การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย"


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0


จากการสำรวจเมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของยาบ้าในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.63 ระบุว่า ยาบ้าหาซื้อได้ง่าย รองลงมา ร้อยละ 48.02 ระบุว่า กฎหมายยาเสพติดอ่อนแอเกินไป ร้อยละ 47.86 ระบุว่า ยาบ้ามีราคาถูก ร้อยละ 31.83 ระบุว่า มาตรการ การปราบปรามยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 30.92 ระบุว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายหย่อนยานในการดำเนินการ ร้อยละ 26.56 ระบุว่า สภาพทางสังคมทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.49 ระบุว่า นโยบายของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 25.42 ระบุว่า มาตรการการป้องกันยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 21.30 ระบุว่า ผู้เสพไม่มีจิตสำนึกเอง และร้อยละ 20.31 ระบุว่า สภาพทางเศรษฐกิจทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.15 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ควรมีบทลงโทษเพื่อป้องกันผู้เสพหน้าใหม่ ผู้เสพอาจกลายเป็นผู้ขายเนื่องจากไม่เกรงกลัวบทลงโทษตามกฎหมาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้เสพไม่มีความตั้งใจที่จะเข้ารับการบำบัดตั้งแต่ต้นอาจกลับมาติดยาเสพติดซ้ำ รองลงมา ร้อยละ 20.31 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ ผู้เสพอาจเป็นผู้หลงผิดจึงควรได้รับการบำบัดรักษา เป็นการให้โอกาสในการปรับตัวกลับเข้าสู่สังคม และผู้เสพที่เป็นเยาวชนมีจำนวนมากควรใช้วิธีการบำบัดแทนการจำคุก ร้อยละ 15.57 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ผู้เสพที่ต้องการเลิกยาเสพติดสามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี ขณะที่บางส่วนระบุว่า การบำบัดเป็นการช่วยแก้ปัญหานักโทษล้นคุก ร้อยละ 13.89 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ผู้เสพควรได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย หากไม่มีบทลงโทษอาจทำให้มีผู้เสพเพิ่มมากขึ้น และควรแก้ไขปัญหา ที่ต้นเหตุ การนำผู้เสพมาบำบัดอาจไม่ช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคม และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อปริมาณการครอบครองยาบ้าเพื่อเสพที่จะเข้ากับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.96 ระบุว่า ยืนยันว่าไม่เห็นด้วย/ไม่ค่อยเห็นด้วยกับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” รองลงมา ร้อยละ 30.76 ระบุว่า ไม่เกิน 1 เม็ด ร้อยละ 16.11 ระบุว่า ประมาณ 2-3 เม็ด ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ประมาณ 4-6 เม็ด ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ประมาณ 10-12 เม็ด ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ประมาณ 7-9 เม็ด และไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 1.75 ระบุว่า ประมาณ 13-15 เม็ด

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการรู้จักคนเสพหรือเคยเสพยาเสพติด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.11 ระบุว่า ไม่รู้จัก ขณะที่ ร้อยละ 43.89 ระบุว่า รู้จัก

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.18 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 17.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.32 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.68 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 17.18 มีอายุ 15-25 ปี ร้อยละ 17.02 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.32 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.34 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.14 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.95 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.83 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.84 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.38 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 35.57 สถานภาพโสด ร้อยละ 61.68 สมรส ร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 28.55 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.95 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.02 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.05 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.20 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.02 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.19 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.38ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.44 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.96 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.30 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 7.48 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.23 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.49 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.88 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.77 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.58 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 9.24 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านคิดว่าการแพร่ระบาดของยาบ้าในปัจจุบันเกิดจากอะไร (ตอบได้มากกว่าหนึ่งข้อ)

ยาบ้าหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 48.63

กฎหมายยาเสพติดอ่อนแอเกินไป ร้อยละ 48.02

ยาบ้ามีราคาถูก ร้อยละ 47.86

มาตรการการปราบปรามยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 31.83

ผู้บังคับใช้กฎหมายหย่อนยานในการดำเนินการ ร้อยละ 30.92

สภาพทางสังคมทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.56

นโยบายของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 26.49

มาตรการการป้องกันยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 25.42

ผู้เสพไม่มีจิตสำนึกเอง ร้อยละ 21.30

สภาพทางเศรษฐกิจทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.31

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” เพื่อเข้ารับการบำบัดและไม่ต้องถูกดำเนินคดี

ความคิดเห็นของประชาชนต่อประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ร้อยละ

ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ควรมีบทลงโทษเพื่อป้องกันผู้เสพหน้าใหม่ ผู้เสพอาจกลายเป็นผู้ขายเนื่องจากไม่เกรงกลัว

บทลงโทษตามกฎหมาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้เสพไม่มีความตั้งใจที่จะเข้ารับการบำบัดตั้งแต่ต้น

อาจกลับมาติดยาเสพติดซ้ำ ร้อยละ 50.15

เห็นด้วยมาก เพราะ ผู้เสพอาจเป็นผู้หลงผิดจึงควรได้รับการบำบัดรักษา เป็นการให้โอกาสในการปรับตัวกลับเข้าสู่

สังคม และผู้เสพที่เป็นเยาวชนมีจำนวนมากควรใช้วิธีการบำบัดแทนการจำคุก 20.31

ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ ผู้เสพที่ต้องการเลิกยาเสพติดสามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูก

ดำเนินคดี ขณะที่บางส่วนระบุว่า การบำบัดเป็นการช่วยแก้ปัญหานักโทษล้นคุก 15.57

ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ผู้เสพควรได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย หากไม่มีบทลงโทษอาจทำให้มีผู้เสพเพิ่มมากขึ้น

และควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ การนำผู้เสพมาบำบัดอาจไม่ช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคม ร้อยละ 13.89

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.08

รวม ร้อยละ 100.00

3. ท่านคิดว่าการครอบครองยาบ้าเพื่อเสพในปริมาณเท่าไร ถึงจะเข้ากับหลักการ “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย”
 
 
ไม่เกิน 1 เม็ด ร้อยละ 30.76

ประมาณ 2-3 เม็ด ร้อยละ 16.11

ประมาณ 4-6 เม็ด ร้อยละ 7.33

ประมาณ 10-12 เม็ด ร้อยละ 3.59

ประมาณ 7-9 เม็ด ร้อยละ 2.75

ประมาณ 13-15 เม็ด ร้อยละ 1.75

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 2.75

รวม ร้อยละ 100.00

4. ท่านรู้จักคนเสพ/เคยเสพ ยาเสพติดหรือไม่
 
ไม่รู้จัก ร้อยละ 56.11

รู้จัก ร้อยละ 43.89

รวม ร้อยละ 100.00

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 16 ต.ค. 2565 เวลา : 21:09:59
02-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 2, 2024, 7:06 pm