เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนพฤษภาคม2564


“ดัชนีRSI เดือนพฤษภาคม 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน2564อย่างไรก็ตามภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น”


นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนพฤษภาคม 2564 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนีRSI เดือนพฤษภาคม 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคเนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2564 อย่างไรก็ตามภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น”

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 57.2 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคตโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความต้องการสินค้าเกษตรทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ของสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 55.3สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงานเนื่องจากเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก ประกอบกับการมีนโยบายความช่วยเหลือภาคการเกษตรต่างๆ จากภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ 49.7แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะทรงตัว โดยยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงานเนื่องจากคาดว่าเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019คลี่คลายจะทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นประกอบกับภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรอย่างต่อเนื่องดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 48.4สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในอนาคตที่ปรับตัวชะลอลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรเนื่องจากจะเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรประกอบกับการมีมาตรการช่วยเหลือภาคเกษตรจากภาครัฐส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อาทิ นโยบายประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 48.4สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ชะลอลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม โดยความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลงจากจำนวนผู้ฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ 48.3แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ชะลอลงเช่นกัน แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม โดยคาดว่าเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวคลี่คลายจะทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้นประกอบกับภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมได้ปัจจัยสนับสนุนจากยอดการสั่งซื้อสินค้าเกษตรที่เพิ่มมากขึ้นในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของกทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ46.7ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าแต่ยังอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม

ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2564(ณ เดือนพฤษภาคม2564)
 
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
         
ดัชนีความเชื่อมั่น
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 46.7 57.2 55.3 48.4 48.3 48.4 49.7
ดัชนีแนวโน้มรายภาค      
1) ภาคเกษตร 65.9 68.7 70.5 65.4 56.6 62.0 57.9
  2) ภาคอุตสาหกรรม 50.6 57.1 48.2 55.4 55.8 41.8 46.0
 3) ภาคบริการ 40.4 53.3 47.4 32.9 41.7 43.2 46.3
  4) ภาคการจ้างงาน 38.8 51.8 57.8 45.9 43.8 50.2 50.6
5) ภาคการลงทุน 37.7 55.3 52.7 42.1 43.4 44.9 48.0

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 พ.ค. 2564 เวลา : 18:25:06
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 11:07 pm