประเทศไทยจะมีกำแพงภาษีที่สูง  แต่ในแต่ละปีที่ผ่านมาก็ยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาช้อปปิ้งในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เห็นได้จากการขอคืนแวตรีฟันด์ (VAT Refund for Tourists)  ในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา  มีนักท่องเที่ยวมาขอคืนภาษีคิดเป็นมูลค่า 1,900 ล้านบาท  และปี 2560 ที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มเป็น 2,300 ล้านบาท แม้ว่าจุดคืนภาษีให้กับนักท่องเที่ยวจะมีแค่เพียงภายในสนามบินเท่านั้น

จากข้อจำกัดในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวดังกล่าว  ส่งผลให้สมาคมผู้ค้าปลีกไทยมีแผนที่จะอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวในการคืนถาษีมูลค่าเพิ่ม  โดยขออนุมัติเป็นผู้ให้บริการคืนภาษีให้กับนักท่องเที่ยวผ่านโครงการ Downtown VAT Refund for Tourists  ด้วยการเข้าเป็นหนึ่งในคณะทำงานผลักดันโครงการร่วมกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พร้อมด้วยผู้แทนประชารัฐกลุ่มคณะทำงานสานพลังประชารัฐ (คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ : Public-Private Steering Committee) ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและ MICE (D3)

หลังจากร่วมกันทำงานมาตั้งแต่เดือน ..2560  และมีการตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อ  บริษัท แวต รีฟันด์ เซ็นเตอร์(ไทยแลนด์) จำกัด  ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของ 4 ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ คือ บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด  บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด และบริษัท โรบินสัน จำกัด(มหาชน)  เพื่อเป็นผู้ให้บริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวจำนวน 5 จุด คือ สยามพารากอน เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลชิดลม โรบินสันสุขุมวิท และดิ เอ็มโพเรียม 

 

ตั้งแต่เดือน .. 2560 มีการพูดคุยร่วมกันหาทางออก และแนวทางปฏิบัติกันมาโดยตลอดจนเกือบจะตกผลึกในเดือน เม.. กรมสรรพากรแจ้งว่า โครงการนี้จะเริ่มในวันที่ 27 เม..2561 และสิ้นสุดในวันที่ 31 .. 2561 ช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นทดลองโครงการ  ช่วงก่อนที่จะเริ่มทดลองกรมสรรพากรก็ได้จัดให้มีการอบรวมร่วมกับเทรนเนอร์บริษัทร่วมทุน เพื่ออธิบายหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแนวทางปฏิบัติ แต่แล้ววันที่  28 เม..2561 กรมสรรพากรก็ออกมาแจ้งยกเลิกการลงนาม

 

 

 

จนกระทั่งวันที่ 23 ..2561 เริ่มมีความเคลื่อนไหวจากกรมสรรพากร  ด้วยการเรียกประชารัฐD3 สมาคมผู้ค้าปลีกไทย และบริษัทร่วมทุนเข้าร่วมประชุม พร้อมแจ้งว่ากฎเกณฑ์อาจมีการเปลี่ยนแปลง  หลังจากนั้นวันที่ 5 ..2561 มีประกาศจากกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับ224)เรื่องกำหนดกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติ ระบุว่าวันที่ 10-17 ..2561ยื่นคำอนุมัติเป็นตัวแทน โดยวันที่ 17 ..2561 สมาคมและบริษัทร่วมทุน คือ บริษัท แวต รีฟันด์ เซ็นเตอร์(ไทยแลนด์) ยื่นใบสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 5 จุด และกรมสรรพากรได้ลงนามรับใบสมัครตามที่เสนอ วันที่ 25 ..2561 กรมสรรพากรจัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจพื้นที่ที่ยื่นไปทั้ง 5 จุด 26 ..2561 กรมฯให้เสนอระบบซอฟท์แวร์ และขั้นตอนดำเนินการ วันที่ 30 ..ประกาศผลผู้ได้สิทธิ์ดำเนินการรายเดียว   คือ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด  

สำหรับจุดบริการที่บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส เลือกนำมาทดลองโครงการ  Downtown VAT Refund for Tourists  เพื่อให้บริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวเป็นระยะเวลา 6 เดือน (1 ..2561-30 มี..2562)  มีอยู่ด้วยกัน 3 จุด คือ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาลิโด้   ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาแบงค็อก ไนท์บาซาร์ และร้านเซเว่นสาขาผดุงด้าว ย่านเยาวราช  

จากจุดบริการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น  จากเดิมมีเพียงแค่ในสนามบิน จะทำให้สิ้นปีนี้มีนักท่องเที่ยวมาขอคืนภาษีเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น โครงการนี้ผลทดลองจะเป็นอย่างไรจบวันที่ 30 มี..2562 คงได้รู้กัน


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 ต.ค. 2561 เวลา : 16:24:05
08-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 8, 2024, 9:00 pm