หุ้นทอง
รับมือ"ภัยธรรมชาติ"อย่างไร ไม่ให้คุณบาดเจ็บ"ออมเงินฉุกเฉิน-ซื้อประกัน"รับเสี่ยงแทน


ปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเริ่มทวีความรุนแรงและสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทยและประชาชนเป็นอย่างมาก ล่าสุด น้ำท่วมหนักที่ภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งภัยธรรมชาติเหล่านี้มักเกิดขึ้นแบบฉับพลัน จนคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และมักทิ้งร่องรอยความเสียหายไว้ให้คุณต้องฟื้นฟูหลังน้ำลด พร้อมกับภาระก้อนโต


วันนี้ มิสเตอร์ตลาดหลักทรัพย์ฯและคุณปิยาภรณ์ ครองจันทร์ขอแนะนำหลังจากคุณเผชิญปัญหาดังกล่าวแล้วและต้องผ่านพ้นวิกฤติที่เกิดขึ้นนี้ไปให้ได้คุณต้องมี 2 ส. ที่ควรตระหนัก คือ “ส.สติ” นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ และอีก ส. หนึ่งคือ “ส.สตางค์”
 

 
 
ดังนั้นมาดู “3 ขั้นตอน ปฐมพยาบาล ทางการเงินหลังภัยน้ำท่วม”ดังนี้
1.ประเมินความเสียหายของทรัพย์สิน สำรวจความเสียหายและประมาณการค่าใช้จ่าย เริ่มต้นสำรวจทรัพย์สินที่ถูกน้ำท่วมว่ามีสิ่งใดที่เสียหายต้องซ่อมแซมหรือซื้อใหม่มาทดแทน และประเมินความเสียหายและค่าใช้จ่าย ตรวจสอบการทำประกันภัยบ้านและรถยนต์ ว่าได้ทำไว้หรือไม่ ถ้าทำไว้ครอบคลุมความเสียหายจากน้ำท่วมมั้ย เพื่อจะได้รู้ว่าคุณต้องจ่ายเงินเพื่อจัดการความเสียหายทั้งหมดเองหรือมีบริษัทประกันรับผิดชอบแทนคุณ
ทั้งนี้การจะได้รับความคุ้มครองจากน้ำท่วมบ้านนั้น “ประกันอัคคีภัยบ้าน” ซึ่งเป็นประกันภัยหลักที่ทำไว้ต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติมเพื่อครอบคลุม “ภัยน้ำท่วม”

สำหรับ"รถยนต์"จะได้รับความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วม เฉพาะประกันชั้น 1” ไม่ว่าจะเป็นประกันชั้น 1 ปกติ หรือ ประกันชั้น 1 แบบประหยัด ที่มีค่ารับผิดส่วนแรก ส่วนประกันประเภทอื่นๆจะไม่ได้รับความคุ้มครอง

"บ้าน"การสำรวจและประเมินค่าใช้จ่าย เช่น บ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยที่ถูกน้ำท่วมไม่เกิน 100 ตารางเมตร น้ำท่วมสูงไม่เกิน 70 เซนติเมตรและโครงสร้างบ้านไม่ได้เกิดความเสียหาย ค่าใช้จ่ายการซ่อมแซมบ้าน 5,000-50,000 บาท และหากเลือกใช้บริการทำความสะอาดบ้านจากมืออาชีพมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นอีก 6,000-10,000 บาท

รถยนต์การสำรวจและประเมินค่าใช้จ่าย เช่น หากน้ำท่วมไม่มากแค่ถึงระดับพรมหรือเบาะนั่ง ค่าซ่อมจะอยู่ที่ประมาณหลักพันถึงหลักหมื่น แต่ถ้าน้ำท่วมถึงส่วนล่าง หรือต่ำกว่าแผงหน้าปัด โดยไม่ได้ถอดขั้วแบตเตอรี่หรือถอดกล่องอีซียูที่ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญและมีราคาสูงก็จะทำให้ค่าซ่อมขยับขึ้นไปสูงถึงหลักแสนบาท

 
 
 
จัดกลุ่มค่าใช้จ่ายเพื่อเรียงลำดับความสำคัญ เพื่อจะได้จัดสรรเงินที่มีอยู่ให้เหมาะสมเพราะหากเงินของคุณมีจำกัดจะได้ตัดรายการที่ไม่จำเป็นและไม่เร่งด่วนออกไปก่อน โดยแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. รายการที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อให้บ้านของคุณกลับมาอยู่อาศัยได้เหมือนเดิมอย่างปลอดภัย ได้แก่ การทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด การซ่อมแซมฐานราก โครงสร้างและตัวบ้าน การตรวจสอบและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าและประปาให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน
2. รายการที่จำเป็นแต่ไม่เร่งด่วน คือสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น การซ่อมแซม ซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ การซ่อมรถยนต์ การปลูกและฟื้นฟูต้นไม้และสวนบริเวณบ้าน รวมถึงการปรับปรุงบ้านเพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. รายการที่ไม่จำเป็นและไม่เร่งด่วน จัดเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันและควรจัดสรรเงินไปใช้จัดการกับสิ่งที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันก่อน เช่น ของตกแต่งบ้าน

2. รักษาอาการด้วย “เงิน เงิน เงิน” ตรวจสอบสถานะการเงิน เช็คความพร้อมของคุณ เมื่อรู้จำนวนเงินที่ต้องใช้แล้ว มาดูว่าสถานะการเงินของคุณ พร้อมขนาดไหนที่จะจัดการกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ถ้าคุณ มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีเงินออมเก็บไว้ในทางเลือกการลงทุนอื่นๆ เช่น กองทุนรวม หุ้น หรือ ทองคำ คุณก็สามารถจัดการกับความเสียหายได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งเงินจากภายนอกเลยหรือหากคุณ มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเก็บเอาไว้บ้างสัก 1-2 เดือน และยังพอจะมีเงินเหลือเก็บที่นำไปลงทุนไว้ในกองทุนรวม หรือ หุ้น อยู่บ้าง ก็คงโล่งใจไปได้ แต่ถ้าเสียหายมากอาจต้องพึ่งพาแหล่งเงินจากภายนอกอีกบางส่วนถ้าคุณไม่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินเลย แถมเงินฝากธนาคาร กองทุนรวม หรือ หุ้น ก็ไม่มีคุณก็ต้องมองหาแหล่งเงินจากภายนอกมาช่วยเยียวยาความเสียหายแทนคุณ
 

 
รักษาอาการด้วย แหล่งเงินของ “คุณเอง-กู้ภายนอก”
เงินที่นำมาใช้จัดการกับความเสียหาย ควรมาจากเงินออมของคุณและเงินชดเชยต่างๆที่คุณได้รับมากกว่าที่จะกู้จากแหล่งเงินภายนอก โดย เงินออม มีไว้ไม่มีเดือดร้อน หรือออมไว้เพื่อเป้าหมายต่างๆ แต่การนำเงินที่เก็บออมเพื่อเป้าหมายอื่นมาใช้ก็จะทำให้คุณต้องลดขนาดเป้าหมาย หรือเลื่อนเวลาบรรลุเป้าหมายนั้นออกไป
หากเงินสดหรือเงินในบัญชีเงินฝากที่มีอยู่ไม่เพียงพอ คุณยังสามารถเปลี่ยนเงินออมที่นำไปลงทุนไว้ในทางเลือกต่างๆ กลับมาเป็นเงินสด เช่น หุ้น หน่วยลงทุนในกองทุนรวม หรือทรัพย์สินมีค่า เช่น ทองคำ และเครื่องประดับ

หากไม่มีเงินออมอยู่เลย หรือมีไม่เพียงพอ แหล่งเงินกู้จากภายนอกจะเป็น “คุณหมอ” ที่มาช่วยรักษาอาการของคุณ ส่วนแหล่งเงินกู้ใดบ้างที่จะช่วยคุณได้ในยามเดือดร้อนแบบนี้ เช่น การกู้ธนาคารของรัฐ เป็นต้น แต่ควรเลือกกู้ให้เหมาะสมกับความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ โดยปกติภาระในการผ่อนชำระไม่ควรเกิน 35-45% ของรายได้รวมต่อเดือน

3.ป้องกันการบาดเจ็บทางการเงินในอนาคต
เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน โดยปกติแล้วที่เหมาะสมอยู่ที่ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน ซึ่งคุณควรเก็บออมเงินก้อนนี้ไว้ในทางเลือกที่ไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยมาก และมีสภาพคล่องสูงเบิกถอนได้ทันทีเมื่อต้องการใช้เงิน ซึ่งมักเก็บเงินก้อนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ หรือกองทุนตลาดเงินที่เบิกถอนและรับเงินได้ในวันทำการถัดไป

การเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ คุณต้องพิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในครั้งนี้ว่า เมื่อเทียบกับเงินสำรองยามฉุกเฉิน 3-6 เท่าแล้วนั้น “น้อยเกินไปหรือไม่” หากไม่เพียงพอควรเก็บ “เงินสำรองเพิ่มเติม” ไว้อีกก้อนหนึ่ง แต่ภัยพิบัติไม่ได้เกิดขึ้นกันบ่อยๆคุณอาจเลือกออมเงินก้อนนี้ไว้ในทางเลือกที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นอีกนิด แต่มีสภาพคล่องที่สูงอยู่ เพื่อให้เงินก้อนนี้สร้างผลตอบแทนให้เงินออมของคุณได้สูงขึ้น

ประกันภัยบ้านและรถยนต์
โดยคุณควรทำประกันภัยบ้านและรถยนต์ ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยอัคคีภัยบ้าน ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับประกันภัยประเภทอื่นและได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมทั้งสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมรากฐาน) และทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้าง และยังมี “ประกันภัยอัคคีภัยบ้านแบบประหยัด” ที่ซื้อประกันคุ้มครองภัยธรรมชาติเพิ่มเติม โดยจ่ายเบี้ยรวมแล้วไม่ถึง 1,000 บาท เพื่อทำประกันภัยรถยนต์ “กรมธรรม์ประเภท 1 หรือ ประกันชั้น 1” จะได้รับความคุ้มครองความเสียหายจากน้ำท่วมทั้งกรณีที่เสียหาย แต่ไม่ถึงเสียหายสิ้นเชิง และเสียหายสิ้นเชิง จนไม่อาจซ่อมให้อยู่สภาพเดิมได้

ถ้าคุณไม่ได้ทำประกันภัยบ้านหรือรถยนต์เอาไว้ หรือประกันที่ทำอยู่ไม่ครอบคลุมถึงภัยน้ำท่วม ถึงเวลาที่ต้องมาชั่งน้ำหนักเเทียบดูว่า จะเลือกรับความเสี่ยงภัยไว้เอง หรือโอนความเสี่ยงภัยไปให้กับบริษัทประกันรับแทนคุณ แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน หากมีภัยพิบัติเกิดขึ้นอีกในอนาคต
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 05 พ.ย. 2562 เวลา : 21:52:28
05-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (4 ก.ค.2568) ลบ 7.27 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,119.94 จุด

2. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 3,320 เหรียญ และ แนวต้านอยู่ที่ระดับ 3,350 เหรียญ

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (4 ก.ค.68) ลบ 3.23 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,123.96 จุด

4. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (3 ก.ค.68) บวก 344.11 จุด ขานรับตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรแข็งแกร่งเกินคาด

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.60 บาท/ดอลลาร์

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (3 ก.ค.68) ลบ 16.80 เหรียญ กังวลเฟดชะลอลดดอกเบี้ย หลังจ้างงานแกร่งเกินคาด

7. พยากรณ์อากาศวันนี้ (4 ก.ค.68) "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนตกหนัก 70% ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 30-40%

8. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (4 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.43 บาทต่อดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (4 ก.ค. 68) ลดลง 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,000 บาท

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (4 ก.ค.68) บวก 0.56 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.77 จุด

11. ประกาศ กปน.: 19 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี

12. ตลาดหุ้นปิด (3 ก.ค.68) บวก 11.52 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.21 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (3 ก.ค.68) บวก 3.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,119.36 จุด

14. พยากรณ์อากาศวันนี้ (3 ก.ค.68) ภาคตะวันออก ฝนตกหนัก 80% กรุงเทพปริมณฑล และภาคอื่น 70% เว้นภาคใต้ 60%

15. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (2 ก.ค.68) ลบ 10.52 จุด กังวลจ้างงานภาคเอกชนลดลง

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 5, 2025, 11:40 pm