เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
คลังฯ เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2564


“เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะ ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก ที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและอุตสาหกรรม”


นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนธันวาคม 2564 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันตกและภาคตะวันออกที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งจากการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและอุตสาหกรรม” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นทั้งจากการบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 5.2 19.4 และ 31.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวลงร้อยละ -13.5 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.2 ด้วยจำนวนเงินทุน 0.8 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตภาชนะบรรจุอาหารจากกระดาษทุกชนิด กำลังการผลิต 4.138 ตัน/ปี ในจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสำคัญ เช่นเดียวกับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.9 และ 30.0 ตามลำดับ ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 29.0 และ 7.3 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 86.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 44.1 และ 85.4 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 63.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่และรายได้เกษตรกร แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -14.9 และ -27.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 2.6 และ 2.0 ตามลำดับ สำหรับจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อปี แต่ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -2.9 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจาก จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ที่แม้ว่าจะชะลอลงร้อยละ -10.4 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.5 แต่ชะลอลงร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.9 ในขณะที่รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนจะชะลอตัวลดลงร้อยละ -12.1 ต่อปี แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 25.4 นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 49.1 และ 107.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.8 และ 106.4 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจากการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 4.2 และ 18.4 ตามลำดับ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี แต่ชะลอลงร้อยละ -21.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ในขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -1.5 และ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 4.9 และ 8.1 ตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 105.0 ด้วยจำนวนเงินทุน 1.9 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ในขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -8.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 2.5 ส่วนจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 15.7 และ 3.4 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 86.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 44.1 และ 85.4 ตามลำดับ

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากการบริโภคภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวร้อยละ 16.7 0.4 และ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่รายได้เกษตรกร แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 8.9 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 14.6 ต่อปี จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี แต่ชะลอลงร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.1 ในขณะที่รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชะลอลงร้อยละ -11.5 ต่อปี แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 109.2 นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 44.8 และ 86.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.5 และ 85.4 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนธันวาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากการลงทุนภาคเอกชน และการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 9.6 และ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -9.9 อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ยังชะลอลง สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 62.7 ด้วยจำนวนเงินทุน 2.6 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะชุมชน ขนาดกำลังการผลิต 6 เมกะวัตต์ ในจังหวัดตาก เป็นสำคัญ สำหรับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.1 ในขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ แม้ว่าชะลอตัวลงร้อยละ -13.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 7.5 ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.6 ในขณะที่รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชะลอตัวลดลงร้อยละ -14.5 ต่อปี แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 31.2 นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 48.9 และ 64.8 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.7 และ 63.7 ตามลำดับเศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนธันวาคม 2564 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนธันวาคม 2564 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 31.3 และ 21.4 ตามลำดับ ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวร้อยละ 14.9 และ 11.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -7.4 และ -3.3 ตามลำดับ สำหรับ แม้ว่าจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 15.1 สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 12.6 และ 21.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ -82.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 219.4 ด้วยจำนวนเงินทุน 0.5 พันล้านบาท จากโรงงานแปรรูปไม้โดยใช้เครื่องจักร เพื่อทำการผลิตชิ้นไม้สับจากไม้ยางพาราและไม้อื่นๆ ที่กำหนด ในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญ สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 15.2 ต่อปี แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -4.5 ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยแม้ว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนจะชะลอตัวลดลงร้อยละ -6.3 ต่อปี แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 93.5 ขณะที่รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 51.3 และ 67.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.3 และ 83.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 41.1 และ 82.5 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนธันวาคม 2564 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งความเชื่อมั่นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกร ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.4 และ 11.7 ตามลำดับ ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวลง สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการแม้ว่าจะชะลอตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -1.0 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 7.9 ด้วยจำนวนเงินทุน 1.6 พันล้านบาท จากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ในจังหวัดศรีสะเกษ เป็นสำคัญ สำหรับจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ยังชะลอตัวลง ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยแม้ว่าจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนจะชะลอตัวลดลงร้อยละ -13.3 และ -26.4 ต่อปี ตามลำดับ แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ 37.4 และ 52.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ระดับ 50.2 และ 78.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.9 และ 77.3 ตามลำดับ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 ม.ค. 2565 เวลา : 13:15:04
30-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 30, 2024, 12:01 am