การค้า-อุตสาหกรรม
หัวเว่ยเดินหน้า ร่วมยกระดับศักยภาพเมืองไทยสู่สมาร์ทซิตี้ ด้วยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ


เทคโนโลยีอัจฉริยะในปัจจุบันกำลังเข้ามาเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของทุกคน ทั้งในแง่ของกระบวนการทำงาน และรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้หลาย ๆ ภาคส่วนต้องปรับวิสัยทัศน์และแนวทางในด้านการดำเนินงาน เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ตอบรับกับเทรนด์โลกที่เริ่มมุ่งเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น โดยเมืองอัจฉริยะ (Smart City) คือการนำหลากเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้งานร่วมกันแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการทรัพยากรภายในเมือง รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองอีกด้วย โดยการนำเทคโนโลยีทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียนรู้โดยอัตโนมัติ (Machine Learning) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet of Things) และอีกมากมาย มาใช้งานร่วมกันอย่างไร้รอยต่อ จนกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในปัจจุบัน ช่วยให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ว่าจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงง่าย โรคระบาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ยังคงต้องแก้ไขปัญหาการจราจรที่ควบคุมได้ยาก และอาชญากรรมที่ล้วนคาดเดาไม่ได้ หัวเว่ย ในฐานะผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พร้อมเร่งสนับสนุนประเทศไทยให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล โดยใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพระดับสากล สามารถผลักดันให้การใช้เทคโนโลยีเกิดขึ้นได้จริง จนกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะในทวีปเอเชีย

 
เมื่อไม่นานมานี้หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า จัดเวทีพิเศษ Thailand Smart City 2023 ภายใต้แนวคิด “Accelerating Intelligence of Smart City ยกระดับเมืองอัจฉริยะน่าอยู่” ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้นำจากภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และเทรนด์เทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมกับจัดแสดง นวัตกรรม เทคโนโลยี และกลยุทธ์ที่ช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้เกิดขึ้นได้จริงในเมืองอัจฉริยะ

 
นายเชลดอน หวัง รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ภายในงาน ไทยแลนด์ สมาร์ทซิตี้ ฟอรัม 2023 (Thailand Smart City 2023) ว่า “เมื่อเราพูดถึงคำว่า เมืองอัจฉริยะ เรากำลังหมายถึงการบูรณาการเทคโนโลยีมากมายเข้าด้วยกัน สำหรับ หัวเว่ย เราแบ่งหมวดหมู่ของเทคโนโลยีออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ที่จะช่วยให้ทุกสิ่งในเมืองถูกเข้าถึงได้ทั้งหมดผ่านระบบคลาวด์ กลุ่มถัดมาคือ ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Smart Connectivity) ที่ช่วยให้ระบบหลักของเมือง (City Backbone) สามารถเชื่อมต่อถึงเทคโนโลยีอื่นที่มีความหลากหลายและทำงานร่วมกันได้ทั้งหมด และกลุ่มสุดท้ายคือ ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligent Operation Center) ที่ควบคุมการจัดการอย่างเป็นระบบและคอยช่วยเหลือผู้คนที่อาศัยในเมืองให้ดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น”

โดยทั้งหมดนี้ หัวเว่ย ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงคำนึงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนของ เศรษฐกิจเชิงสังคม (Social Economy) ตามมาด้วยเรื่องของคุณภาพชีวิตและการศึกษาของประชากรภายในเมือง สำหรับการรักษาความปลอดภัยในเมืองแห่งเทคโนโลยีนี้ หัวเว่ย เลือกใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Intelligent Sensor) ได้แก่ ระบบ 5G อุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ และระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่รองรับความหลากหลายของอุตสาหกรรมทางธุรกิจ มาช่วยให้ระยะเวลาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Response Time) เป็นไปตามมาตรฐาน ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็วจากการทำงานร่วมกันระหว่างกล้องวงจรปิด (CCTV) อุปกรณ์ IoT ที่เชื่อมผ่านสัญญาณไวไฟ (Wi-Fi) ไปยังศูนย์ควบคุม เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้ระบบวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ (Real Time Monitoring) ได้ทันที

นายประยุทธ ตั้งสงบ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยี กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศไทยว่า “เรามีระบบ 5G ที่พร้อมที่สุด และเป็นผู้นำของเอเชีย สามารถเก็บข้อมูลสำหรับโครงการ Government Data Center and Cloud Service (GDCC) นอกจากนี้เรายังมี AI Unique Thailand ซึ่งเป็นระบบ AI Computing ที่เข้าใจภาษาไทยและคนไทยเป็นพิเศษ รวมถึงระบบ AI ที่ถูกสร้างมาเพื่อการใช้งานของภาครัฐโดยเฉพาะ เช่น ใช้สำหรับพยากรณ์อากาศ การก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ เราจะเชื่อมโยงทุกจุดของประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ตำบลที่อยู่ไกลจากตัวเมือง ผ่านสัญญาณ 5G ที่เป็นคลื่นไมโครเวฟให้เชื่อมถึงกัน เรามีเทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างชุมชนโลกเสมือนจริง (Metaverse) มองเห็นเมืองได้ตั้งแต่บนพื้นดินจนถึงท่อที่อยู่ใต้ดิน ให้ผู้ดูแลเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดและรับรู้ความเป็นไปที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับเมือง เช่น หากพายุกำลังจะเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถใช้ AI ในการคำนวนค่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและแจ้งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมรับมือหรืออพยพ”

 
การยึดมั่นในเรื่องความปลอดภัยในเมืองอัจฉริยะของหัวเว่ย คือจุดเริ่มต้นของแนวคิดระบบความปลอดภัยรอบด้าน (Omni Safety) ที่จะเป็นการเชื่อมข้อมูลของทุกระบบการสื่อสารของทุกหน่วยงานในไทยเข้าด้วยกัน ในยามที่ต้องรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุรถแก๊สชนกัน ซึ่งปกติจะมีการแจ้งเหตุผ่านโทรศัพท์โดยประชาชนผู้พบเห็นเหตุการณ์ไปยังโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ตามแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล แต่เมื่อมีนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ ระบบจะรวบรวมทุกอย่างที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลไปที่สมองของเมือง หรือ Intelligent Operation Center ที่ทำหน้าที่ในการบริหารตัดการเมือง ช่วยสังเกตการณ์และรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเพื่อจัดการกับสถานการณ์ในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว โดยศูนย์ควบคุมหลักนี้ประกอบไปด้วยระบบรวมศูนย์ข้อมูลที่จะแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่และหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้สามารถเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยมีกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (Intelligent Vision) ที่เข้าใจสิ่งที่ปรากฏในภาพ ทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ดูแลคอยแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่อย่างทันท่วงที

เทคโนโลยีที่ข้บเคลื่อนด้วยข้อมูลและสามารถใช้งานได้จริง เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบยกระดับ หัวเว่ยพร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เมืองอัจฉริยะ รวมถึงการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในประเทศไทยให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ชาญฉลาดให้สามารถกระจายตัวเข้าถึงทุกพื้นที่ในประเทศไทยได้อย่างไร้ขอบเขต มอบความสะดวกสบายและคุณภาพชีวิตที่มีมาตรฐานให้กับคนไทย สอดคล้องกับพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ของหัวเว่ยที่ต้องการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรในหลายภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นอีกหนึ่งเมืองอัจฉริยะแห่งอนาคตในภูมิภาคอาเซียน

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 09 ม.ค. 2567 เวลา : 19:37:17
28-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 28, 2024, 2:43 am