เอสเอ็มอี
5 ทางลัดสำหรับ SME ไทย ลุย ''อี-คอมเมิร์ซ แพลตฟอร์ม''


ผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ได้เป็นแรงผลักให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ให้ธุรกิจอยู่รอดด้วยทางเลือกใหม่ โดยเฉพาะการปรับสู่รูปแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มฐานลูกค้า เติบโตรายได้และขยายสู่โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ จนทำให้ ธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตสวนทางกับธุรกิจอื่นๆ ในเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาด


การเติบโตของตลาด อี-คอมเมิร์ซ ในปี 2563 คาดการณ์มูลค่าสูงถึง 220,000 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 35 จากปี 2562 และเรายังคงเห็นการเติบโตของเทรนด์นี้ต่อเนื่องในปี 2564 เป็นผลจากข้อจำกัดจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ผสานกับความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์ม อี-คอมเมิร์ซ เป็นแรงผลักให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการปรับธุรกิจสู่อี-คอมเมิร์ซจึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในยุคนี้

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย จึงได้จัดหลักสูตรอบรมทางออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลต่างๆ ที่เกี่ยวกับ อี-คอมเมิร์ซ เพื่อช่วย SME ขยายฐานธุรกิจบนระบบออนไลน์และดึงดูดลูกค้ารายใหม่ ภายใต้โครงการ Smart Business Transformation Programme (SBTP) โดยนับตั้งแต่การแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมาได้จัดอบรมไปทั้งสิ้น 27 ครั้ง และมี SME กว่า 1,000 รายเข้าร่วม

 

และเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และเดอะ ฟินแล็บ หน่วยงานบ่มเพาะนวัตกรรม (Innovation Accelerator) ที่ดำเนินงานภายใต้ธนาคารยูโอบีเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีรวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน ได้ร่วมกับพันธมิตรได้แก่ Make Web Easy, Tell score, Qwik Payment Solution  จัดการอบรมหัวข้อ “Tech Pitching Day: Showcasing for E-commerce Solutions” โดยได้แนะนำ 5 ทางลัดสำหรับ SME ที่ต้องการเจาะตลาด อี-คอมเมิร์ซที่กำลังเฟื่องฟู ดังนี้
 

ทางลัดที 1: สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์

จุดเริ่มต้นของการก้าวสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ  สิ่งที่สำคัญและจำเป็นที่สุดคือ การสร้างเว็บไซต์ขององค์กร  คุณมาริสา มูชิน Business Development แห่ง Make Web Easy ผู้ให้บริการเว็บไซต์เพื่อการตลาดออนไลน์ได้ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจของเอสเอ็มอีว่า ถ้าต้องการสร้างแบรนด์ ต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อบริหารจัดการ “แบรนด์ต้องมีความอิสระ” ถึงแม้ว่าจะต้องขายผ่านแพลตฟอร์มต่างๆด้วยก็ตาม การสร้างเว็บไซต์ครบวงจรที่สามารถนำเสนอสินค้าและปิดการขายได้ด้วย จะทำให้ได้ข้อมูลจริงจากผู้ซื้อ  ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการกำหนดเป้าหมายโปรโมชั่นต่างๆได้ในอนาคต อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีเว็บไซต์และเปิดร้านค้าออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพครบวงจร ขายของได้ มีออเดอร์จริง และเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง

ทางลัดที่ 2: สร้างแบรนด์ให้ปัง ด้วยการสื่อสารแบบบอกต่อ

ก้าวต่อไปของอี-คอมเมิร์ซ คือ การทำการตลาดอย่างไรที่จะช่วยให้สินค้าและแบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสุวิตา จรัญวงศ์  CEO จาก Tell score ผู้นำด้าน influencer  มีระบบบริหารจัดการ influencer  กล่าวว่า Tell score คือ Influencer Marketing Automation Platform ที่เข้ามาเชื่อมต่อนักการตลาดเข้ากับเหล่า influencer และบล็อกเกอร์บนโซเชียลมีเดีย โดยใช้เทคโนโลยี Artificial Intelligence/ Machine Learning เป็นเครื่องมือที่ช่วยแนะนำ influence ที่มีความถนัดแต่ละด้านให้ตรงตามความต้องการ ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคที่นิยมช้อปปิ้งออนไลน์ กว่า 87% ชอบดูการรีวิวสินค้า ดังนั้นการใช้ influencer หรือ blogger นับเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญของการทำธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เพราะจะเข้ามาช่วยให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นช่วยส่งผลให้ธุรกิจเอสเอ็มอี มีพลังและอำนาจในการบริหารจัดการยอดขายได้อย่างมีนัยยะสำคัญอีกช่องทาง

ทางลัดที่ 3: เปิดช่องทางการขายผ่านออนไลน์  ปิดการจ่ายด้วยดิจิทัล

คุณ วาริน อัจฉริยะกุลพร  Executive Director บริษัท ทูซีทูพี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ 2C2P ผู้ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ได้ให้มุมมองว่าคนไทยกว่า 82% มีการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์  โดยส่วนใหญ่กว่า 69% ซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก และ 34% เป็นการซื้อผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้นระบบการชำระเงินถือเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ เป็นการอำนวยความสะดวกที่รวดเร็ว สร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือให้กับผู้ซื้อ และ Qwik เป็น payment gateway (บริการรับชำระเงิน)     ที่เพิ่มความสะดวกให้กับร้านค้าที่ขายของผ่านระบบออนไลน์  โดยรับชำระเงินจากลูกค้าได้หลากหลายช่องทางผ่านเคาน์เตอร์, ผ่านบัตรเครดิต, ผ่านบริการธนาคารบนมือถือ, ผ่าน e-Wallet และ QR payment      ช่วยเพิ่มทางเลือกในการจ่ายเงินให้ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น มีมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก (Payment Card industry Data Security Standard) อีกทั้งยังสามารถส่งลิงก์ค่าสินค้าให้กับลูกค้าได้ทันทีแบบเรียลไทม์ พร้อมยืนยันตอบรับการชำระเงินสิ้นสุด ตอบโจทย์ปิดยอดขายให้เอสเอ็มอีได้ทันที

ทางลัดที่ 4:  จบออเดอร์ ส่งไว ใช้ผู้ช่วยมือดี

จากภาพที่เห็นในช่วงปีนี้ บริษัทตัวแทนรับฝากสินค้า ขนส่งผลิตภัณฑ์ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีตัวเลือกมากมายหลากหลายบริษัท นายสุทธิเกียรติ จันทรชัยโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชิปป๊อป จำกัด ให้ความเห็นว่าตลาดอี-คอมเมิร์ซ มีการเติบโตสูงถึง 40%  เมื่อเกิดการขาย -ชำระเงิน ระบบขนส่งที่สะดวกสบาย รวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ของชิปป๊อป จึงเปิดตัวให้บริการด้าน E-Logistic ที่เป็นแพลตฟอร์มการขนส่งบนโลกออนไลน์โดยการรวมบริการขนส่งพัสดุในประเทศไทยเข้ามารวมอยู่ในระบบเพื่อนำมาให้บริการกับร้านค้าทั่วไปในราคาที่ถูกกว่าการใช้งานปกติ ช่วยจัดการเรื่องขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดเรียงตามราคา, การบริการ, วันและเวลาในการจัดส่งพัสดุ  สามารถติดตามและตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอนเอสเอ็มอีที่เข้ามาเป็นลูกค้า หากมีจำนวนมากๆยังสามารถพิจารณาร่วมทำธุรกิจกับชิปป๊อปได้ในรูปแบบของแฟรนไชส์ได้อีกด้วย

ทางลัดที่ 5: ใช้เครื่องมือดิจิทัลปรับปรุงกระบวนการหลังบ้าน

เมื่อ SME มีความพร้อมในขั้นตอนทั้ง 4 มาแล้ว หนึ่งในการสร้างธุรกิจเพื่อให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพขั้นตอนการทำงานหลังบ้าน การเลือกใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน จะช่วยลดเวลา ขั้นตอนในการทำงาน และลดความผิดพลาดอีกด้วย  ยูโอบี บิสสมาร์ท (UOB Biz Smart)  โซลูชันจัดการธุรกิจครบวงจรบนคลาวด์ที่รวมการทำงานทุกส่วนของธุรกิจ อาทิ ระบบจัดการข้อมูลพนักงานและจ่ายเงินเดือนอัตโนมัติ การทำบัญชี การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงเหลือ ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการบริหารธุรกิจ 

สำหรับ SME ไทยที่สนใจสามารถสร้างแต้มต่อและติดปีกธุรกิจด้วยดิจิทัล ผ่านโครงการ SBTP สามารถติดต่อเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://thefinlab.com/th/thailand/ ซึ่งโครงการนี้ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยในปีที่ผ่านมาโครงการ SBTP ได้สนับสนุนเอสเอ็มอีในการนำดิจิทัลโซลูชันไปใช้ปรับเปลี่ยนธุรกิจ ด้วยการมอบความรู้ จับคู่ธุรกิจ และช่วยให้นำดิจิทัลโซลูชันไปใช้งานได้จริง จนเห็นผลลัพธ์เชิงบวกสามารถเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน ปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ สร้างทัศนคติและความคิดดิจิทัลให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างดี

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 23 ก.พ. 2564 เวลา : 12:29:59
08-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 ก.ค.68) ลบ 10 เซนต์ เหตุดอลลาร์แข็งค่า

2. พยากรณ์อากาศวันนี้ (8 ก.ค.68) "กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนตกหนัก 70% ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 60-70%

3. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (7 ก.ค.68) ร่วง 422.17 จุด หลังทรัมป์ประกาศ 14 ประเทศจะถูกเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ 1 ส.ค.

4. ทองเปิดตลาดวันนี้ (8 ก.ค. 68) ปรับขึ้น 250 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,100 บาท

5. ตลาดหุ้นไทยเปิด (8 ก.ค. 68) ลบ 12.22 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,110.78 จุด

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.45-32.70 บาท/ดอลลาร์

7. ตลาดหุ้นปิด (7 ก.ค.2568) บวก 3.06 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,123.00 จุด

8. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (7 ก.ค.68) ลบ 8.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.46 จุด

9. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 3,300 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,340 เหรียญ

10. กรุงศรีคาดเงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 32.10-32.75 จับตาภาษีทรัมป์

11. พยากรณ์อากาศวันนี้ (7 ก.ค.68) ฝนตกหนักในภาคเหนือ-ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 70% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคกลาง 60% ภาคใต้ 40-60%

12. ทองเปิดตลาดวันนี้ (7 ก.ค. 68) ปรับลดลง 150 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 51,800 บาท

13. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ ( 7 ก.ค.68) ลบ 8.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,111.27 จุด

14. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (7 ก.ค.68) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 32.39 บาทต่อดอลลาร์

15. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.60 บาท/ดอลลาร์

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 8, 2025, 1:05 pm