แบงก์-นอนแบงก์
"กลุ่มธนชาต"อาณาจักรแห่งความแข็งแกร่ง


หากเอ่ยชื่อ “ธนชาต”คนส่วนใหญ่จะนึกไปถึงธนาคารธนชาต ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ ซึ่งกำลังจะรวมกิจการกับธนาคารทีเอ็มบี กลายเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมีสินทรัพย์รวมแตะ 2 ล้านล้านบาท ให้บริการลูกค้ากว่า 10 ล้านราย


การนำธนาคารธนชาตไปรวมกิจการกับทีเอ็มบีถือเป็นกลยุทธ์เหนือชั้นของ บมจ.ทุนธนชาต หรือ TCAP ซึ่งเป็น Financial Holding Company ชั้นนำของไทย ที่ใช้เพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นอย่างมั่นคงในระยะยาว โดย TCAP จะได้รับประโยชน์และส่วนแบ่งจากการเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารหลังการรวมกิจการที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีศักยภาพในการเติบโตและทำกำไรได้มากขึ้นในอนาคต

ธนชาตเล็งเห็นศักยภาพของการรวมกิจการ
การรวมกิจการครั้งนี้ TCAP เล็งเห็นศักยภาพและจุดแข็งจากทั้งสองธนาคาร ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เกือบเท่าตัว มีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท มีโครงสร้างทางธุรกิจและความชำนาญซึ่งเสริมรับซึ่งกันและกัน ธนาคารใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมกันของทั้ง 2 ธนาคาร ก็จะเป็นธนาคารที่มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเป็นประมาณ10 ล้านคน มีความทับซ้อนกันไม่ถึง 10% ซึ่งถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่ใหญ่ขึ้น กว้างขวางขึ้น มีโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นจากความเก่งของทั้ง 2 ธนาคารที่จะรวมกัน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกฐานลูกค้าทั่วประเทศ ทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนทางธุรกิจที่สูงขึ้น เป็นประโยชน์ทั้งผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน รวมถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม

ดึงจุดแข็ง 2 ธนาคาร มอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า
การรวมกิจการเป็นธนาคารใหม่ครั้งนี้จะนำไปสู่การยกระดับการให้บริการที่ครอบคลุมทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทุกกลุ่มลูกค้าที่จะได้รับประโยชน์และการให้บริการที่ดีที่สุด เนื่องจากมีการผนึกกำลังความเชี่ยวชาญ และจุดแข็งที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะธนาคารธนชาตที่เป็นผู้นำอันดับหนึ่งในธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ และทีเอ็มบีซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการระดมเงินฝาก ส่งผลให้การบริหารจัดการต้นทุนในการทำธุรกิจเกิดประสิทธิภาพรวมถึงโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้นจากฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย

ธนชาตไม่ได้มีดีแค่ธนาคาร
ศักยภาพของกลุ่มธนชาตที่มี ทุนธนชาต (TCAP) เป็นบริษัทแม่ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงธุรกิจธนาคารพาณิชย์เท่านั้น ยังมีบริษัทลูกอีกหลายบริษัทที่ธุรกิจมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลมายังความสามารถในการทำกำไรที่ยั่งยืนให้กับ TCAP

เมื่อดูถึงผลประกอบการ TCAP มีผลการดำเนินงานจากธนาคารธนชาตและในบริษัทย่อย โดยในปี 2561 TCAP และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม จํานวน 15,806 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ขณะที่กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของ TCAP มีจำนวน 7,839 ล้านบาท เติบโต 11.97% จากปีก่อนหน้า

ในขณะที่ผลประกอบการล่าสุดไตรมาส 3 ปี 2562 TCAP และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิตามงบการเงินรวม จำนวน 4,616 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ จำนวน 2,472 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 573 ล้านบาท หรือ 30.17% จากไตรมาสก่อน ในส่วนของงวด 9 เดือน กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทฯ มีจำนวน 6,387 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ของธนาคารธนชาตซึ่งเป็นบริษัทลูกของ TCAP ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) โดยมุ่งเน้นในการเป็นธนาคารหลัก (Main Bank) ของลูกค้า ทำให้ธนาคารธนชาตมีผลการดำเนินงานที่ดีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะไตรมาสนี้ที่ธนาคารฯ สามารถสร้างกำไรสุทธิที่สูงเป็นสถิตินิวไฮได้ด้วย

TCAP แข็งแกร่ง เสริมศักยภาพธนาคารใหม่แข็งแกร่ง
หลังรวมกิจการ (ธ.ธนชาตรวมทีเอ็มบี) TCAP จะถือเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารใหม่นี้ ด้วยสัดส่วนที่มากกว่า 20% และด้วยความแข็งแกร่งของ TCAP จะส่งผลถึงความแข็งแกร่งให้ธนาคารใหม่นี้ ขณะที่โครงสร้างการลงทุนของ TCAP จะมีการปรับเปลี่ยนภายหลังการรวมกิจการของธนาคารใหม่ โดยการลงทุนด้วยการถือหุ้นของ TCAP ในบริษัทต่างๆ จะประกอบด้วย ธนชาตประกันภัย 51% บล.ธนชาต 51 % ราชธานีลิสซิ่ง 65.2% (ถือผ่านนิติบุคคล-SPV) บริษัทบริหารสินทรัพย์ เอ็นเอฟเอส 100%บริษัทบริหารสินทรัพย์ แม็กซ์ 83.4% บริษัทบริหารสินทรัพย์.ทีเอส 100% เอ็มบีเคไลฟ์ประกันชีวิต 51% อีกทั้งยังมีเงินลงทุนในบริษัทร่วม อย่าง เอ็ม บี เค และ ปทุมไรซมิล แอนด์ แกรนารี ในสัดส่วน 19.9% และ 19.6% ตามลำดับ

ดังนั้นผลการดำเนินงานของ TCAP ยังจะคงมีรายได้ที่ดีจากธุรกิจที่หลากหลาย แม้ธนาคารธนชาตไปรวมกิจการกับทีเอ็มบีแล้ว สะท้อนจากผลการดำเนินงานในปี 2561 ที่บริษัทลูกต่างโชว์ผลประกอบที่ดี เช่น ธนชาตประกันภัยมีกำไร 1,042 ล้านบาท ราชธานีลิสซิ่ง มีกำไร 1,641 ล้านบาท บล.ธนชาต มีกำไร 593 ล้านบาท บบส.ทีเอส มีกำไร 237 ล้านบาท บบส.แม๊กซ์ มีกำไร 201 ล้านบาท

MBK 1 ในการลงทุนของ TCAP กับธุรกิจที่กำลังเติบโต
นอกเหนือจากการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเงินแล้ว เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่า TCAP ยังมีการลงทุนในธุรกิจแขนงอื่นๆ ด้วย เช่น ใน บมจ.เอ็ม บี เค ที่ถืออยู่เกือบ 20% MBK เป็น 1 ในบริษัทชั้นนำของประเทศ มีการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ประกอบด้วย ธุรกิจศูนย์การค้า ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว ธุรกิจอาหาร ธุรกิจการเงิน ธุรกิจกอล์ฟ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจอื่นๆ โดยผลประกอบการของ MBK ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีสินทรัพย์รวม 4.9 หมื่นล้านบาท มีกำไร 2,881 ล้านบาท และที่น่าสนใจ MBK ยังถือหุ้นอยู่ใน บริษัทสยามพิวรรธน์ 47.98 % โดยสยามพิวรรธน์ เป็นผู้นำในธุรกิจศูนย์การค้าของประเทศ มีศูนย์การค้าที่เรียกได้ว่าเป็นระดับแลนด์มาร์คของประเทศทั้ง ไอคอนสยาม สยามพารากอน รวมถึง ศูนย์การค้าที่อยู่ในทำเลทอง เช่น สยามดิสคัฟเวอรี สยามเซ็นเตอร์

TCAP รวมขุนพลการเงินของไทย
ภายใต้คณะกรรมการของ TCAP ที่มีวิสัยทัศน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผู้บริหารมากความสามารถที่อยู่ในวงการการเงินการธนาคารมาอย่างยาวนาน นำโดย นายบันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการ นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่นำพาธนชาตสู่การเติบโตอย่างความมั่นคงมาตลอด
กว่า 40 ปี และผ่านพ้นหลายสภาวะวิกฤติการเงินของประเทศมาแล้ว จะยังคงสามารถรักษาให้ธนชาตเป็นบริษัทระดับแถวหน้าของประเทศได้อีกยาวนาน

TCAP ยังคงศักยภาพเติบโตสูง
เมื่อมองในภาพรวมแล้ว TCAP ถือเป็นบริษัทที่มีศักยภาพเติบโตสูง ด้วยปัจจัยสนับสนุนหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในธนาคารธนชาตและบริษัทย่อย การดำเนินธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ Active อย่างต่อเนื่องหรือธุรกิจอื่นๆ ที่ช่วยสร้างกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หากการรวมกิจการระหว่าง ธนาคารธนชาต และ ทีเอ็มบี เสร็จสมบูรณ์ ธนาคารใหม่นี้จะมีความสามารถในการเติบโตทางธุรกิจและสร้างผลกำไรที่ดีขึ้น ซึ่งผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นนี้จะสะท้อนมาสู่ TCAP อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากTCAP เป็น 1 ในผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อผนวกกับผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัทลูก รวมถึงการลงทุนในแขนงอื่นๆ TCAP จึงยังคงมีแนวโน้มที่จะมีผลการดำเนินงานที่ดีและสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 พ.ย. 2562 เวลา : 18:59:15
26-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 เม.ย.67) ลบ 2.25 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.02 จุด

2. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,310 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,350 เหรียญ

3. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

5. ทองปิดบวก $4.10 รับดอลล์อ่อน-แรงซื้อลดความเสี่ยง

6. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 เม.ย.67) บวก 0.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.95 จุด

7. ดาวโจนส์ปิดร่วง 375.12 จุดหลัง GDP สหรัฐชะลอตัว - เงินเฟ้อพุ่ง

8. ทองพุ่ง! ราคาทองวันนี้ 26/4/67 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองคำแท่งขายออกบาทละ 40,850 บาท

9. ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส ฟ้าหลัว ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และลมกระโชกแรงตลอดช่วง

10. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

11. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

12. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

13. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

14. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

15. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 3:13 pm