การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชน "โลกยุคใหม่ ครูไทย...ไปทางไหนดี? "


โควิด-19 ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้คนต้องปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่ ที่มาถึงเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษาซึ่งปัจจุบันนั้นมีปัญหาในหลากหลายมิติ ครูในฐานะผู้เป็นบุคคลสำคัญ ของการขับเคลื่อนการศึกษาจึงต้องพัฒนาตนเองอย่างมากในยุคของการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม 2565 สรุปผลได้ ดังนี้


1. ประชาชนคิดว่าปัญหาการศึกษาไทย ณ วันนี้ เกิดจากสาเหตุใด

อันดับ 1 ความเหลื่อมล้ำทางสังคม 61.19%

อันดับ 2 การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ 59.49%

อันดับ 3 งบประมาณไม่ทั่วถึง 58.64%

อันดับ 4 นโยบายการศึกษาที่เปลี่ยนไปมา 55.43%

อันดับ 5 ระบบการเรียนการสอน 54.39%

2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่กับประโยคที่ว่าในช่วงโควิด-19 “ครูไทย” ปรับตัวได้ดีทันกับการเปลี่ยนแปลง

อันดับ 1 เห็นด้วย 70.71%

อันดับ 2 ไม่เห็นด้วย 16.30%

อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 12.99%

3. ประชาชนคิดว่าปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการพัฒนา “ครูไทย”

อันดับ 1 เงินเดือนและค่าตอบแทน 65.34%

อันดับ 2 การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โควิด-19 64.49%

อันดับ 3 กระทรวงศึกษาธิการ 63.93%

อันดับ 4 ความคิดและทัศนคติของครู 61.00%

อันดับ 5 นโยบายด้านการศึกษา 59.68%

4. ประชาชนคิดว่า “ครูไทยที่ดีในโลกยุคใหม่” ควรมีลักษณะอย่างไร

อันดับ 1 รักในอาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู 74.98%

อันดับ 2 กล้าที่จะทำอะไรใหม่ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการแบบเดิมๆ 67.42%

อันดับ 3 มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้เรียน 61.10%

อันดับ 4 ทำงานร่วมกับผู้อื่น บูรณาการทำงาน เรียนรู้ร่วมกัน 59.96%

อันดับ 5 ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย ประยุกต์ความรู้มาใช้พัฒนาการเรียนการสอน 58.07%

5. ในโลกยุคใหม่ ประชาชนคิดว่าคนอยากเป็น “ครู” หรือไม่

อันดับ 1 อยากเป็น 57.97%

อันดับ 2 ไม่อยากเป็น 40.99%

อันดับ 3 ไม่แน่ใจ 1.04%

*หมายเหตุ ผู้ตอบสามารถระบุความคิดเห็นได้มากกว่า 1 เรื่อง (ค่าร้อยละจึงคำนวณในแต่ละข้อ)

สรุปผลการสำรวจ : โลกยุคใหม่ ครูไทย...ไปทางไหนดี?

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน ระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม 2565 พบว่า ประชาชนคิดว่าปัญหาการศึกษาไทย ณ วันนี้ เกิดจากความเหลื่อมล้ำทางสังคม ร้อยละ 61.19รองลงมาคือ การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 59.49 โดยเห็นด้วยว่าในช่วงโควิด-19 “ครูไทย” ปรับตัวได้ดีทันกับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 70.71 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา “ครูไทย” คือ เงินเดือนและค่าตอบแทน ร้อยละ 65.34 รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โควิด-19 ร้อยละ 64.49 ทั้งนี้ครูไทยที่ดีควรรักในอาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ร้อยละ 74.98 รองลงมาคือ กล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการแบบเดิม ๆ ร้อยละ 67.42 และประชาชนมองว่าอาชีพครูยังเป็นอาชีพที่คนอยากเป็น ร้อยละ 57.97 รองลงมาคือ ไม่อยากเป็น ร้อยละ 40.99

จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลเกี่ยวกับ “การศึกษาและครูไทย” หลายปีที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุของปัญหาการศึกษาไทยยังคงมาจากความเหลื่อมล้ำและการบริหารงานที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้ง แม้จะต้องการปฏิรูปการศึกษาไทยให้ดีขึ้นแต่ก็ยังคงมีปัญหาสะสมมาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 กลับพบว่าบุคลากรสำคัญอย่าง “ครูไทย” นั้นปรับตัวได้เป็นอย่างดี สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันอย่างหลากหลาย ทั้งนี้บทบาทของครูไทยที่ประชาชนคาดหวังก็คือการเป็นครูที่รักในอาชีพและกล้าที่จะทำสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่คนไทยอยากเป็น และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการศึกษาไทยต่อไป

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โทร 086-3766533

จากผลการเสวนากลุ่มเรื่อง “VUCA World...ครูไทยไปทางไหนดี” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเข้าร่วมจำนวน 7 ท่าน สะท้อนให้เห็นว่าตราบใดที่ระบบโครงสร้างหลักสูตรยังไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทของสังคมไทย ไม่สามารถผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้ ครูไทยจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่ผันผวน เปิดใจฟังผู้เรียนเพื่อสร้างความเข้าใจมากกว่าการตัดสินว่าถูกหรือผิด รักและศรัทธาในวิชาชีพพร้อม

ทั้งถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู เพื่อทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าโรงเรียนคือพื้นที่ปลอดภัย และเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยการลงมือทำ และที่สำคัญควรปรับนโยบายด้านการประเมินครูด้วยเทคนิคการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ผศ.ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ส.ค. 2565 เวลา : 09:05:25
30-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 30, 2024, 9:55 pm