เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
EXIM BANK ส่องการส่งออกของไทย...ในวันที่ COVID-19 เข้าขั้นวิกฤต


ฝ่ายวิจัยธุรกิจธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ระบุว่าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลกและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง จนทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจโลกปี 2563 อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) อีกครั้งในรอบกว่า 10 ปีนับตั้งแต่วิกฤต Hamburger ซึ่งแน่นอนว่าเศรษฐกิจไทยเองก็จะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว การบริโภคและการลงทุน

รวมถึงการส่งออกซึ่งเป็นเครื่องยนต์ใหญ่ที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศตัวเลขการส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ออกมาหดตัว 4.5% ดีกว่าที่หลายฝ่ายคาด โดยนอกจากจะได้อานิสงส์จากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึง 180% แล้ว มีข้อสังเกตว่าตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในสัดส่วนสูงทั้งจีน EU สหรัฐฯ ตะวันออกกลาง เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็นเกือบ 50% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทยหดตัวน้อยกว่าที่คาด โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้  




• ตลาดจีน หดตัว 2% เนื่องจากการส่งออกสินค้าบางส่วนได้รับผลกระทบจาก COVID-19 โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้สดและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่หดตัวสูงจากการปิดด่าน/ปิดท่าเรือ ขณะเดียวกันสินค้าที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันก็หดตัวต่อเนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลง อย่างไรก็ตาม การหดตัวดังกล่าวเป็นการหดตัวที่น้อยกว่าที่หลายฝ่ายคาด (หลายฝ่ายคาดว่าการส่งออกไปจีนอาจหดตัวสูงจากการที่จีนมีการปิดเมืองในหลายเมือง ซึ่งอาจกระทบกำลังซื้อและ Supply Chain) เนื่องจากได้ปัจจัยสนับสนุนจากสงครามการค้าที่ผ่อนคลายลง ทำให้สินค้าที่เคยถูกกดดันจากปัจจัยดังกล่าวกลับมาขยายตัวดี อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และเครื่องยนต์สันดาปฯ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น
 
• ตลาด EU ขยายตัว 1.2% โดยเฉพาะตลาดอิตาลีและเยอรมนีที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเร่งตัวขึ้นมากยังขยายตัวได้เล็กน้อย จากเครื่องปรับอากาศและเครื่องยนต์สันดาปที่ขยายตัวสูง ทั้งนี้ การที่ตัวเลขการส่งออกของไทยไปตลาด EU โดยรวมยังขยายตัว อาจเป็นเพราะในเดือนกุมภาพันธ์ยังไม่เกิด Super Spread ในยุโรป ทำให้หากจะดูผลกระทบจาก COVID-19 ในตลาดยุโรป อาจต้องรอประเมินตัวเลขส่งออกเดือนมีนาคมอีกครั้ง (ตลาดสเปนหดตัว 3.3% จากการส่งออกเครื่องปรับอากาศและรถจักรยานยนต์เป็นหลัก)
 
• ตลาดสหรัฐฯ หดตัวถึง 37% เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อนจากการส่งออกอาวุธกลับหลังจากมีการฝึก Cobra Gold อย่างไรก็ตาม หากหักอาวุธออก จะพบว่าตลาดสหรัฐฯ กลับมาขยายตัวถึง 18.3% จากปัจจัยสนับสนุนเดิมที่หลายสินค้าของไทยเข้าไปแทนที่สินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ ได้มากขึ้นจากสงครามการค้า อาทิ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เครื่องประดับ เหล็ก เป็นต้น
 
• ตลาดเกาหลีใต้ หดตัวเพียง 1.5% สวนทางกับยอดผู้ติดเชื้อของเกาหลีใต้ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เร่งตัวขึ้นเร็วที่สุดในโลก แต่เนื่องจากเกาหลีใต้มีมาตรการเด็ดขาดและมีประสิทธิภาพทำให้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยสินค้าที่ช่วยประคองให้ตลาดเกาหลีใต้ไม่หดตัวมาก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น
 
• ตลาดญี่ปุ่น หดตัวถึง 11.1% สูงสุดเมื่อเทียบตลาดที่มีผู้ติดเชื้ออันดับต้น ๆ ของโลก โดยสินค้าที่กดดันการส่งออกไทยไปญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ยังเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก อาทิ รถยนต์ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นโดยรวมที่ชะลอลงมาตั้งแต่ช่วงก่อนเกิด COVID-19 อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหารซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตยังขยายตัวได้ โดยเฉพาะไก่แปรรูป ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรอันดับ 1 ของไทยไปญี่ปุ่น
 
• ตลาดอิหร่านขยายตัวถึง 25.9% จากการส่งออกยางพารา รถยนต์ ผลไม้กระป๋องที่ยังขยายตัวได้สูง เช่นเดียวกับตลาดตะวันออกกลางโดยรวมก็ยังขยายตัวได้ถึง 16.4% โดยตัวเลขการส่งออกไปภูมิภาคดังกล่าวที่ยังขยายตัวสูงอาจยังไม่ได้สะท้อนผลกระทบจาก COVID-19 มากนัก เนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อในตะวันออกกลางเริ่มเร่งตัวขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้อาจต้องพิจารณาตัวเลขการส่งออกเดือนมีนาคมอีกครั้ง โดยเฉพาะในตลาดส่งออกหลักในภูมิภาคทั้งซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อิสราเอล เป็นต้น ที่มียอดผู้ติดเชื้อเร่งขึ้นสูง

แม้ว่าการส่งออกของไทยโดยรวมในช่วง 2 เดือนแรกปี 2563 จะหดตัวเพียง 0.8% ดีกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญทั้งเกาหลีใต้ (-1.1%) สิงคโปร์ (-2.9%) ญี่ปุ่น (-1.7%) เป็นต้น แต่การส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปี 2563 ยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงอยู่มาก โดยเฉพาะสถานการณ์ COVID-19 ที่ไม่มีใครทราบว่าจะยุติลงเมื่อใดและยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ชัดเจน แต่ตัวเลขส่งออกในช่วงที่ผ่านมาก็สะท้อนได้บางส่วนว่า การส่งออกของไทย มีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าอดีต จากการมีสินค้าที่หลากหลายและการกระจายตลาดส่งออกที่ดี
 

LastUpdate 24/03/2563 11:20:36 โดย : Admin
15-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 16 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเจริญกรุงตัดถนนสาทรใต้

2. ตลาดหุ้นปิด (14 ก.ค.68) บวก 22.18 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,143.31 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะเคลื่อนไหวระหว่างแนวรับที่ระดับ 3,345 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,385 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (14 ก.ค.68) บวก 10.78 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,131.91 จุด

5. พยากรณ์อากาศวันนี้ (14 ก.ค.68) กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก ฝนฟ้าคะนอง 60% ภาคกลาง 40% ภาคใต้ 40-60%

6. กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.10-32.80 ติดตามสงครามการค้าและเงินเฟ้อสหรัฐฯ

7. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.30-32.55 บาท/ดอลลาร์

8. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (14 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.38 บาทต่อดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (14 ก.ค. 68) ปรับขึ้น 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,300 บาท

10. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (14 ก.ค.68) บวก 5.21 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,126.34 จุด

11. ตลาดหุ้นไทยปิด (11 ก.ค.68) บวก 10.73 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,121.13 จุด

12. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (10 ก.ค.68) บวก 192.34 จุด รับข้อมูลแรงงานสดใส

13. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (10 ก.ค.68) บวก 4.70 เหรียญ กังวลภาษีทรัมป์แห่ซื้อทองสินทรัพย์ปลอดภัย

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (11 ก.ค.68) บวก 17.31 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.71 จุด

15. พยากรณ์อากาศวันนี้ (11 ก.ค.68) ภาคเหนือ ฝนตกหนัก 80% ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 40%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 15, 2025, 5:06 am