ข่าวประชาสัมพันธ์
สิ่งที่ประชาชนอยากได้เป็นของขวัญปีใหม่ 2562 จากรัฐบาลชุดใหม่


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องสิ่งที่ประชาชนอยากได้เป็นของขวัญปีใหม่ 2562 จากรัฐบาลชุดใหม่ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 26 ธันวาคม 2561 จากประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนอยากได้ เป็นของขวัญปีใหม่ 2562 จากรัฐบาลชุดใหม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงสิ่งที่อยากได้มากที่สุดจากรัฐบาลชุดใหม่เป็นของขวัญปีใหม่ .. 2562 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.32 ระบุว่า แก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง รองลงมา ร้อยละ 20.69 ระบุว่า แก้ปัญหาพืชผลทางเกษตร และพัฒนาสินค้าทางการเกษตร ร้อยละ 9.66 ระบุว่า แก้ปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 7.27 ระบุว่า เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยละ 3.99 ระบุว่า เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน ร้อยละ 1.60 ระบุว่า พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น การคมนาคม ถนน รถไฟ ร้อยละ 1.12 ระบุว่า แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 0.79 ระบุว่า ส่งเสริมการท่องเที่ยว ร้อยละ 2.48 ระบุอื่น ได้แก่ สร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่บ้านเมือง พัฒนาระบบการศึกษาไทย ให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ และเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ

 

 

สำหรับพรรคการเมืองที่จะสามารถให้ของขวัญปีใหม่ 2562 ตามที่ประชาชนต้องการได้ (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 27.71 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 21.25 ระบุว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะสามารถให้ของขวัญปีใหม่ 2562 ตามที่ ต้องการได้ อันดับ 3 ร้อยละ 16.53 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 4 ร้อยละ 16.37 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 5.91 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 6 ร้อยละ 4.71 ระบุว่า ขอดูนโยบายของแต่ละพรรคก่อน อันดับ 7 ร้อยละ 2.24 ระบุว่าเป็น พรรคเสรี รวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.60 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 9 ร้อยละ 1.04 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และอันดับ 10 ร้อยละ 0.56 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ

ด้านโครงการที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.00 ระบุว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้านค้าประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 15.09 ระบุว่า โครงการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ ร้อยละ 12.46 ระบุว่า โครงการ ที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน (เช่น บ้านล้านหลัง ให้สิทธิทำกินในที่ดินของรัฐ) ร้อยละ 11.90 ระบุว่า ปราบปรามผู้มีอิทธิพล และปราบปราม การทุจริตและประพฤติมิชอบ ร้อยละ 10.22 ระบุว่า โครงการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิต (เช่น เกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ 72 ชั่วโมง) ร้อยละ 5.75 ระบุว่า การจัดระเบียบสังคม (เช่น รถตู้ รถแท็กซี่ คูคลอง หาบเร่ แผงลอย) ร้อยละ 4.63 ระบุว่า โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ร้อยละ 4.15 ระบุว่า โครงการกองทุนหมู่บ้าน ร้อยละ 2.96 ระบุว่า โครงการไทยนิยมยั่งยืน ร้อยละ 1.36 ระบุว่า ตลาดประชารัฐ ร้อยละ 1.28 ระบุว่า ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) ร้อยละ 0.72 ระบุว่า การจัดการสิ่งแวดล้อม (เช่น โรงไฟฟ้าจากขยะ) ร้อยละ 0.32 ระบุว่า การลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว ร้อยละ 0.24 ระบุว่า การแก้ไขการทำประมง ที่ผิดกฎหมาย (IUU) ร้อยละ 0.16 ระบุว่า โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ร้อยละ 1.52 ระบุอื่น ได้แก่ โครงการช่วยเหลือเกษตรกร โครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่มีโครงการใดที่อยากให้สานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ และร้อยละ 0.08 ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงบุคคลแห่งปี 2561 ที่ประชาชนคิดว่า ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและอยากให้เป็น Idol (เป็นแบบอย่าง) (10 อันดับแรก)พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 47.12 ระบุว่าเป็น ตูน บอดี้แสลม รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 18.13 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อันดับ 3 ร้อยละ 4.87 ระบุว่าเป็น บิณฑ์ บันลือฤทธิ์ อันดับ 4 ร้อยละ 4.31 ระบุว่าเป็น นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร อันดับ 5 ร้อยละ 4.23 ระบุว่าเป็น นาวาตรี สมาน กุนัน (จ่าแซม) อันดับ 6 ร้อยละ 2.56 ระบุว่าเป็น นางปวีณา หงสกุล อันดับ 7 ร้อยละ 1.68 ระบุว่าเป็น ดร.ทักษิณ ชินวัตร อันดับ 8 ร้อยละ 1.28 ระบุว่าเป็น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส และนายวิเชียร ชิณวงษ์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 9 ร้อยละ 1.04 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อันดับ 10 ร้อยละ 0.72 ระบุว่าเป็น พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล และร้อยละ 5.51 ระบุว่า ไม่มีบุคคลที่คิดว่าทำประโยชน์ให้แก่สังคมและอยากให้เป็น Idol (เป็นแบบอย่าง)

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.18 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.68 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 15.26 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 27.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 21.25 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 54.47 เป็นเพศชาย และร้อยละ 45.53 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.51 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.50 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.44 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.27 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 21.56 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.72 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่างร้อยละ 94.01 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.67 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.96 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 20.29 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 74.76 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.51 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 32.43 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.87 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.67 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.20 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.07 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.76 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 9.82 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.02 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.81 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.85 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.93 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.33 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.40 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.32 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.52 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่างร้อยละ 14.30 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 29.55 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.40 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.94 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.27 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.83 ไม่ระบุรายได้
1. สิ่งที่อยากได้มากที่สุดจากรัฐบาลชุดใหม่เป็นของขวัญปีใหม่ .. 2562 (เลือกตอบ 1 ข้อ)

2. ท่านคิดว่า พรรคการเมืองใดจะสามารถให้ของขวัญปีใหม่ 2562 ตามที่ท่านต้องการได้

อันดับ พรรคการเมืองที่จะสามารถให้ของขวัญปีใหม่ 2562 ตามที่ประชาชนต้องการได้ (10 อันดับแรก) ร้อยละ

1 พรรคเพื่อไทย 27.71

2 ไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะสามารถให้ของขวัญปีใหม่ 2562 ตามที่ต้องการได้ 21.25

3 พรรคพลังประชารัฐ 16.53

4 พรรคประชาธิปัตย์ 16.37

5 พรรคอนาคตใหม่ 5.91

6 ขอดูนโยบายของแต่ละพรรคก่อน 4.71

7 พรรคเสรีรวมไทย 2.24

8 พรรคชาติไทยพัฒนา 1.60

9 พรรคภูมิใจไทย 1.04

10 พรรคเพื่อชาติ 0.56

สิ่งที่อยากได้มากที่สุดจากรัฐบาลชุดใหม่เป็นของขวัญปีใหม่ .. 2562 ร้อยละ

แก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้อง 52.32

แก้ปัญหาพืชผลทางเกษตร และพัฒนาสินค้าทางการเกษตร 20.69

แก้ปัญหาคอร์รัปชัน 9.66

เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 7.27

เพิ่มการจ้างงาน เพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน 3.99

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น การคมนาคม ถนน รถไฟ 1.60

แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 1.12

ส่งเสริมการท่องเที่ยว 0.79

อื่น ได้แก่ สร้างความสงบเรียบร้อยให้แก่บ้านเมือง พัฒนาระบบการศึกษาไทย ให้โอกาสทางการศึกษาสำหรับ

เด็กด้อยโอกาส แก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ พัฒนาระบบประกันสุขภาพ

และเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ 2.48

ไม่ระบุ 0.08

รวม 100.00

3. โครงการใดที่ท่านอยากให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน (เลือกตอบ 1 ข้อ)

โครงการที่ประชาชนอยากให้รัฐบาลชุดใหม่สานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน ร้อยละ

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้านค้าประชารัฐ 27.00

โครงการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ 15.09

โครงการที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน (เช่น บ้านล้านหลัง ให้สิทธิทำกินในที่ดินของรัฐ) 12.46

ปราบปรามผู้มีอิทธิพล และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 11.90

โครงการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิต (เช่น เกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินรักษาได้ทุกที่ 72 ชั่วโมง) 10.22

การจัดระเบียบสังคม (เช่น รถตู้ รถแท็กซี่ คูคลอง หาบเร่ แผงลอย) 5.75

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง 4.63

โครงการกองทุนหมู่บ้าน 4.15

โครงการไทยนิยมยั่งยืน 2.96

ตลาดประชารัฐ 1.36

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี (EEC) 1.28

การจัดการสิ่งแวดล้อม (เช่น โรงไฟฟ้าจากขยะ) 0.72

การลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 0.32

การแก้ไขการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) 0.24

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 0.16

อื่น ได้แก่ โครงการช่วยเหลือเกษตรกร โครงการที่เกี่ยวกับการศึกษา ขณะที่บางส่วนระบุว่า

ไม่มีโครงการใดที่อยากให้สานต่อจากรัฐบาลชุดปัจจุบัน 1.52

ไม่ระบุ 0.16

ไม่แน่ใจ 0.08

รวม 100.00

4. บุคคลแห่งปี 2561 ที่ท่านคิดว่า ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและท่านอยากให้เป็น Idol (เป็นแบบอย่าง)

อันดับ บุคคลแห่งปี 2561 ที่ประชาชนคิดว่า ทำประโยชน์ให้แก่สังคมและอยากให้เป็น Idol (เป็นแบบอย่าง) (10 อันดับแรก) ร้อยละ

1 ตูน บอดี้แสลม 47.12

2 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 18.13

3 บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ 4.87

4 นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร 4.31

5 นาวาตรี สมาน กุนัน (จ่าแซม) 4.23

6 นางปวีณา หงสกุล 2.56

7 ดร.ทักษิณ ชินวัตร 1.68

8 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส และนายวิเชียร ชิณวงษ์ 1.28

9 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 1.04

10 พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล 0.72

ไม่มีบุคคลที่คิดว่าทำประโยชน์ให้แก่สังคมและอยากให้เป็น Idol (เป็นแบบอย่าง) 5.51

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 115 9.18

ปริมณฑลและภาคกลาง 334 26.68

ภาคเหนือ 191 15.26

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 346 27.63

ภาคใต้ 266 21.25

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 682 54.47

หญิง 570 45.53

เพศทางเลือก - -

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

18 – 25 ปี 69 5.51

26 – 35 ปี 194 15.50

36 – 45 ปี 306 24.44

46 – 59 ปี 404 32.27

60 ปีขึ้นไป 270 21.56

ไม่ระบุ 9 0.72

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,177 94.01

อิสลาม 46 3.67

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 12 0.96

ไม่ระบุ 17 1.36

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 254 20.29

สมรส 936 74.76

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

44 3.51

ไม่ระบุ 18 1.44

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 406 32.43

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 374 29.87

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 96 7.67

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 303 24.20

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 51 4.07

ไม่ระบุ 22 1.76

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 123 9.82

พนักงานเอกชน 188 15.02

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 248 19.81

เกษตรกร/ประมง 211 16.85

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 212 16.93

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 217 17.33

นักเรียน/นักศึกษา 30 2.40

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร 4 0.32

ไม่ระบุ 19 1.52

รวม 1,252 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 179 14.30

ไม่เกิน 10,000 370 29.55

10,001 – 20,000 318 25.40

20,001 – 30,000 137 10.94

30,001 – 40,000 59 4.71

40,001 ขึ้นไป 91 7.27

ไม่ระบุ 98 7.83

รวม 1,252 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 29 ธ.ค. 2561 เวลา : 00:54:27
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 5:22 pm