เอสเอ็มอี
พลิกการตลาดแบบเดิมๆ สู่การใช้ Influencer เปิด 5 ข้อที่ SME ต้องรู้ ก่อนลุยตลาดแบบใหม่ให้ปัง


การทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) หรือที่เรียกว่า Influencer Marketing ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเติบโตของจำนวนประชากรที่สามารถเข้าถึงโซเซียลมีเดีย ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 3.4 พันล้านคนทั่วโลก หรือประมาณ 45% ของประชากรโลก ปัจจัยสนับสนุนสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ Influencer Marketing เติบโตอย่างรวดเร็ว คือเป็นช่องทางการตลาดที่สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมายในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งผู้บริโภคเข้าถึงโซเซียลมีเดียได้ง่ายเท่าไหร่ การทำการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ก็ได้ผลลัพธ์เร็วขึ้นเท่านั้น บางแบรนด์ใหญ่ถึงกับตั้งงบการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ไว้สูงถึง 75%


 
เมื่อการทำ Influencer Marketing ทวีความสำคัญและมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น SME เองก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะทำการตลาดผ่านช่องทางนี้ หากต้องการให้สินค้าและแบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว “ศูนย์ 7 สนับสนุน SME” หรือ 7 SME Support Center ภายใต้การขับเคลื่อนของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่นและเซเว่น เดลิเวอรี่ หนึ่งในหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการ SME มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้นโยบาย “3 ให้” จึงได้รวบรวม “HOW TO : SME ลงทุนกับ Influencer อย่างไรให้ปัง?” เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการก่อนตัดสินใจเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์

1.รู้ความต้องการของแบรนด์ ผู้ประกอบการต้องรู้วัตถุประสงค์ของแบรนด์ว่า ต้องการสื่อสารอะไรเกี่ยวกับสินค้าหรือแบรนด์ของตนเอง เช่น ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ ต้องการเป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมาย หรือต้องการเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หากต้องการสร้างความน่าเชื่อถือ ก็ต้องเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป หรือที่เรียกว่า Mega-influencer

2.สินค้าต้องเหมาะกับอินฟลูเอนเซอร์ เลือกอินฟลูเอนเซอร์ให้เหมาะสมกับสินค้าและแบรนด์ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าสินค้าประเภทสบู่มีราคาไม่สูงมาก แต่เลือกใช้ Mega-influencer ที่มีภาพจำชอบใช้สินค้าราคาแพง ก็ดูจะเป็นการสร้างการรับรู้ที่ดูขัดกับอินฟลูเอนเซอร์นั้นๆ ทำให้รู้สึกว่าอินฟลูเอนเซอร์ไม่ได้ใช้จริงๆ ผู้บริโภคก็จะรู้สึกไม่อินกับคอนเทนต์นั้น หากเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ดูแลสุขภาพ ชอบออกกำลังกาย มีไลฟ์สไตล์ตรงกับสินค้า หรือมีความรู้ด้านสุขภาพ เป็นต้น

3. สืบค้น Background อินฟลูเอนเซอร์ แม้อินฟลูเอนเซอร์ที่สนใจจะตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการ แต่ผู้ประกอบการต้องไม่ลืมดูประวัติของอินฟลูเอนเซอร์เพิ่มเติมด้วยว่าเป็นอย่างไร จะกระทบกับภาพลักษณ์สินค้าในอนาคตหรือไม่ รวมทั้งต้องนำเรื่องของตัวตนที่แท้จริงของอินฟลูเอนเซอร์มาพิจารณาร่วมด้วย เพราะสินค้าที่ขัดต่อตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์ กลุ่มคนที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ ซึ่งติดตามความเป็นตัวตนจริงๆ ของ Influencer คนนั้นๆ จะรับรู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่ และอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในสินค้า

4.ศึกษาแพลตฟอร์มอินฟลูเอนเซอร์ ผู้ประกอบการต้องดูว่าอินฟลูเอนเซอร์ที่เราสนใจมีช่องทางสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มใดบ้าง เช่น Blog, Instagram, Facebook, YouTube, TikTok ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ ได้ไหม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันเลือกที่จะบริโภคสื่อผ่านแพลตฟอร์มที่ตัวเองสนใจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่มีแพลตฟอร์มตรงกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

5.มองนอกกรอบ การทำ Influencer Marketing ผู้ประกอบการจะต้องมองให้แปลกและแตกต่างจากเดิม เช่น สินค้าของเราเป็นผ้าปูที่นอน แต่เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นสัตว์เลี้ยง เพื่อสื่อสารให้เห็นว่า ผ้าปูที่นอนของเราดีอย่างไร ขนาดสัตว์เลี้ยงยังหลับสบาย หรือกรณีเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ เลือกทำการตลาดผ่านกลุ่มเกมเมอร์ เนื่องจากเป็นที่มีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมาก นำสินค้ามาให้เหล่าเกมเมอร์ทานโชว์ จนเกิดการซึมซับและอยากหามาลองทาน จนเกิดกระแสแห่ซื้อสินค้าจนของขาดตลาดก็มีมาแล้ว
 

 
หัวใจสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งในการทำการตลาดแบบ Influencer Marketing ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามคือ เรื่องของ Relationship ระหว่างอินฟลูเอนเซอร์และแฟนคลับ หากอินฟลูเอนเซอร์ไม่มีปฏิสัมพันธ์ เข้าไปตอบโต้กับทางแฟนคลับก็จะไม่เกิดการต่อยอดมายังสินค้าหรือแบรนด์ของเราได้เต็มที่ อย่าดูแค่เพียงยอดผู้ติดตามเท่านั้น เพราะอินฟลูเอนเซอร์บางคนที่มียอดผู้ติดตามไม่มาก กลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าก็มีจำนวนมาก เพราะมี Relationship ที่ดี การลงทุนกับอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อให้สินค้าหรือแบรนด์เป็นที่รู้จักไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงแค่ให้ผู้ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจในอินฟลูเอนเซอร์ หรือหากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องการหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำการตลาดหรือความรู้ด้านการประกอบธุรกิจแบบครอบคลุมในทุกด้าน สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ “ศูนย์ 7 สนับสนุน SME” โทร. 02-826-7750 หรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทาง https://www.facebook.com/7smesupport
 

LastUpdate 25/05/2565 15:39:34 โดย : Admin
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

2. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

4. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

6. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) พุ่งขึ้น 263.71 จุด ขานรับผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งเกินคาด

7. ทั่วไทยมีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ 30% ภาคอีสาน-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่ง ตต. 20% ภาคใต้ ฝั่ง ตอ.10% กรุงเทพปริมณฑล ฝนเล็กน้อยบางแห่ง

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.80-37.05 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (24 เม.ย.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 36.93 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาด (24 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 100 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 40,950 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิด (24 เม.ย.67) บวก 7.26 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.72 จุด

12. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

14. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 11:21 pm