การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่อง "การศึกษา (วิจัย) ภัยพิบัติเพื่อการป้องกันและเตรียมความพร้อมของประเทศ"


 
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ ฟิวเจอร์เอิร์ธแห่งประเทศไทย (Future Earth Thailand) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่อง “การศึกษา (วิจัย) ภัยพิบัติเพื่อการป้องกันและเตรียมความพร้อมของประเทศ” ทำการสำรวจในเดือนมีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติเพื่อการป้องกันและเตรียม ความพร้อมของประเทศ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการศึกษา (วิจัย) เรื่องภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 78.00 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 17.25 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 2.50 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และ ร้อยละ 2.25 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อเรื่องภัยพิบัติที่ต้องทำการศึกษา (วิจัย) อย่างเร่งด่วนมากที่สุด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 46.00 ระบุว่า เรื่องคุณภาพอากาศ เช่น PM 2.5 รองลงมา ตัวอย่าง ร้อยละ 26.75 ระบุว่า เรื่องการป้องกันน้ำท่วม/การตื้นเขิน ของแม่น้ำหรือทะเลสาบ ตัวอย่าง ร้อยละ 13.00 ระบุว่า เรื่องภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน ตัวอย่าง ร้อยละ 9.00 ระบุว่า เรื่องการเกษตรสมัยใหม่ ตัวอย่าง ร้อยละ 3.50 ระบุว่า เรื่องแผ่นดินทรุดตัว เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และตัวอย่าง ร้อยละ 1.75 ระบุว่า เรื่องสึนามิ (Tsunami)

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.00 เป็นเพศชาย และร้อยละ 52.00 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 12.75 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.75 มีอายุ 26–35 ปี ร้อยละ 19.00 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.75 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.75 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยตัวอย่างร้อยละ 8.50 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 18.50 ภาคกลาง ร้อยละ 18.00 ภาคเหนือ ร้อยละ 33.50 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 ภาคใต้ และร้อยละ 7.75 ภาคตะวันออก ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 96.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.25 ศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.75 ศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 33.75 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 64.25 สมรส และร้อยละ 0.50หม้าย ร้อยละ 1.50 หย่าร้าง ตัวอย่างร้อยละ 0.25 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 24.50 จบการศึกษาประถมศึกษา ร้อยละ 32.50 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.00 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.00 ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.00 ปริญญาโทหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.75 ปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 9.50 ประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ ร้อยละ 1.00 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.50 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 4.00 เจ้าของธุรกิจส่วนตัว (มีลูกจ้าง) ร้อยละ 16.75 อาชีพอิสระ (ไม่มีลูกจ้าง) ร้อยละ 12.25 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 13.00 เกษตรกรรม ร้อยละ 16.00 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 2.25 เกษียณอายุ ร้อยละ 6.50 นักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.25 ว่างงาน สำหรับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตัวอย่างร้อยละ 5.00 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 15.75 รายได้ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 26.50 รายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 7.75 รายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.25 รายได้ 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 2.75 รายได้ 40,001-50,000 บาท ร้อยละ 1.50 รายได้ 50,001-60,000 บาท ร้อยละ 0.75 รายได้ 60,001-70,000 บาท ร้อยละ 0.50 รายได้ 70,001-80,000 บาท ร้อยละ 0.25 รายได้ 90,001-100,000 บาท ร้อยละ 0.25 รายได้มากกว่า 100,000 บาท ร้อยละ 23.75 ไม่มีรายได้ และร้อยละ 11.00 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านเห็นด้วยกับการศึกษา (วิจัย) เรื่องภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ หรือไม่

เห็นด้วยมาก รวม 78.00

ค่อนข้างเห็นด้วย รวม 17.25

ไม่เห็นด้วยเลย รวม 2.50

ไม่ค่อยเห็นด้วย รวม 2.25

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ รวม 0.00

รวม 100.00

2. ท่านคิดว่าภัยพิบัติเรื่องใดที่ต้องทำการศึกษา (วิจัย) อย่างเร่งด่วนมากที่สุด

คุณภาพอากาศ เช่น PM 2.5 รวม 46.00

การป้องกันน้ำท่วม/การตื้นเขินของแม่น้ำหรือทะเลสาบ รวม 26.75

ภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน รวม 13.00

การเกษตรสมัยใหม่ รวม 9.00

แผ่นดินทรุดตัว เช่น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวม 3.50

สึนามิ (Tsunami) รวม 1.75

รวม 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

ชาย จำนวน 192 ร้อยละ 48.00

หญิง จำนวน 208 ร้อยละ 52.00

รวม จำนวน 400 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ 18-25 ปี จำนวน 51 ร้อยละ 12.75
 
อายุ 26-35 ปี จำนวน 71 ร้อยละ 17.75

อายุ 36-45 ปี จำนวน 76 ร้อยละ 19.00

อายุ 46-59 ปี จำนวน 107 ร้อยละ 26.75

อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 95 ร้อยละ 23.75

รวม จำนวน 400 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

กรุงเทพ จำนวน 34 ร้อยละ 8.50

ภาคกลาง จำนวน 74 ร้อยละ 18.50

ภาคเหนือ จำนวน ร้อยละ 18.00

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 134 ร้อยละ 33.50

ภาคใต้ จำนวน 55 ร้อยละ 13.75

ภาคตะวันออก จำนวน 31 ร้อยละ 7.75

รวม จำนวน 400 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

พุทธ จำนวน 384 ร้อยละ 96.00

อิสลาม จำนวน 13 ร้อยละ 3.25

คริสต์ จำนวน ร้อยละ 0.75

รวม จำนวน 400 ร้อยละ 100.00 

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

โสด จำนวน 135 ร้อยละ 33.75

สมรส จำนวน 257 ร้อยละ 64.25

หม้าย จำนวน ร้อยละ 0.50

หย่าร้าง จำนวน ร้อยละ 1.50

รวม จำนวน 400 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุด

ไม่ได้รับการศึกษา จำนวน ร้อยละ 0.25

ประถมศึกษา จำนวน 98 ร้อยละ 24.50

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 130 ร้อยละ 32.50

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า จำนวน 32 ร้อยละ 8.00

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 108 ร้อยละ 27.00

ปริญญาโทหรือเทียบเท่า จำนวน 28 ร้อยละ 7.00

ปริญญาเอกหรือเทียบเท่า จำนวน ร้อยละ 0.75

รวม จำนวน 400 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

รับราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ จำนวน 38 ร้อยละ 9.50

พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน ร้อยละ 1.00

พนักงานบริษัทเอกชน จำนวน 70 ร้อยละ 17.50

เจ้าของธุรกิจส่วนตัว (มีลูกจ้าง) จำนวน 16 ร้อยละ 4.00

อาชีพอิสระ (ไม่มีลูกจ้าง) จำนวน 67 ร้อยละ 16.75

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน จำนวน 49 ร้อยละ 12.25

เกษตรกรรม จำนวน 52 ร้อยละ 13.00

ประมง จำนวน ร้อยละ 0.00

พ่อบ้าน/แม่บ้าน 64 ร้อยละ 16.00

เกษียณอายุ 9 ร้อยละ 2.25

นักเรียน/นักศึกษา 26 ร้อยละ 6.50

ว่างงาน จำนวน ร้อยละ 1.25

องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร จำนวน ร้อยละ 0.00

รวม จำนวน 400 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

ไม่เกิน 5,000 บาท จำนวน 20 ร้อยละ 5.00

5,001-10,000 บาท จำนวน 63 ร้อยละ 15.75

10,001-20,000 บาท จำนวน 106 ร้อยละ 26.50

20,001-30,000 บาท จำนวน 31 ร้อยละ 7.75

30,001-40,000 บาท จำนวน 17 ร้อยละ 4.25

40,001-50,000 บาท จำนวน 11 ร้อยละ 2.75

50,001-60,000 บาท จำนวน ร้อยละ 1.50

60,001-70,000 บาท จำนวน ร้อยละ 0.75
 
70,001-80,000 บาท จำนวน ร้อยละ 0.50

80,001-90,000 บาท จำนวน 0 0.00

90,001-100,000 บาท จำนวน ร้อยละ0.25

มากกว่า 100,000 บาท จำนวน ร้อยละ 0.25

ไม่มีรายได้ จำนวน 95  ร้อยละ 23.75

ไม่ระบุ จำนวน 44  ร้อยละ 11.00
 
รวม จำนวน 400  ร้อยละ 100.00

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 มี.ค. 2566 เวลา : 11:20:47
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 2:08 pm