เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ครม.เศรษฐกิจ คลอดแพคเกจ 7 ด้าน เร่งรัดการลงทุน


ครม.เศรษฐกิจเคาะแพคเกจThailand Plusตามที่บีโอไอเสนอ กระตุ้นและเร่งรัดการลงทุน7ด้าน ระดมปรับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมาตรการภาษี การพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงกฎระเบียบด้านการลงทุนและเร่งรัดให้ได้ข้อสรุปเรื่องการเจรจาเอฟทีเอพร้อมทำตลาดเชิงรุก


นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการและเลขานุการครม.เศรษฐกิจ เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ(ครม.เศรษฐกิจ) วันนี้ (6 ก.ย.62) เห็นชอบแพคเกจเร่งรัดการลงทุนและรองรับการย้ายฐานการผลิตสืบเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้าหรือThailand Plus Package 7 ด้าน ดังนี้

1. ด้านสิทธิประโยชน์ให้บีโอไอกำหนดมาตรการสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อเร่งรัดการลงทุน โดยลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 เป็นเวลา 5 ปี เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกติ สำหรับโครงการที่มีเงินลงทุนจริงอย่างน้อย 1,000 ล้านบาท ภายในปี 2564โดยต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปี 2563

2. ด้านการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการของหน่วยงานให้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและประสานงานการลงทุนในลักษณะ One Stop Service โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคแก่นักลงทุน รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ) สามารถอนุมัติโครงการในกลุ่มกิจการที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลทุกขนาดการลงทุนเพื่อตอบสนองนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานโดยเร็ว

3. ด้านบุคลากรให้กำหนดมาตรการการคลังเพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมแรงงาน โดยให้ผู้ประกอบการนำเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่าย Advanced Technology ไปหักลดหย่อนเพิ่มขึ้นระหว่างปี 2562 – 2563 รวมทั้งให้มีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานบุคลากรทักษะสูงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูง โดยสามารถนำค่าจ้างไปหักค่าใช้จ่ายได้ ระหว่างปี 2562 – 2563

นอกจากนี้ในกรณีของโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมและยังมีสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ บีโอไอจะอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมที่เข้าข่ายเป็น Advanced Technology ไปคำนวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เป็นร้อยละ200 รวมทั้งให้บีโอไอและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกันนำเสนอแนวทางและรูปแบบการนำเงินกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ มาใช้สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษาศักยภาพสูง

4. ด้านความสะดวกในการประกอบธุรกิจ(Ease of Doing Business) มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งปรับปรุงบัญชีแนบท้ายตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย นอกจากนี้ยังขอให้บีโอไอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเชื่อมโยงข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมที่ดิน เป็นต้น รวมทั้งให้มีการปรับปรุงกฎระเบียบเรื่องวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญสูง

5. มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเตรียมจัดหาและพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อรองรับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติแต่ละประเทศเป็นการเฉพาะ เช่น เกาหลี จีน ไต้หวัน เป็นต้น

6. ขอให้กระทรวงพาณิชย์เร่งสรุปผลการศึกษาและกระบวนการต่างๆให้ได้ข้อสรุปเรื่องการฟื้น การเจรจาความตกลงการค้าไทย–อียู และการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (CPTPP) ภายในปี 2562 รวมทั้งมอบให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณแก่กระทรวงพาณิชย์ สำหรับกองทุนช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าด้วย

และ7.ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยให้หักเงินลงทุนด้านระบบอัตโนมัติได้เพิ่มขึ้นระหว่างปี 2562 – 2563 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติอันจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่าในด้านการชักจูงการลงทุนนั้น บีโอไอจะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเพื่อจัดทีมบูรณาการโรดโชว์และทำการตลาดเชิงรุกโดยเน้นชักจูงนักลงทุนในประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวันและเกาหลี เป็นต้น

“ประเทศไทยมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับนโยบาย New Southern Policyของเกาหลีใต้ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีน ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาและนโยบายมุ่งตะวันออก (Look East Policy)ของอินเดีย นอกจากนั้นยังมีจุดเด่นในการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงไปยังกลุ่ม ACMECS หรือ CLMVTการออกมาตรการ Thailand Plus ครั้งนี้จะเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการดึงดูดการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่ต้องการย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยมากขึ้น” นางสาวดวงใจกล่าว

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 ก.ย. 2562 เวลา : 15:52:50
03-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.25-32.50บาท/ดอลลาร์

2. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (3 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์

3. ทองเปิดตลาดวันนี้ (3 ก.ค. 68) ปรับลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,050 บาท

4. ตลาดหุ้นเปิดวันนี้ (3 ก.ค.68) ลบ 0.39 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,115.30 จุด

5. ตลาดหุ้นปิด (2 ก.ค.68) บวก 5.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,115.69 จุด

6. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (2 ก.ค.68) ลบ 4.59 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,105.42 จุด

7. MTS Gold คาดราคาทองไทยจะมีแนวรับระยะสั้นที่ 50,800 บาท/บาททองคำ และมีแนวต้านระยะสั้นที่ 51,400 บาท/บาททองคำ

8. พยากรณ์อากาศวันนี้ (2 ก.ค.68) ฝนตกหนักในภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 80% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 70% ภาคใต้ 60%

9. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (1 ก.ค.68) บวก 400.17 จุด รับแรงหนุนหุ้นกลุ่มที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจ

10. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (1 ก.ค.68) พุ่ง 42.10 ดอลลาร์ แห่ซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย หลังสภาผ่านร่างกฎหมายภาษีทรัมป์ดันหนี้สาธารณะพุ่ง

11. ทองเปิดตลาดวันนี้ (2 ก.ค. 68) ลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,050 บาท

12. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (2 ก.ค.68) บวก 2.11 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,122.22 จุด

13. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (2 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.46 บาทต่อดอลลาร์

14. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.60 บาท/ดอลลาร์

15. พรุ่งนี้ (2 ก.ค. 68) น้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอลล์ลดราคา 30 สต./ลิตร

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 3, 2025, 11:12 am