การศึกษา-สิ่งแวดล้อม-สาธารณสุข
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566"


ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

 
จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อลักษณะของผู้ที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 76.72 ระบุว่า สามารถทำงานให้กับทุกพรรคการเมืองด้วยความเป็นกลางได้ รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่า มีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย ร้อยละ 26.34 ระบุว่า ต้องจบกฎหมาย ร้อยละ 24.89 ระบุว่า ต้องเป็นที่ยอมรับของ ส.ส. ร้อยละ 16.41 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลเท่านั้น ร้อยละ 15.95 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 15.65 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคอันดับหนึ่งในสภาก็ได้ ร้อยละ 14.05 ระบุว่า มาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ได้ ร้อยละ 13.36 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคอันดับหนึ่ง ในสภาเท่านั้น ร้อยละ 13.05 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย ร้อยละ 10.92 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้อง จบกฎหมาย ร้อยละ 7.10 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 6.56 ระบุว่า เป็น ส.ส. คนไหนก็ได้ ร้อยละ 2.90 ระบุว่า สามารถผลักดันร่างกฎหมายของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดได้ และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นฝ่ายค้านเท่านั้น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการตัดสินใจของ ส.ส. ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 52.44 ระบุว่า ส.ส. ควรมีการตกลงกันภายในพรรคของตนเองก่อนลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร รองลงมา ร้อยละ 47.10 ระบุว่า ควรปล่อยให้ ส.ส. ใช้อิสระในการลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.18 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.28 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.54 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 33.44 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.35 สมรส และร้อยละ 2.21 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 27.40 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.05 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.64 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.56 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.40 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.88 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.08 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.13 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.95 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 20.91 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.21 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.39 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.47 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.46 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 12.75 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านคิดว่าผู้ที่จะเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรควรมีลักษณะอย่างไร (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)

สามารถทำงานให้กับทุกพรรคการเมืองด้วยความเป็นกลางได้ ร้อยละ 76.72

มีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย ร้อยละ 28.63

ต้องจบกฎหมาย ร้อยละ 26.34

ต้องเป็นที่ยอมรับของ ส.ส. ร้อยละ 24.89

ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลเท่านั้น ร้อยละ 16.41

ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 15.95

ไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคอันดับหนึ่งในสภาก็ได้ ร้อยละ 15.65

มาจากพรรคที่จะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านก็ได้ ร้อยละ 14.05

ต้องมาจากพรรคอันดับหนึ่งในสภาเท่านั้น ร้อยละ 13.36

ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ส.ส. หลายสมัย ร้อยละ 13.05

ไม่จำเป็นต้องจบกฎหมาย ร้อยละ 10.92

ต้องมาจากพรรคเดียวกันกับนายกรัฐมนตรี 7.10

เป็น ส.ส. คนไหนก็ได้ 6.56

สามารถผลักดันร่างกฎหมายของพรรคการเมืองที่ตนเองสังกัดได้ ร้อยละ 2.90

ต้องมาจากพรรคที่จะเป็นฝ่ายค้านเท่านั้น ร้อยละ 0.46

2. ท่านคิดว่าการตัดสินใจของ ส.ส. ในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรควรเป็นอย่างไร

ส.ส. ควรมีการตกลงกันภายในพรรคของตนเองก่อนลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 52.44

ควรปล่อยให้ ส.ส. ใช้อิสระในการลงคะแนนเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 47.10

ไม่ตอบ/ไม่ทราบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.46

รวม ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

กรุงเทพฯ จำนวน 112 ร้อยละ 8.55

ภาคกลาง จำนวน 243 ร้อยละ 18.55

ภาคเหนือ จำนวน 236 ร้อยละ 18.01

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 438 ร้อยละ 33.44

ภาคใต้ จำนวน 180 ร้อยละ 13.74

ภาคตะวันออก จำนวน 101 ร้อยละ 7.71

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

ชาย จำนวน 630 ร้อยละ 48.09

หญิง จำนวน 680 ร้อยละ 51.91

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

18-25 ปี จำนวน 169 ร้อยละ 12.90

26-35 ปี จำนวน 233 ร้อยละ 17.79

36-45 ปี จำนวน 248 ร้อยละ 18.93

46-59 ปี จำนวน 349 ร้อยละ 26.64

60 ปีขึ้นไป จำนวน 311 ร้อยละ 23.74

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

พุทธ จำนวน 1,260 ร้อยละ 96.18

อิสลาม จำนวน 43 ร้อยละ 3.28

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใดๆ จำนวน ร้อยละ 0.54

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

โสด จำนวน 438 ร้อยละ 33.44

สมรส จำนวน 843 ร้อยละ 64.35

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ จำนวน 29 ร้อยละ 2.21

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ)

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า จำนวน 359 ร้อยละ 27.40

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 446 34.05

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า จำนวน 87 ร้อยละ 6.64

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 361 ร้อยละ 27.56

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวน 57 ร้อยละ 4.35

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ จำนวน 110 ร้อยละ 8.40

พนักงานเอกชน จำนวน 208 ร้อยละ 15.88

เจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ จำนวน 263 ร้อยละ 20.08

เกษตรกร/ประมง จำนวน 172 ร้อยละ 13.13

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน จำนวน 209 ร้อยละ 15.95

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน จำนวน 274 ร้อยละ 20.91

นักเรียน/นักศึกษา จำนวน 74 ร้อยละ 5.65

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

ไม่มีรายได้ จำนวน 304 ร้อยละ 23.21

ไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 254 ร้อยละ 19.39

10,001-20,000 บาท จำนวน 373 ร้อยละ 28.47

20,001-30,000 บาท จำนวน 124 ร้อยละ 9.46

30,001-40,000 บาท จำนวน 44 ร้อยละ 3.36

40,001 บาทขึ้นไป จำนวน 44 ร้อยละ 3.36

ไม่ระบุ จำนวน 167 ร้อยละ 12.75

รวม จำนวน 1,310 ร้อยละ 100.00

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ก.ค. 2566 เวลา : 19:51:41
28-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 28, 2024, 4:37 am