หุ้นทอง
Program & High Frequency Trading และแนวทางกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค


· การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์อัตโนมัติโดยประมวลผลและตัดสินใจซื้อขายด้วยโปรแกม หรือ program trading (PT) เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั่วโลก เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งคำสั่งซื้อขาย โดยนักลงทุนกลุ่ม high-frequency trading (HFT) จัดเป็นนักลงทุน program trading ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้กลยุทธ์ที่เน้นความเร็วสูงและไม่นิยมถือครองหลักทรัพย์ไว้นาน โดย HFT คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ และประมาณ 24-43% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในยุโรปในปี 2020 และ 9% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปี 2022

 

· 80% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดของนักลงทุนกลุ่ม HFT กระจุกตัวอยู่เฉพาะในหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ (กลุ่ม SET100) และ 96% ของจำนวนหลักทรัพย์ใน SET100 มี HFT ร่วมซื้อขายอยู่เพียงไม่เกิน 15% ของมูลค่าซื้อขายในแต่ละหลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ขนาดกลางและเล็ก (กลุ่มนอก SET100) พบว่าเกือบทั้งหมดมี HFT ร่วมซื้อขายอยู่ไม่เกิน 10%

 

· ตลาดหลักทรัพย์สำคัญในภูมิภาค (ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย) ปฏิบัติต่อ PT/HFT เหมือนนักลงทุนทั่วไป สามารถซื้อขายได้ทุกหลักทรัพย์และไม่คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการเป็นนักลงทุนประเภทนี้ รวมถึงไม่มีการใช้ระบบใดๆ เพื่อชะลอความเร็วของคำสั่งซื้อขายที่ส่งมา

 

· ตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ในภูมิภาครวมถึงไทยกำหนดให้ PT/HFT ต้องลงทะเบียนก่อนจึงสามารถส่ง คำสั่งซื้อขายเข้ามาได้ เพื่อช่วยให้การกำกับดูแลและควบคุมความเสี่ยงรัดกุมยิ่งขึ้น รวมถึงมีข้อปฏิบัติเพื่อการบริหารความเสี่ยงที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติตาม เพื่อการตรวจจับคำสั่งซื้อขายที่อาจส่งผิด พลาดโดยไม่ตั้งใจ หรือป้องกันการส่งคำสั่งในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกระทบต่อภาพรวมตลาดได้ Disclaimers: ข้อมูลที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้และแนวคิดแก่ผู้อ่าน มิใช่การให้คำแนะนำด้านการลงทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมิได้ให้การรับรองในความถูกต้องของข้อมูล และไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้น อันเนื่องจากการนำข้อมูลไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดไปใช้อ้างอิง หรือเผยแพร่ไม่ว่าในลักษณะใด นอกจากนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่เห็นสมควร ความเห็นที่ปรากฎในรายงานฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเห็นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


Program trading และ High-frequency trading คืออะไร

การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์อัตโนมัติโดยประมวลผลและตัดสินใจซื้อขายด้วยโปรแกม หรือ program trading (PT) เป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั่วโลก เพราะช่วยลดต้นทุนในการจัดการ สามารถส่งคำสั่งปริมาณมากได้ไวและไม่ต้องพึ่งแรงคน สามารถทยอยส่งคำสั่งได้ทั้งวันทำให้ไม่กระทบราคาตลาดมากและได้ราคาซื้อขายที่ดีกว่าการส่งคำสั่งมูลค่าสูงในคราวเดียว อีกทั้ง ระบบยังสามารถตัดสินใจได้เที่ยงตรงตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ ไม่ถูกกระทบหรือหวั่นไหวได้ง่ายอย่างการตัดสินใจโดยคน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่นักลงทุน program trading ทุกกลุ่มที่จะเน้นใช้กลยุทธ์ด้านความเร็วเข้ามาเป็นจุดแข็งในการซื้อขาย เนื่องจากความเร็วที่ได้มาต้องแลกกับเงินลงทุนทำระบบและเทคโนโลยีที่สูงตามไปด้วย ดังนั้น นักลงทุน program trading เพียงบางส่วนเท่านั้นที่จะเลือกใช้กลยุทธ์แบบเน้นความเร็วสูงอย่าง high-frequency trading (HFT)

นิยามของ HFT ในแต่ละประเทศอาจต่างกันไปบ้างในรายละเอียด แต่ลักษณะสำคัญที่คล้ายคลึงกันคือ (1) เป็นนักลงทุนที่ซื้อขายโดยใช้ program ซื้อขายด้วยกลยุทธ์แบบเน้นความเร็วสูง และ (2) ไม่นิยมถือครองหลักทรัพย์ (inventory holding) ไว้นาน ส่วนใหญ่จะปิด position การซื้อขายในเวลาอันสั้นหรือภายในวันเดียว (day trade) โดยนักลงทุนกลุ่ม HFT คิดเป็นประมาณ 50% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ และประมาณ 24-43% ของมูลค่าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในยุโรปในปี 20201 ทั้งนี้ ประโยชน์และผลกระทบจากการซื้อขายของ HFT ต่อภาพรวมตลาดยังเป็นประเด็นที่มีความเห็นค่อนข้างหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและกลยุทธ์การลงทุนที่ HFT แต่ละรายเลือกใช้ (กล่องที่ 1: ประเภท HFT)

 
สำหรับตลาดหลักทรัพย์ไทยนักลงทุนกลุ่ม program trading เติบโตจาก 10% ของมูลค่าซื้อขายทั้งตลาดในปี 2015 มา เป็น 33% ในปี 2022 โดย 31% เป็นการซื้อขาย program trading ของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นกลุ่ม Non-HFT program 22% และ HFT program 9% (รูปที่ 1) โดยนักลงทุน HFT ตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์ฯ หมายถึง นักลงทุนที่ส่งคำสั่งผ่าน DMA (Direct Market Access)2 โดยมีช่องทางเป็นของตนเองที่ co-location3 และใช้ program trading รวมถึงมีพฤติกรรมซื้อขายรายวันแบบ day trade มากกว่า 80% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดในปีของตนเอง

จากพฤติกรรมของ HFT program ในตลาดหลักทรัพย์ไทยในปี 2022 พบว่า 80% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ในหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ (กลุ่ม SET100) เป็นหลัก อย่างไรก็ดี ถ้าพิจารณาลง ระดับรายหลักทรัพย์พบว่า 96% ของจำนวนหลักทรัพย์ในกลุ่ม SET100 มี HFT program ร่วมซื้อขายอยู่ไม่เกิน 15% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดในแต่ละหลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ขนาดกลางและเล็ก (กลุ่มนอก SET100) ซึ่งไม่เป็นที่นิยมของนักลงทุนกลุ่ม HFT program มากนัก พบว่าเกือบทั้งหมดมี HFT program ร่วมซื้อขายไม่เกิน 10% ของมูลค่าซื้อขายทั้งหมดในแต่ละหลักทรัพย์

แนวปฏิบัติและการกำกับดูแลการซื้อขายของ PT/HFT ของตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค

จากการสอบถามตลาดหลักทรัพย์สำคัญในภูมิภาค ทั้งตลาดหลักทรัพย์ที่เน้นฐานนักลงทุนสถาบัน อาทิ ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง สิงคโปร์ และที่เน้นฐานนักลงทุนบุคคล (มีสัดส่วนนักลงทุนบุคคล 35-80% ในแต่ละตลาด) อาทิ ตลาดหลักทรัพย์เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย พบว่าทุกตลาดปฏิบัติต่อนักลงทุนกลุ่ม PT/HFT ในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันกับนักลงทุนประเภทอื่นๆ โดยนักลงทุนทุกกลุ่มสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ทุกประเภทและเข้าถึงบริการทุกอย่าง ของตลาดหลักทรัพย์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการเป็นนักลงทุนประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นการเฉพาะ และไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมพิเศษจากรูปแบบการส่งคำสั่งซื้อขายที่มีสัดส่วนของจำนวนการส่งคำสั่งต่อจำนวนที่เกิดการซื้อขายจริง (order-to-trade ratio) สูง รวมถึงไม่มีการติดระบบชะลอความเร็วของคำสั่งซื้อขาย (speed bump) จาก นักลงทุนบางกลุ่มด้วย

อย่างไรก็ดี เพื่อให้การกำกับดูแลและควบคุมความเสี่ยงจากการส่งคำสั่งด้วย program trading รัดกุมยิ่งขึ้น ในหลายตลาดหลักทรัพย์มีแนวปฏิบัติให้นักลงทุนกลุ่ม PT/HFT ต้องลงทะเบียน (registration) และขออนุมัติ (approval) กับทางตลาดหลักทรัพย์หรือหน่วยงานกำกับดูแลด้านตลาดทุนก่อน จึงจะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายด้วย program trading เข้ามาในระบบได้ โดยในกระบวนการจะพิจารณาถึงความเหมาะสมของกลยุทธ์ที่ใช้ส่งคำสั่งและความพร้อมของระบบบริหารความเสี่ยง เช่น กรณีเกาหลีและอินโดนีเซียที่ต้องลงทะเบียนและขออนุมัติจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันกับของไทย และกรณีฮ่องกงที่ต้องลงทะเบียนกับหน่วยงานกำกับดูแลด้านตลาดทุน เป็นต้น ส่วนของสิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเลเซีย ไม่มีข้อ บังคับให้ต้องลงทะเบียนหรือขออนุมัติ

อีกหนึ่งเงื่อนไขที่ทุกประเทศรวมถึงไทยให้ความสำคัญเหมือนกัน คือเรื่องของการให้บริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเป็นตัวกลางที่ส่งคำสั่ง program trading ให้แก่ลูกค้า ต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดีเพียงพอสำหรับ

(1) ตรวจจับลักษณะคำสั่งที่อาจส่งผิดพลาดไปโดยไม่ตั้งใจ เช่น fat-finger prevention ที่เตือนเมื่อเกิดการส่งคำสั่งมากผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของคำสั่ง

(2) ยกเลิกคำสั่งจำนวนมากได้ในครั้งเดียวเพื่อแก้ไขเมื่อตรวจจับข้อผิดพลาดได้ เช่น kill switch, mass-order cancellation โดยการยกเลิกคำสั่งนั้นอาจเป็นการยกเลิกในระดับรายลูกค้า รายกลุ่มสินค้า หรือรายกลุ่มกลยุทธ์

(3) ป้องกันการส่งคำสั่งที่ไม่เหมาะสม เช่น self-matching prevention ที่ห้ามจับคู่ (match) คำสั่งซื้อและคำสั่งขายที่มาจากลูกค้ารายเดียวกัน เป็นต้น

ทั้งนี้ ระดับความเข้มงวดในการบังคับใช้อาจต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยกรณีเกาหลี อินโดนีเซีย และไทย บังคับต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงนี้พร้อมก่อนจึงสามารถส่งคำสั่ง program trading ให้ลูกค้าได้ ส่วนกรณีฮ่องกงและสิงคโปร์จะเป็นรูปแบบของแนวปฏิบัติที่แนะนำให้บริษัทหลักทรัพย์ควรดำเนินการ (recommended practice)

การกำกับดูแลให้การซื้อขายเป็นไปโดยโปร่งใสและเท่าเทียมเป็นหลักการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยึดถือมาโดยตลอด และสำหรับการซื้อขายโดย HFT ที่ปัจจุบันแม้ยังมีบทบาทโดยรวมไม่สูงมากนัก แต่สำหรับบางหลักทรัพย์ที่การซื้อขายโดย HFT ทยอยเพิ่มขึ้น ทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้คอยติดตามดูอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งคำสั่งซื้อขายที่สุ่มเสี่ยง และอยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางการกำกับที่เข้มงวดขึ้น โดยต้องเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลและไม่ขัดต่อ การพัฒนาของตลาดทุนในระยาว
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 มิ.ย. 2566 เวลา : 18:17:58
26-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (26 เม.ย.67) ลบ 4.33 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,359.94 จุด

2. ประกาศ กปน.: 2 พ.ค. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนวิภาวดีรังสิต

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (26 เม.ย.67) ลบ 2.25 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.02 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 2,310 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 2,350 เหรียญ

5. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (26 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์

6. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

7. ทองปิดบวก $4.10 รับดอลล์อ่อน-แรงซื้อลดความเสี่ยง

8. ตลาดหุ้นไทยเปิด (26 เม.ย.67) บวก 0.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.95 จุด

9. ดาวโจนส์ปิดร่วง 375.12 จุดหลัง GDP สหรัฐชะลอตัว - เงินเฟ้อพุ่ง

10. ทองพุ่ง! ราคาทองวันนี้ 26/4/67 ครั้งที่ 1 เพิ่มขึ้น 100 บาท ทองคำแท่งขายออกบาทละ 40,850 บาท

11. ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 43 องศาเซลเซียส ฟ้าหลัว ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และลมกระโชกแรงตลอดช่วง

12. ตลาดหุ้นปิด (25 เม.ย.67) บวก 3.17 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,364.27 จุด

13. ประกาศ กปน.: 29 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนบ้านบางไผ่-บ้านหนองเพรางาย

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (25 เม.ย.67) บวก 1.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,362.82 จุด

15. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำยังคงทรงตัวในกรอบเช่นเดิมระหว่าง 2,290-2,330 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 10:56 pm