การตลาด
สกู๊ป ''อุตสาหกรรมโฆษณา'' ยังน่าห่วง ภาพรวม 10 เดือน ติดลบแรง 13.74%


แม้ว่าอุตสาหกรรมโฆษณาจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ภาพโดยรวมก็ยังคงน่าเป็นห่วง เพราะภาพรวมในช่วงเดือนต.ค.ที่ผ่านมายังคงติดลบอยู่ที่ประมาณ 11.1%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 8,401 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่าประมาณ 9,450 ล้านบาท โดยสื่อที่มีการขยายตัวติดลบมากที่สุดในช่วงเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา คือ สื่อโรงหนัง ติดลบที่ 51.68% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 445 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีมูลค่า 921 ล้านบาท  ตามด้วยสื่อเคเบิลทีวี/แซทเทลไลท์ทีวี ติดลบอยู่ที่ 43.66% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 120  ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 213 ล้านบาท

สื่อต่อมาที่ติดลบค่อนข้างสูง คือ สื่อนิตยสาร ติดลบอยู่ที่ 39.36% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 57 ล้าบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 94 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่ ติดลบอยู่ที่ 35.11% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 377 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 581 ล้านบาท  สื่อในอาคาร ติดลบอยู่ที่ 29.03%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 66 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 93 ล้านบาท  สื่อวิทยุ ติดลบอยู่ที่  25.99% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 319 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 431 ล้านบาท  สื่อหนังสือพิมพ์  ติดลบอยู่ที่  21.08%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่  277 ล้านบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า  351 ล้านบาท  
 
นอกจากนี้  ในส่วนของสื่อนอกอาคาร ก็ยังคงติดลบอยู่ที่ 10.86% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 509 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 571 ล้านบาท  และสื่อทีวี ติดลบอยู่ที่ 7.86%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 5,582 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 6,058 ล้านบาท  ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ต มีมูลค่าอยู่ที่ 649 ล้านบาท ยังไม่มีการเปรียบเทียบ เนื่องจากมีการนำข้อมูลใหม่เข้ามาประมวลผลใหม่
 
 
ส่วนภาพรวม 10 เดือนของปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโฆษณามีการขยายตัวติดลบอยู่ที่ 13.74% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 74,996 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 86,941 ล้านบาท โดยสื่อที่มีการขยายตัวติดลบมากที่สุด คือ สื่อโรงหนัง ติดลบอยู่ที่ 54.18%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 3,231 ล้านบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 7,052  ล้านบาท  ตามด้วยสื่อในอาคาร ติดลบที่ 41.15% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 522 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 887 ล้านบาท  
 
สื่อต่อมาที่ติดลบสูง คือ สื่อหนังสือพิมพ์ติดลบอยู่ที่ 35.25%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 2,513 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 3,881 ล้านบาท  สื่อนิตยสาร ติดลบอยู่ที่ 32.49% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 590 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 874 ล้านบาท  สื่อเคเบิลทีวี/แซทเทลลไท์ทีวี  ติดลบอยู่ที่ 31.69% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 1,289 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 1,887 ล้านบาท  สื่อเคลื่อนที่ติดลบ 25.31% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 3,958 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า  5,299 ล้านบาท 
 
 
ในส่วนของสื่อวิทยุ ก็ติดลบที่ 23.05% หรือมีมูลค่าอยู่ที่  2,972 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 3,862 ล้านบาท  สื่อนอกอาคาร  ติดลบอยู่ที่ 14.78% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 4,891 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 5,739 ล้านบาท และสื่อทีวี  ติดลบอยู่ที่ 11.38%  หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 49,842 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 56,241 ล้านบาท  ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ต มีมูลค่าอยู่ที่ 5,189 ล้านบาท ยังสามารถเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ได้  เนื่องจากมีการรวบรวมสถิติใหม่ 
 
เอจีบี นีลเส็น ประเทศไทย ระบุว่า  ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในช่วงเดือนม.ค.- ต.ค. 2563  ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องส่งผลให้มูลค่าโฆษณาในช่วง 10 เดือนอยู่ที่  74,996 ล้านบาท  หรือติดลบ 13.75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562  ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 86,046 ล้านบาท  โดยสื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 59%  ตามด้วยสื่อนอกบ้าน  สื่ออินเตอร์เน็ต  และสื่อสิ่งพิมพ์  
 
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณามากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.- ต.ค. ที่ผ่านมา  คือ  อุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) คิดเป็นมูลค่า 12,141 ล้านบาท  เห็นสัญญาณการฟื้นตัวจากการออกมาใช้เม็ดเงินโฆษณาในแบรนด์สินค้าต่างๆ  ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง  มีอัตราการเติบโตขึ้นมาคงที่เท่ากับช่วงเดียวกันของปี 2562  
 
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมหลักอย่างสินค้าอุปโภคบริโภค  ยังคงมีเม็ดเงินลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  เช่น  กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาคิดเป็นมูลค่า 13,377 ล้านบาท  ติดลบ 11%,  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562  กลุ่ม Media & Marketing  มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาคิดเป็นมูลค่า 10,173 ล้านบาท  ติดลบ 8% และกลุ่มยานยนต์ (Automotive)  มีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 5,028 ล้านบาท  ติดลบ  36%
 
 
ในส่วนของบริษัทที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในช่วงเดือนม.ค. – ต.ค. 2562  โดย 3 ลำดับแรกได้แก่  บริษัท  ยูนิลีเวอร์ (ไทย) โฮลดิ้ง จำกัด  มีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 3,779 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  43%  โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุด  คือ  ช่วงเดือนต.ค. จากการโฆษณาสินค้า ใหม่ วาสลีน ซุปเปอร์ วิตามิน  ผ่านสื่อทีวี คิดเป็นมูลค่า 38 ล้านบาท 
 
บริษัทต่อมาที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุด  คือ  บริษัท  เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด มีการใช้เม็ดเงินโฆษณา คิดเป็นมูลค่า 2,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่ประมาณ 40% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในช่วงเดือนต.ค. ที่ผ่านมา คือ เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู หอมนุ่มลงตัว ทางสื่อทีวี  คิดเป็นมูลค่า 38 ล้านบาท รองลงมาคือ ไมโล พลังของทีมเวิร์ก กีฬา คือ ครูชีวิต ทางสื่อทีวี  คิดเป็นมูลค่า 26 ล้านบาท
 
ปิดท้ายที่บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) จำกัด  มีการใช้เม็ดเงินคิดเป็นมูลค่า 1,850 ล้านบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562  โดยการติดลบที่ 13% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในช่วงเดือนต.ค. ที่ผ่านมา คือ ใหม่ แพนทีนสูตรโปรวิตามิน ลดการขาดลดร่วง โฆษณาผ่านทางสื่อทีวี  คิดเป็นมูลค่า 26 ล้านบาท 
 

LastUpdate 22/11/2563 21:30:26 โดย : Admin
26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 11:01 am