ข่าวประชาสัมพันธ์
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเรื่อง เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมขัง ฉบับที่ ๑๑/๒๕๖๓


ตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ ๘ ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม 2563 แจ้งว่า พายุระดับ 3  (พายุโซนร้อน) “นังกา” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณจังหวัดนิญบิญ ทางตอนใต้ของ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ในเย็นวันนี้ (14 ตุลาคม 2563) และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) และความกดอากาศต่ำตามลำดับ โดยจะทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นในบริเวณด้านตะวันออกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง ซึ่งอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ ๑๔ - ๑๖ ตุลาคม 2563 รวมถึงในขณะนี้ได้เกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน อาจมีผลกระทบส่งผลให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ ๑๖ - ๒๐ ตุลาคม 2563 นั้น

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ  ได้ประเมินสถานการณ์น้ำจากฝนคาดการณ์  (One Map)  พบว่า
 
มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ ๑๖ – ๒๐ ตุลาคม 2563 ดังนี้
 
๑. เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขัง บริเวณ ภาคเหนือ จังหวัดตาก พิษณุโลก 
และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ และอุบลราชธานี ภาคกลาง จังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ และตรัง
 
๒. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง บริเวณ แม่น้ำมูล และลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา คลองลำปะเทีย  จังหวัดบุรีรัมย์  ห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ แม่น้ำนครนายก จังหวัดนครนายก คลองพระสทึง และคลองพระปรง จังหวัดสระแก้ว แม่น้ำลำภาชี จังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี แม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี แม่น้ำตาปี  จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำตรัง คลองปะเหลียน คลองชี และคลองนางน้อย จังหวัดตรัง รวมทั้ง คลองละงู  และคลองดุสน จังหวัดสตูล
 
ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนัก ดังนี้
 
๑. ติดตามเฝ้าระวังสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด ๒๔ ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง พื้นที่ที่มีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่หรือเคยเกิดน้ำท่วมซ้ำซากและมีสิ่งกีดขวาง
ทางระบายน้ำ
 
๒. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อม
ในการอพยพและเคลื่อนย้ายสิ่งของได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
 
๓. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณา
 
ความเหมาะสมในการบริหารน้ำในลำน้ำ/แม่น้ำ แหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำมากกว่า ร้อยละ ๙๐ หรือเกินเกณฑ์ควบคุมระดับน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) เพื่อมิให้ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งเตรียมพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก ประกอบด้วย
 
๑) ภาคเหนือ จำนวน ๑ แห่ง  ได้แก่ อ่างฯ ห้วยขอนแก่น จังหวัดเพชรบูรณ์
๒) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา อ่างฯ ห้วยติ๊กชู อ่างฯ ห้วยทา จังหวัดศรีสะเกษ และอ่างฯ ห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ 
๓) ภาคกลาง จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยมะหาด จังหวัดราชบุรี 
 
๔) ภาคตะวันออก จำนวน ๑๐ แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก   อ่างฯ คลองพระสทึง จังหวัดสระแก้ว อ่างฯ คลองหลวง จังหวัดชลบุรี อ่างฯ หนองปลาไหล อ่างฯ ดอกกราย  และอ่างฯ คลองใหญ่ จังหวัดระยอง อ่างฯ เขาระกำ อ่างฯ ห้วยแร้ง อ่างฯ คลองสะพานหิน และอ่างฯ คลองโสน จังหวัดตราด 
 
๕) ภาคใต้ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยแม่ประจันต์ จังหวัดเพชรบุรี  และอ่างฯ คลองหยา จังหวัดกระบี่
 
๔. ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ 
ระบบชลประทานต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ตลอดจนสำรวจและกำจัดสิ่งกีดขวาง
ที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ
 
๕. จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พร้อมด้วยเครื่องจักรเครื่องมือ ดูแลบำรุงรักษา                   ระบบสื่อสารหลักให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และจัดเตรียมระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการ
ให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน
 
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา 1๖.00 น.

(นายสำเริง แสงภู่วงค์)
รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 14 ต.ค. 2563 เวลา : 21:19:56
27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 4:58 pm