การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเรื่อง "แนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า"


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-5 สิงหาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0


จากการสำรวจเมื่อถามถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้บัตรสองใบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.82 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 38.03 ระบุว่า จะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน ร้อยละ 16.85 ระบุว่า จะไม่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความต้องการที่จะเปลี่ยน ส.ส. ในเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ไม่อยาก จะเปลี่ยนเลย รองลงมา ร้อยละ 28.28 ระบุว่า อยากจะเปลี่ยนอย่างมาก ร้อยละ 19.21 ระบุว่า ค่อนข้างอยากจะเปลี่ยน ร้อยละ 11.97 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากจะเปลี่ยน และร้อยละ 10.13 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามประชาชนถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.99 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 32.39 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ร้อยละ 21.34 ระบุว่า จะเลือก พรรคการเมืองใหม่ที่ยังไม่มี ส.ส. ในสภา ร้อยละ 10.82 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.61 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.30 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 17.99 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.26 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.76 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.28 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.53 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.17 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.89 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.74 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 32.24 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.40 สมรสแล้ว และร้อยละ 2.36 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.38 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.46 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.97 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.73 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.14 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.02 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.20ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.79 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.88 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.57 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.79 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.92 ไม่ระบุรายได้

1. ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้บัตรสองใบ ท่านมีแนวโน้มที่จะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกันหรือไม่

ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร ร้อยละ 44.82

จะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน ร้อยละ 38.03

จะไม่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน ร้อยละ 16.85

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.30

รวม ร้อยละ 100.00

2. ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ท่านมีแนวโน้มอยากจะเปลี่ยน ส.ส. ในเขตเลือกตั้งของท่านหรือไม่
 
ไม่อยากจะเปลี่ยนเลย ร้อยละ 30.41

อยากจะเปลี่ยนอย่างมาก ร้อยละ 28.28

ค่อนข้างอยากจะเปลี่ยน ร้อยละ 19.21

ไม่ค่อยอยากจะเปลี่ยน ร้อยละ 11.97

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 10.13

รวม ร้อยละ 100.00

3. ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ท่านมีแนวโน้มที่จะเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคการเมืองฝ่ายใด

ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร ร้อยละ 34.99

จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ร้อยละ 32.39

จะเลือกพรรคการเมืองใหม่ที่ยังไม่มี ส.ส. ในสภา ร้อยละ 21.34

จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ร้อยละ 10.82

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.46

รวม ร้อยละ 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

กรุงเทพฯ จำนวน 113 ร้อยละ 8.61

ปริมณฑลและภาคกลาง จำนวน 345 ร้อยละ 26.30

ภาคเหนือ จำนวน 236 ร้อยละ 17.99

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 440 ร้อยละ 33.53

ภาคใต้ จำนวน 178 ร้อยละ 13.57

รวม จำนวน 1,312 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

ชาย จำนวน 631 ร้อยละ 48.09

หญิง จำนวน 681 ร้อยละ 51.91

รวม จำนวน 1,312 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

18-25 ปี จำนวน 174 ร้อยละ 13.26

26-35 ปี จำนวน 233 ร้อยละ 17.76

36-45 ปี จำนวน 253 ร้อยละ 19.28

46-59 ปี จำนวน 348 ร้อยละ 26.53

60 ปีขึ้นไป จำนวน 304 ร้อยละ 23.17

รวม จำนวน 1,312 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ จำนวน 1,258 95.89

อิสลาม จำนวน 36 2.74

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ จำนวน 16 1.22

ไม่ระบุ จำนวน 2 0.15

รวม จำนวน 1,312 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

โสด จำนวน 423 ร้อยละ 32.24

สมรส จำนวน 858 ร้อยละ 65.40

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ จำนวน 31 ร้อยละ 2.36

รวม จำนวน 1,312 ร้อยละ 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ)

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า จำนวน 333 ร้อยละ 25.38

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 439 ร้อยละ 33.46

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า จำนวน 109 ร้อยละ 8.31

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 367 ร้อยละ 27.97

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 62 ร้อยละ 4.73

ไม่ระบุ จำนวน ร้อยละ 0.15

รวม จำนวน 1,312 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 133 ร้อยละ 10.14

พนักงานเอกชน จำนวน 184 ร้อยละ 14.02

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ จำนวน 265 ร้อยละ 20.20

เกษตรกร/ประมง จำนวน 168 ร้อยละ 12.80

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน จำนวน 221 ร้อยละ 16.85

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน จำนวน 261 ร้อยละ 19.90

นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 76 ร้อยละ 5.79

ไม่ระบุ 4 ร้อยละ 0.30

รวม 1,312 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

ไม่มีรายได้ จำนวน 287 ร้อยละ 21.88

ไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 283 ร้อยละ 21.57

10,001-20,000 บาท จำนวน 352 ร้อยละ 26.83

20,001-30,000 บาท จำนวน 134 ร้อยละ 10.21

30,001-40,000 บาท จำนวน 63 ร้อยละ 4.80

40,001 บาทขึ้นไป จำนวน 76 ร้อยละ 5.79

ไม่ระบุ จำนวน 117 ร้อยละ 8.92

รวม จำนวน 1,312 ร้อยละ 100.00

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ส.ค. 2565 เวลา : 09:17:18
01-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 1, 2024, 3:24 am