สุขภาพ
''ตาล้า'' ภัยร้ายที่สร้างปัญหากว่าที่คิด #ยิ่งล้ายิ่งพัง


เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทั้งการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ตลอดเวลา  โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพตาของเรา ปัญหากล้ามเนื้อตาล้า จึงกลายมาเป็นโรคยอดฮิตของคนยุคดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สาเหตุหลักของกล้ามเนื้อตาล้าเกิดจากการใช้งานดวงตามากจนเกินไป 


โดยจะมีอาการบ่งชี้ที่เกิดจากกล้ามเนื้อตาล้าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

· ปวดกระบอกตาจากกล้ามเนื้อตาล้า ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการใช้สายตาอย่างหนักในการเพ่งมองระยะใกล้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ

การทำงานฝีมือที่ต้องใช้ความละเอียด ตลอดจนการทำงานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดอาการปวดกระบอกตา  บริเวณขมับ ไปจนถึงท้ายทอย

· สายตาสั้นเทียม ภาวะสายตาสั้นเทียมเกิดจากการหดตัวผิดปกติของกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ที่อยู่ในลูกตา ปกติกล้ามเนื้อเหล่านี้จะทำงานด้วยการหดและคลายตัวสลับกันอยู่ตลอด การที่เราใช้สายตาในการเพ่งหน้าจอเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลให้เกิดการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตา หรือกล้ามเนื้อตาหดตัวอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เกิดสภาวะเหมือนคนสายตาสั้นได้เช่นกัน

· โรคสายตาที่เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ หรือ Computer Vision Syndrome (CVS) คืออาการที่เกิดจากการทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดอาการปวดตา ตามัว แสบตา จนอาจนำไปสู่การปวดศีรษะในที่สุด


ซึ่งอาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้นาน ก็อาจกลายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้ 
เพราะการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อดวงตาสามารถก่อให้เกิดความตึงเครียดของร่างกาย ซึ่งจะกระทบเชื่อมโยงไปถึงอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อของร่างกายในบริเวณอื่น ๆ เช่น  ใบหน้า กราม และขมับ นำไปสู่อาการอ่อนล้าสะสมและอาจส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการทำงาน หรือก่อให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากละเลยไม่ยอมดูแลสุขภาพดวงตา  อาจนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคดวงตาอื่น ๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม  หรือกล้ามเนื้อตาเกิดการเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรอีกด้วย

วิธีแก้ปัญหาตาล้า

วิธีแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาล้ามีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น

· พักผ่อนสายตาอย่างสม่ำเสมอ การพักสายตาจากการเพ่งอ่านหนังสือหรือจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ  มีสูตรในการพักสายตาคือ 20-20-20 กล่าวคือทุก ๆ 20 นาทีให้ละสายตาจากงานที่ทำอยู่แล้วพักสายตา ด้วยการมองวัตถุที่ห่างในระยะไกลประมาณ  20 ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที

·บริหารดวงตา ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาแข็งแรงด้วยการกรอกตาไปมาซ้ายไปขวา และเปลี่ยนมากรอกตาจากบนลงล่าง โดยสามารถทำต่อเนื่องกัน 5-10 ครั้งสม่ำเสมอ ก็จะสามารถแก้อาการตาล้าหรือปวดตาได้

·สวมแว่นตาที่ช่วยลดภาระกล้ามเนื้อตา ลองเลือกแว่นตาที่ใช้เทคโนโลยีเลนส์ใหม่ล่าสุดจากหอแว่น  อย่าง “Lens Zeen” เลนส์ชั้นเดียวเฉพาะบุคคลที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาล้าได้อย่างตรงจุด  มอบวิสัยทัศน์ที่ผ่อนคลายสบายตา ตอบโจทย์ทั้งผู้ที่มีปัญหาสายตาและสายปรกติได้อย่างครอบคลุม  ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะจากหอแว่นทำให้ Lens Zeen สามารถคำนวณตำแหน่งการมองตามลักษณะการสวมใส่  บรรเทาอาการปวดตาในขณะเปลี่ยนระยะโฟกัส ให้ดวงตาได้ผ่อนคลายได้ทุกเวลาแม้ใช้งานหนัก

·หยอดน้ำตาเทียม เมื่อมีอาการตาแห้งคุณสามารถหยอดน้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตาได้ในทันที

·การปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน คุณสามารถตั้งค่าหน้าจอให้มีความสว่าง อยู่ในระดับที่เหมาะสม ปรับขนาดตัวอักษรให้สบายตา และเลือกทำงานในที่ ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ
 

หากปรับพฤติกรรมและหมั่นดูแลสุขภาพของดวงตาให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง  ความพังที่จากอาการตาล้าจะไม่เกิดขึ้นอีกแน่นอน ผู้ที่สนใจ “Lens Zeen”  สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่ร้านหอแว่นทุกสาขาทั่วประเทศ

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ส.ค. 2563 เวลา : 09:37:54
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 9:19 pm