แบงก์-นอนแบงก์
SCBS CIO วิเคราะห์เจาะลึกประเด็นการลงทุน : จับตาความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 และการแพร่ระบาดของโควิด-19


ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-20 พ.ย.) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับลดลง โดยในช่วงแรกดัชนีฯปรับเพิ่มขึ้นขานรับความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัท Moderna อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯลดช่วงบวก และปิดลบ หลังยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ เดือน ต.ค.ขยายตัวน้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน และแย่กว่าที่ตลาดคาด รวมทั้ง ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ ด้านตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก ขานรับข่าวดีเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัท Moderna และ Pfizer ซึ่งทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจยุโรปจะสามารถฟื้นตัวได้ในอัตราที่เร็วขึ้น รวมทั้ง ยังขานรับความหวังเกี่ยวกับการทำข้อตกลงการค้าหลัง Brexit ระหว่างอังกฤษ และสหภาพยุโรป สำหรับตลาดหุ้นจีน (A-Share) ปรับเพิ่มขึ้น หลังทางการจีนระบุว่า จะกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ในขณะที่ ธนาคารกลางจีน ได้คงอัตราดอกเบี้ยเงิน LPR ประเภท 1 ปี และประเภท 5 ปี เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ด้านตลาดหุ้นไทยปิดบวก โดยได้รับ Sentiment เชิงบวก จากการที่มาตรการดูแลค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ได้เข้มงวดในการสกัดเงินทุนไหลเข้ามากเท่าที่ตลาดคาด นอกจากนี้ ดัชนีฯยังได้แรงหนุนจาก GDP ในไตรมาสที่ 3 ของไทยดีกว่าที่ตลาดคาด และ S&P Global Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยที่ BBB+ ส่วนราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น จากการคาดการณ์ที่ว่า กลุ่มโอเปกพลัส จะชะลอแผนการเพิ่มการผลิตน้ำมัน รวมทั้ง ขานรับการที่แท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯที่มีการใช้งาน มีจำนวนลดลง

 


มุมมองของเราในสัปดาห์นี้
 
ในสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นโลกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยได้รับ Sentiment ในเชิงบวก จากทิศทางการเมืองในสหรัฐฯที่มีความชัดเจนมากขึ้น หลังคณะกรรมการเลือกตั้งรัฐจอร์เจียยืนยันว่า นายไบเดน ชนะประธานาธิบดีทรัมป์ ในรัฐจอร์เจีย และส่งผลให้นายไบเดนมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้งเหนือประธานาธิบดีทรัมป์ 306 เสียง ต่อ 232 เสียง นอกจากนี้ ตลาดฯยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสัญญาณความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนและยาต้านโควิด-19 หลังองค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุญาตให้ใช้การบำบัดด้วยแอนติบอดี้โควิด-19 ของบริษัท Regeneron ในกรณีฉุกเฉิน และบริษัท AstraZeneca ได้เปิดเผยผลการวิเคราะห์เบื้องต้นบ่งชี้ว่า วัคซีนโควิด-19 ซึ่งบริษัทได้พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัย Oxford มีประสิทธิภาพ 70% ในการป้องกันโควิด-19 รวมทั้ง ตลาดฯยังมีแนวโน้มได้แรงหนุนจากรายงานการประชุมธนาคารกลางของสหรัฐฯ (Fed) ที่อาจให้สัญญาณเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติม และการรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 3/2020 และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่มีแนวโน้มออกมาดี อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการออกมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมของสหรัฐฯ ความกังวลการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น ประเด็นความไม่แน่นอนเรื่อง No-Deal Brexit ที่ยังมีอยู่ และความเสี่ยงจากแรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีออกไปยังหุ้นกลุ่มที่ได้รับอานิสงค์จากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะยังคงสร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นโลก

เหตุการณ์สำคัญ (KEY EVENTS)

· ติดตามความไม่แน่นอนในการออกมาตรการเยียวยาเพิ่มเติมของสหรัฐฯ โดยรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯได้ระบุว่า จะไม่มีการต่ออายุโครงการเงินกู้ของธนาคารกลางสหรัฐฯเพื่อเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 วงเงิน 4.55 แสนล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ที่จะหมดอายุ 31 ธ.ค.นี้ ขณะที่ พรรครีพับลิกันได้เตรียมร่างมาตรการกระตุ้นฉบับใหม่ร่วมกับพรรคเดโมแครต ซึ่งคาดว่า จะมีวงเงินที่ไม่สูงมาก และจะเน้นให้ช่วยเหลือในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากโควิด-19 เช่น ธุรกิจการเดินทาง ร้านอาหาร และภาคบริการ

· ติดตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการใช้มาตรการ lockdown โดยยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ และอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ได้ส่งผลให้รัฐแคลิฟอร์เนียได้ประกาศมาตรการเคอร์ฟิว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ รัฐนิวยอร์กประกาศปิดโรงเรียนรัฐบาลทุกแห่ง ด้านรัฐบาลอังกฤษอาจจะอนุญาตให้ผ่อนคลายข้อจำกัดในการควบคุมการระบาดโควิดในช่วงเทศกาลคริสต์มาส

· ความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสโควิด-19 โดยองค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุมัติการใช้แอนติบอดี้รักษาไวรัสโควิด-19 ในภาวะฉุกเฉิน ของบริษัท Regeneron ซึ่งก่อนหน้าประธานาธิบดีทรัมป์เคยได้รับยาดังกล่าวในช่วงที่ติดโควิด-19 รวมทั้ง ข่าวที่ว่า วัคซีนโควิด-19 ซึ่ง AstraZeneca ได้พัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัย Oxford มีประสิทธิภาพ 70% ในการป้องกันโควิด-19

· ติดตามการประชุมขององค์กรอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) เกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติคำขอผลิตวัคซีนโควิด-19 เป็นกรณีฉุกเฉิน จากบริษัท Pfizer และ BioNTech (10 ธ.ค.) โดยหาก FDA ให้การอนุมัติ Pfizer จะสามารถทยอยใช้วัคซีนกับกลุ่มเสี่ยงก่อน เช่น บุคคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ขณะที่ Pfizer คาดว่า จะสามารถผลิตวัคซีนได้ 50 ล้านโดสภายในปีนี้

· ติดตามประเด็นทางการค้าระหว่างประเทศ โดยในการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี สี จิ้นผิงของจีน ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เนื่องจากคาดว่า ภาคบริการ อุตสาหกรรมไฮเทค และดิจิทัลของจีนจะได้ประโยชน์อย่างมากจากความตกลงนี้

· ติดตามประเด็น Brexit โดยการหารือแบบออนไลน์เกี่ยวกับข้อตกลงการค้าหลัง Brexit จะเริ่มอีกครั้งในสัปดาห์นี้ หลังจากที่ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมเจรจาของฝั่งสหภาพยุโรป มีผลตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นบวก ในขณะที่ ทางด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีเบลเยี่ยม และนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปเร่งเตรียมแผนรับมือกรณีอังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แบบไม่มีตกลงในช่วงสิ้นปีนี้ (No-Deal Brexit)

· ติดตามนโยบายการเงินของสหรัฐฯและยุโรป ตามที่จะมีการเปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (27 พ.ย.) และรายงานการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (26 พ.ย.) โดยในรายงานอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ในสหรัฐฯและยุโรป

· ติดตามการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของนายไบเดน โดยนายไบเดน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมเสนอชื่อนาง Janet Yellen อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะที่ จะเสนอชื่อนาย Antony Blinken อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยประธานาธิบดีโอบามา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

· ตัวเลขเศรษฐกิจ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดย Conference Board ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก รายรับส่วนบุคคล รายจ่ายส่วนบุคคล ยอดขายบ้านใหม่ และ GDP ในไตรมาส 3 (รายงานครั้งที่ 2) ของสหรัฐฯ, GDP ไตรมาส 3 ของยูโรโซน, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของเยอรมนี, ดัชนีราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่น, ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังการผลิตของไทย

วิเคราะห์โดย:

นางสาวเกษรี อายุตตะกะ CFP® ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด   

นายจตุรภัทร ทนาบุตร  ผู้ช่วยผู้จัดการ Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 พ.ย. 2563 เวลา : 18:58:53
09-05-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วน!!! คืนวันพรุ่งนี้ 9 พ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนเจริญกรุง

2. ตลาดหุ้นปิด (8 พ.ค.67) ลบ 3.04 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,373.33 จุด

3. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (8 พ.ค.67) บวก 1.10 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,377.47

4. MTS Gold คาดจะมีกรอบแนวรับ 2,300 เหรียญ และแนวต้าน 2,325 เหรียญ

5. ทั่วไทยวันนี้ฝนฟ้าคะนอง "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง-ภาคใต้" ฝนกระหน่ำ 60% ส่วนภาคอื่นๆ 40%

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.67) บวก 31.99 จุด รับคาดการณ์เฟดลดดอกเบี้ยปีนี้-บอนด์ยีลด์ร่วง หนุนตลาด

7. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.67) ร่วง 7 เหรียญ เหตุดอลลาร์แข็งฉุดตลาด

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (8 พ.ค.67) บวก 1.49 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,377.86 จุด

9. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (8 พ.ค. 67) ปรับขึ้น 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (8 พ.ค.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 36.97 บาทต่อดอลลาร์

12. ข่าวดี!!! พรุ่งนี้ น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์ ลด 50 สตางค์/ลิตร

13. ตลาดหุ้นปิด (7 พ.ค.67) บวก 6.45 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,376.37 จุด

14. ประกาศ กปน.: 14 พ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำลาดพร้าว

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับอยู่ที่ระดับ 2,300 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ระดับ 2,340 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 9, 2024, 4:27 am