หุ้นทอง
หนี้"บ้าน-รถ-ห่วงรัก"ไม่ควรมีก่อนเกษียณ


สำหรับ“หนี้”คำนี้ไม่มีใครอยากทำความรู้จักและให้ความสนิทสนม โดยเฉพาะถ้ามีอายุเข้าสู่วัยที่ใกล้พักผ่อนเต็มที


ทั้งนี้“หนี้”คือการนำรายได้ในอนาคตมาใช้ในปัจจุบันแล้วถ้าในอนาคตอันใกล้รายได้ลดหรือหยุดลงเนื่องจากเกษียณอายุ ชีวิตหลังจากนั้น“หนี้”คงเป็นปัญหาใหญ่แน่นอนเพราะใช้เงินในอนาคตหมดไปกับการก่อหนี้

ดังนั้นวันนี้มิสเตอร์ตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับคำแนะนำจาก คุณจิดาภา สีม่วง CFP® นักวางแผนการเงินสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ชวนมาสำรวจตัวเองกันว่า ถ้าจะเกษียณ“หนี้”อะไรที่ควรพกพาหรือไม่ควรมีหลังเกษียณ เพื่อไม่ต้องเป็นกังวลไปตลอดว่า “คิดจะพัก คิดถึงภาระ”

หนี้ระยะสั้นหมายถึงหนี้ที่มีอายุชำระคืนไม่เกิน 1 ปี

สำหรับบัตรเครดิตสามารถใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าและบริการต้องระวัง ถ้าใช้แล้วไม่สามารถชำระคืน 100%ของยอดที่ใช้ไปหรือเลือกชำระขั้นต่ำ10% เมื่อถึงกำหนดชำระคืน ดอกเบี้ยจะอยู่ในอัตราที่สูงมากถึง 19-22% คิดจากเงินต้นที่ใช้ไป สินค้าบางอย่างจัดโปรโมชั่นในการผ่อนชำระคืนเป็นรายงวดในอัตราดอกเบี้ย 0% เพื่อดึงดูดให้ตัดสินใจง่ายขึ้นในการซื้อสินค้า

ดังนั้นสติและวินัยทางการเงินที่ดีเท่านั้นที่จะช่วยไม่ให้เป็นหนี้ที่เกิดจากความต้องการ

สินเชื่อบุคคลวงเงินฉุกเฉินดอกเบี้ย 1-2% ต่อเดือน ไม่รวมค่าธรรมเนียมการเบิกเงินแล้วแต่วงเงินที่อนุมัติของธนาคารและการผ่อนชำระต่องวด สบายตอนใช้ หนักใจตอนคืน

จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบัน พบว่าหนี้สินระยะสั้นทำให้คนไทยเป็นหนี้เร็วตั้งแต่อายุน้อย ในกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุ 29 ปีจะเป็นหนี้เสีย NPL ถึง1ใน5คน สัดส่วนของปริมาณหนี้ต่อคนเพิ่มขึ้นและแม้เข้าสู่วัยใกล้เกษียณ ยังต้องแบกภาระหนี้กันต่อไป ซึ่งหนี้ระยะสั้นนี้อาจเป็นหนี้ที่ดูแล้วเล็กน้อย แต่ภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงของการปล่อยกู้ทำให้ดอกเบี้ยสูงมาก ดังนั้นคนไทยจึงอยู่ในยุค“หนี้เร็ว หนี้เยอะ หนี้นาน”

หนี้ระยะยาวหมายถึง หนี้ที่มีอายุชำระคืนมากกว่า 1 ปี

หนี้บ้านเพื่ออยู่อาศัยส่วนใหญ่ภาระการผ่อนจะจบพร้อมอายุเกษียณคือ 60 ปี ขยายได้ถึง 65 ปี ซึ่งบ้านเป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่มูลค่าจะเพิ่มขึ้นตลอดตามความเจริญของทำเลที่ซื้อ

หนี้รถยนต์เพื่อความสะดวกในการเดินทาง ระยะเวลาในการผ่อนชำระส่วนใหญ่จบก่อนเกษียณอายุแต่ดอกเบี้ยไม่ลดตามเงินต้นที่ลดลงและมูลค่าของรถยนต์ลดลงเรื่อยๆ

หนี้ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวทำให้เกษียณอายุได้ช้าลงเพราะยังจำเป็นต้องหารายได้มาชำระหนี้ คงไม่มีใครอยากเกษียณแล้วส่งต่อหนี้สินให้เป็นมรดกลูกหลาน ต้องพยายาม“ปลดหนี้ให้หมด ก่อนปลดประจำการ”คือเป้าหมายสำคัญที่ต้องจัดการให้สำเร็จ

หนี้ห่วงรัก หนี้ประเภทนี้เป็นหนี้ที่เกิดจากความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก แม้ว่าลูกจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ตราบที่ลูกยังไม่ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต มีหน้าที่การงานที่มั่นคงมีครอบครัวที่อยู่ดี มีสุข หนี้ห่วงรักนี้ก็จะไม่มีทางหมดไปได้ ความกังวลและไม่สบายใจมีผลสืบเนื่องถึงสุขภาพ เมื่อมีอายุมากขึ้นด้วย “จิตปล่อยวาง” คือหนทางแห่งการปลดหนี้ประเภทนี้

เมื่อสำรวจแล้วว่ามีหนี้อะไรอยู่บ้าง เปรียบเทียบกับอายุที่เหลือในการหารายได้ก็จะสามารถประเมินสถานการณ์ได้แล้วว่า หนี้อะไรที่ไม่ควรมีก่อนเกษียณ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 ก.ย. 2562 เวลา : 17:58:28
02-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. พรุ่งนี้ (2 ก.ค. 68) น้ำมันเบนซิน-แก๊สโซฮอลล์ลดราคา 30 สต./ลิตร

2. ประกาศ กปน.: 3 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนทางหลวงหมายเลข 345

3. ตลาดหุ้นปิด (1 ก.ค.68) บวก 20.45 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,110.01 จุด

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (1 ก.ค.68) บวก 2.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,092.13 จุด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 3,300 เหรียญ และมีแนวต้านสำคัญที่ระดับ 3,350 เหรียญ

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (30 มิ.ย.68) บวก 275.50 จุด ขานรับสหรัฐทำข้อตกลงทางการค้ากับจีนและสหราชอาณาจักรคืบหน้า

7. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (30 มิ.ย.68) บวก 20.10 เหรียญ อานิสงส์ดอลลาร์อ่อนค่า

8. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (1 ก.ค.68) บวก 5.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,094.91 จุด

9. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.55 บาท/ดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (1 ก.ค.68) ปรับขึ้น 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,750 บาท

11. พยากรณ์อากาศวันนี้ (1 ก.ค.68) "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคตะวันออก" ฝนตกหนัก 70% ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 40%

12. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (1 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.41 บาทต่อดอลลาร์

13. ตลาดหุ้นปิด (30 มิ.ย.68) บวก 7.14 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,089.56 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (30 มิ.ย.68) บวก 3.19 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,085.61 จุด

15. MTS Gold คาดจะมีแนวรับที่ระดับ 3,250 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,300 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 2, 2025, 9:41 am