เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
EIC วิเคราะห์ ส่งออกไทย เม.ย. เริ่มแผ่ว ผลจากมาตรการปิดเมืองในจีน และอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน


การส่งออกเดือนเมษายน 2022 ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงมาก


การส่งออกเดือนเมษายน 2022 ขยายตัว 9.9%YOY (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ชะลอตัวลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ 19.5%YOY แม้เป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 แต่หากหักทองคำ การส่งออกในเดือนนี้จะขยายตัวได้ 8.9% ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ 9.5% ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าการส่งออกอาวุธไปญี่ปุ่นในเดือนนี้มีมูลค่ามากถึง 109.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยเพียงชั่วคราวและไม่ได้สะท้อนภาพรวมการส่งออกของไทย

ส่งออกไปจีนหดตัวครั้งแรกในรอบ 17 เดือน

ด้านการส่งออกรายตลาด พบว่าเกือบทุกตลาดล้วนมีแนวโน้มหดตัว ชะลอตัวลง หรือทรงตัว มีเพียงกลุ่ม CLMV และฮ่องกงที่เร่งตัวขึ้น โดยปัจจัยฉุดสำคัญ ได้แก่ การส่งออกไปจีนที่หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ -7.2% นอกจากนี้ การส่งออกไปยุโรป (EU28) ยังขยายตัวได้ต่ำที่สุดในรอบ 14 เดือน (0.0%) และการส่งออกไปรัสเซียและยูเครนยังคง หดตัวอย่างรุนแรงที่ -76.8% และ -94.9% ในขณะที่การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ยังขยายตัวได้สูงที่ 392.2% จากการส่งออกทองคำเป็นหลัก

การส่งออกหมวดยานยนต์และคอมพิวเตอร์หดตัว

ในภาพรวมการส่งออกรายสินค้าพบว่าแม้ส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ แต่มีบางหมวดสำคัญที่หดตัวหรือชะลอตัวลง โดย (1) สินค้าเกษตรขยายตัวได้ 3% โดยเฉพาะจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและข้าว แต่มีผลไม้และยางพาราเป็นปัจจัยฉุด (2) สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว 22.8% โดยเฉพาะจากไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำตาลทราย และอาหารเลี้ยงสัตว์ (3) สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว 8.3% โดยเฉพาะจากอากาศยานฯ เหล็ก เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม และแผงวงจรไฟฟ้า แต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยางเป็นปัจจัยฉุดสำคัญ และ (4) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงขยายตัว 39% โดยเฉพาะจากน้ำมันสำเร็จรูป

มูลค่าการนำเข้าขยายตัวในอัตราเร่งกว่าการส่งออกมาก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล

ด้านมูลค่านำเข้าในเดือนเมษายน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ 21.5% โดยในเดือนนี้ขยายตัวในเกือบทุกหมวดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง (+99.3%) ที่ขยายตัวตามราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงจากผลของสงครามในยูเครน สินค้าทุน (+10.9%) สินค้าอุปโภคบริโภค (+1.2%) และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป (+11.7%) ยกเว้นสินค้ากลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง (-25.2%) โดยในเดือนนี้ดุลการค้าขาดดุล -1,908.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 ดุลการค้าขาดดุล -2,852.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

IMPLICATIONS

ส่งออกไทยหักทองคำเดือนเมษายนขยายตัวต่ำสุดในรอบ 3 เดือน

หากพิจารณามูลค่าการส่งออกหักทองคำ (ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่ได้สะท้อนภาวะการค้าอย่างแท้จริง) เทียบกับเดือนมีนาคมแบบปรับผลของฤดูกาล การส่งออกไทยจะขยายตัวเพียง 2.8% (MOM, SA) นับเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือน และเริ่มสะท้อนถึงผลกระทบจากมาตรการปิดเมืองในจีน และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่ได้รับแรงกดดันหลายปัจจัย ทั้งจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องกดดันกำลังซื้อที่แท้จริงของผู้บริโภคทั่วโลก กอปรกับสงคราม ในยูเครนและปัญหาชะงักชะงันของอุปทานและภาคขนส่งที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การชะลอตัวของการส่งออกไทยสอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกของประเทศส่งออกสำคัญอื่นที่ชะลอตัวลงเช่นเดียวกัน รวมถึงกับข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวลดลง และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ (Export orders) ที่อยู่ในระดับต่ำกว่า 50 หรือหดตัว สองเดือนติดต่อกัน

ส่งออกไปจีนและยุโรปเริ่มสะดุด

มาตรการปิดเมืองที่ยืดเยื้อและผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนเริ่มส่งผลต่อส่งออกไทยทำให้การส่งออกไปจีนในเดือนเมษายนหดตัวถึง -7.2% และหากหักทองคำแล้ว การส่งออกเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะหดตัวถึง -6.2% (MOM, SA) สอดคล้องกับตัวเลขดัชนี Manufacturing PMI ของจีนที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 26 เดือนที่ระดับ 46 โดยเป็นการหดตัวในกือบทุกสินค้าส่งออกไปตลาดจีน นำโดยผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ในระยะข้างหน้าหากสถานการณ์การระบาดและการใช้มาตรการปิดเมืองยังคงยืดเยื้อ กอปรกับภาวะทางเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มชะลอลงอาจส่งผลกระทบกับสินค้าส่งออกไทยหลายชนิดที่พึ่งพาจีนเป็นหลัก เช่น ผลไม้ และยางพารา

นอกจากนี้ การส่งออกไปยังยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยเริ่มเห็นผลกระทบที่ชัดเจนขี้นจากภาวะสงคราม ในยูเครน โดยการส่งออกหักทองคำไปยุโรปหดตัว -2.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MOM, SA) แม้ยังทรงตัวได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับตัวเลขดัชนี Manufacturing PMI ของยุโรปที่ชะลอลงมาอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน สำหรับการส่งออกหักทองคำไปรัสเซียและยูเครนยังคงหดตัวต่อเนื่องในระดับสูง แต่ไม่ได้มีนัยต่อเศรษฐกิจไทยมากเนื่องจากเป็นตลาดส่งออกขนาดเล็กของไทย

EIC มองส่งออกระยะถัดไปยังขยายตัวในอัตราชะลอลง

EIC ยังมองมูลค่าส่งออกไทยในปี 2022 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี มูลค่าส่งออกไทยขยายตัวจากแรงหนุนด้านราคา 3.9% และจากด้านปริมาณ 11% แต่ในระยะถัดไปคาดปัจจัยด้านปริมาณมีแนวโน้มชะลอตัวจากอุปสงค์ตลาดโลกที่ลดลง เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากผลกระทบของภาวะสงครามและเงินเฟ้อ โดยเฉพาะในการผลิต

และส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ แต่จะได้รับแรงหนุนหลักจากราคาสินค้าส่งออกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะสินค้าพลังงานและอาหาร จากปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่อาจทวีความรุนแรงขึ้นและยืดเยื้อนานกว่าคาด อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าจะขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวกว่าจากปัจจัยด้านราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก โดยเฉพาะน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องน้ำมัน ส่งผลให้ดุลการค้าของไทยปรับตัวลดลงและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยขาดดุลต่อเนื่องในปีนี้

ทั้งนี้ EIC กำลังประเมินแนวโน้มการส่งออก และจะเผยแพร่ตัวเลขคาดการณ์ส่งออกและประมาณการภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนนี้

รูปที่ 1 : การส่งออกไปจีนได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด

 
 
 
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

รูปที่ 2 : การส่งออกในเดือนเมษายนมีสินค้าหนุนหลายประการ ในขณะที่มีคอมพิวเตอร์และรถยนต์เป็นสินค้าฉุดสำคัญ
 

 
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์

รูปที่ 3 : ปัจจัยทางด้านราคาสินค้าส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวขึ้น
 

 
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์, IHS Markit, S&P Global, JP Morgan และ CEIC

รูปที่ 4 : เศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง จะส่งผลกระทบโดยตรงกับสินค้าส่งออกของไทย ที่พึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก รวมทั้งจะกระทบกับภาคการผลิตของไทยที่นำเข้าสินค้าจากจีน จากผลกระทบของการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานในจีน
 

 
ที่มา : การวิเคราะห์โดย EIC จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บทวิเคราะห์โดย... https://www.scbeic.com/th/detail/product/8296

ผู้เขียนบทวิเคราะห์
ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ (poonyawat.sreesing@scb.co.th)
 
นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส วิชาญ กุลาตี (vishal.gulati@scb.co.th)
 
นักวิเคราะห์ ECONOMIC AND FINANCIAL MARKET RESEARCH
 
ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
 
ดร.ชินวุฒิ์ เตชานุวัตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน
 
วชิรวัฒน์ บานชื่น นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส
 
ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส
 
จงรัก ก้องกำชัย นักวิเคราะห์
ณิชนันท์ โลกวิทูล นักวิเคราะห์
ปัณณ์ พัฒนศิริ นักวิเคราะห์
วิชาญ กุลาตี นักวิเคราะห์
อสมา เหลี่ยมมุกดา นักวิเคราะห์

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 27 พ.ค. 2565 เวลา : 21:28:38
25-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

2. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

4. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ลบ 42.77 จุด บอนด์ยีลด์พุ่งฉุดตลาด บดบังผลประกอบการ บจ.แกร่ง

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (24 เม.ย.67) ร่วง 3.70 เหรียญ นักลงทุนคลายกังวลความตึงเครียดในตะวันออกกลาง

6. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองในภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก-ภาคใต้ ฝั่งตต. 20% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคอีสาน-ภาคใต้ ฝั่ง ตอ. 10%

7. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 37.00-37.25 บาท/ดอลลาร์

8. ทองเปิดตลาด (25 เม.ย. 67) ปรับขึ้น 200 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,300 บาท

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนึ้ (25 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.08 บาทต่อดอลลาร์

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (25 เม.ย.67) ลบ 2.13 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,358.97 จุด

11. ตลาดหุ้นปิด (24 เม.ย.67) บวก 3.64 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.10 จุด

12. ประกาศ กปน.: 27 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (24 เม.ย.67) บวก 3.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,360.90 จุด

14. MTS Gold คาดว่าจะมีกรอบแนวรับที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านที่ 2,335 เหรียญ

15. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (23 เม.ย.67) ร่วง 4.30 เหรียญ คลายความกังวลตะวันออกกลาง-จับตาเงินเฟ้อและGDPสหรัฐ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 5:10 pm