การค้า-อุตสาหกรรม
ภาครัฐ - สว. ยก ซีพีต้นแบบระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด ช่วยสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม


 
รายงานข่าวภายหลังการประชุมจัดทำระบบฐานข้อมูล PM 2.5 ในวันที่ 11 เมษายน 2566 ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)กรมวิชาการเกษตร นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) สำนักงานสถิติแห่งชาติ GISTDA เครือซีพี

ที่ประชุมมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียมของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และบูรณาการฐานข้อมูล นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อต่อยอดความร่วมมือจัดการปัญหาฝุ่นควันข้ามพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเมียนมา และสปป.ลาว

 
โดยที่ประชุม ยกระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดที่ซีพีพัฒนาขึ้นและนำมาใช้ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการจัดหาวัตถุดิบข้าวโพดอย่างยั่งยืน ปราศจากการบุกรุกพื้นที่ป่า และปลอดการเผา 
พร้อมนำเทคโนโลยีบล็อกเชน และภาพถ่ายดาวเทียม (จีพีเอส) มาช่วยการเก็บและตรวจสอบข้อมูลอย่างโปร่งใสและแม่นยำ  ซีพียังได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ฟ.ฟาร์ม เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกข้าวโพดตามหลักวิชาการ เพิ่มประสิทธิภาพกาเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต 

นอกจากนี้ ที่ประชุมจะถอดบทเรียนระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อนำไปเป็นแนวทางการบริหารจัดการเพาะปลูกเพื่อลดการเผาหลังเก็บเกี่ยวให้กับเมียนมาและสปป.ลาวในการประชุมร่วมกันในปลายเดือนเมษายนนี้

ทั้งนี้ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมของจิสด้า ใน 17 จังหวัดภาคเหนือต้นปีนี้ พบว่า จุด hot spot เกิดขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์สูงถึง 95.6%  พื้นที่ชุมชน 75.4%  ส่วนพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวมีการเผา 56.6% ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวโพดมีการเผาเพียง 10.7% พื้นที่ปลูกอ้อย10.8% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมจะต้องรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และขยายผลการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5  รวมไปถึงการปรับปรุงมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะกำหนดให้การไม่เผาหลังการเก็บเกี่ยวเป็นเงื่อนไขสำคัญในโครงการประกันราคาและประกันรายได้พืชเกษตรหลักในอนาคต./

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 12 เม.ย. 2566 เวลา : 16:51:47
29-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 29, 2024, 9:54 pm