ยานยนต์
ขบ. เผย!!! คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง มีมติเพิ่มมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19


นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อในหลายพื้นที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (ศบค.) และกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ในฐานะนายทะเบียนกลางพิจารณาแล้วเห็นควรกำหนดเงื่อนไขมาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง หมวด 4 กรุงเทพมหานคร หมวด 2 หมวด 3 และไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ภายในเขตกรุงเทพมหานครและระหว่างจังหวัด ในช่วงที่มีการใช้บังคับประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ผู้ประกอบการขนส่งปฏิบัติ ดังนี้


1. ให้ผู้ประกอบการขนส่งคัดกรองผู้โดยสารตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเข้มงวดและสอดคล้องกับการตรวจคัดกรองบุคคลเข้าเขตพื้นที่ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก. ศบค.) กรุงเทพมหานคร จังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หรือกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2. ให้ผู้ประกอบการขนส่งดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุข เช่น การตรวจวัดอุณหภูมิการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดการเดินทาง และการจัดเก็บบันทึกข้อมูลตามที่ศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก. ศบค.) กรุงเทพมหานคร จังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือ กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

3. ให้ผู้ประกอบการขนส่งจัดที่นั่งหรือที่ยืนสำหรับผู้โดยสารตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ตามที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
 

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของการกำหนดมาตรการสาธารณสุขเป็นเงื่อนไขในการประกอบการขนส่งอเพื่อให้ผู้ประกอบการมีแนวทางในการปฏิบัติและจัดมาตรการสาธารณสุขในการให้บริการได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม จากกำหนดมาตรการสาธารณสุขเป็นเงื่อนไขมาตรฐานบริการในการประกอบการขนส่งของรถโดยสารสาธารณะ จะทำให้ผู้ประกอบการขนส่งที่ฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุข ไม่ดำเนินการคัดกรองผู้โดยสารตามมาตรการสาธารณสุข หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม มีความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 131 โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาทด้วย จึงขอให้ผู้ประกอบการขนส่งให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระบบการขนส่งด้วยรถโดยสารสาธารณะ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 ก.ค. 2564 เวลา : 15:27:30
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 4:15 pm