เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
กรุงไทยแนะใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร ลดต้นทุนและเพิ่มยอดขายในธุรกิจอาหารโดยเฉพาะSMEs


Krungthai COMPASS แนะใช้เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มและความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจอาหาร โดยเฉพาะ Active Packaging ซึ่งเป็นเทรนด์บรรจุภัณฑ์อาหารแห่งอนาคต ที่ช่วยยืดการเก็บรักษาอาหาร เพื่อคงคุณภาพทั้งด้านสี รสชาติ คุณค่าอาหารและความปลอดภัย รวมทั้งลดต้นทุนจากการสูญเสียของอาหารตั้งแต่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรจนก่อนถึงมือผู้บริโภคที่สูงถึง 1.88 แสนล้านบาทต่อปี และยังช่วยให้เพิ่มยอดขายในตลาดที่อยู่ห่างไกลและตลาดออนไลน์ได้ง่ายขึ้น


 
 
 
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจอาหารทวีความรุนแรงมากขึ้น สำหรับประเทศไทยซึ่งวางบทบาทเป็นครัวของโลก จำเป็นต้องเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องของบรรจุภัณฑ์อาหารที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจอาหาร และจากการทำบทวิจัยเรื่อง “Active Packaging ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร” พบว่า Active Packaging ซึ่งเป็นเทรนด์บรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจของผู้ประกอบการ SME เพราะนอกจากทำหน้าที่บรรจุภัณฑ์แล้ว ยังช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร คงคุณภาพทั้งในด้านสี รสชาติ คุณค่าทางอาหาร รวมทั้งความปลอดภัยของอาหารให้นานขึ้น
 
ดังนั้นจึงช่วยตอบโจทย์เรื่องการสูญเสียในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่าการสูญเสีย 30% หรือกว่า 188,000 ล้านบาท ช่วยรับมือกับความท้าทายในยุคอาหาร Clean Label ซึ่งไม่ใช้สารสังเคราะห์ในการแต่งเติมและสารกันบูด อีกทั้งช่วยเพิ่มยอดขายในตลาดที่อยู่ห่างไกล รวมทั้งขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดออนไลน์ ในกลุ่ม E-grocery และ Food Delivery เพื่อรองรับตลาด E-Commerce ที่กำลังเติบโต

“Active Packaging เหมาะกับผู้ประกอบการที่ยังมีอายุการเก็บรักษาของอาหารสั้นกว่ามาตรฐาน จนเกิดปัญหาต้นทุนจากการสูญเสียและการคืนสินค้าเนื่องจากผลิตภัณฑ์เน่าเสียก่อนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้ คือ การผสมเป็นส่วนหนึ่งของวัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ เช่น การใช้ฟิล์มที่เคลือบสารต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือฟิล์มที่ช่วยดัดแปลงสภาวะบรรยากาศภายในบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท ซึ่งต้องพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนให้เหมาะกับอาหารแต่ละประเภท ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เช่น ประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกกล้วยรายใหญ่อันดับ 1 ของโลกมูลค่าการส่งออกกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ใช้บรรจุภัณฑ์ Active Packaging ที่ช่วยดูดซับก๊าซที่เป็นสาเหตุทำให้ผลไม้เน่าเสียเร็ว ส่งผลให้ยืดอายุความสดของกล้วยนานถึง 70 วัน ทำให้สามารถส่งออกไปได้ไกลกว่าค่าเฉลี่ยระยะทางในการส่งออกกล้วยในตลาดโลกถึง 2 เท่า”

นายอภินันทร์ สู่ประเสริฐ รองผู้อำนวยการฝ่าย ผู้ร่วมทำวิจัยกล่าวเสริมว่า ในการเตรียมตัวเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Active Packaging ผู้ประกอบการควรทำความรู้จักและเป็น Partnership กับหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในการช่วยทำ R&D เพื่อลดความเสี่ยงในการทำ R&D เอง และช่วยให้สามารถใช้เทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ได้แก่ หน่วยงานวิจัยจากภาครัฐหรือสถาบันการศึกษา เช่น ภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งผู้ผลิตและจำหน่าย Packaging Technology ซึ่งในไทยมีหลายรายที่มีความรู้และสามารถช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการได้

“อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เทคโนโลยี Active Packaging ควรเริ่มจากการศึกษาลักษณะของผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นเป้าหมายว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นลง เพื่อเลือกใช้ Active Packaging Solution อย่างเหมาะสม ที่สำคัญต้องไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนหรือสารตกค้าง รวมทั้งทำให้รสชาติ สี กลิ่น และสารอาหารเปลี่ยนไป โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ ธัญพืช นม ขนมปัง ขนมอบ เค้ก คุกกี้ ไปจนถึงอาหารปรุงสำเร็จพร้อมรับประทาน ซึ่งในไทยสินค้ากลุ่มนี้มีมูลค่าตลาดถึง 3.67 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของมูลค่าสินค้าอาหารทั้งหมด โดยเป็นผู้ประกอบการ SME กว่า 30% หรือประมาณ 1.1 แสนล้านบาท”

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 พ.ย. 2562 เวลา : 13:16:25
11-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 17 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนศรีนครินทร์ตัดถนนหนามแดง-บางพลี

2. ประกาศ กปน.: 19 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประเสริฐมนูกิจ

3. ตลาดหุ้นปิด (9 ก.ค.68) ลบ 5.25 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,110.40 จุด

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 ก.ค.68) ลบ 4.05 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.60 จุด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,290 เหรียญ และ 3,340 เหรียญ

6. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 ก.ค.68) ลดลง 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,800 บาท

7. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 ก.ค.68) บวก 0.60 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,116.25 จุด

8. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 ก.ค.68) ร่วง 25.90 เหรียญ เหตุบอนด์ยีลด์พุ่ง-ดอลลาร์แข็งค่า

9. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 ก.ค.68) ร่วง 165.60 จุด ทรัมป์ไม่ขยายเส้นตายรีดภาษีการค้า 1 ส.ค.

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.57 บาทต่อดอลลาร์

11. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.75บาท/ดอลลาร์

12. พยากรณ์อากาศวันนี้ (9 ก.ค.68) ฝนตกหนักในภาคตะวันออก 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 40-60%

13. ประกาศ กปน.: 12 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

14. ตลาดหุ้นปิด (8 ก.ค.68) ลบ 7.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,115.65 จุด

15. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,300 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,350 เหรียญ ยังคงแนะนำให้ทำกำไรในกรอบแคบ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 11, 2025, 6:26 am