เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปภาวะตลาดเงินตลาดทุนรายสัปดาห์ "เงินบาทพลิกแข็งค่า ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยปิดใกล้เคียงระดับปิดสัปดาห์ก่อน"


• เงินบาทอ่อนค่าในช่วงแรก แต่พลิกแข็งค่ากลับมาช่วงปลายสัปดาห์ (ก่อนตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ) หลังจากที่ตลาดปรับการคาดการณ์กลับมาให้น้ำหนักกับโอกาสที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม FOMC 13-14 มิ.ย. นี้ 
 
• SET Index ฟื้นตัวกลับมาได้ช่วงปลายสัปดาห์ หลังนักลงทุนคลายกังวลประเด็นเพดานหนี้สหรัฐฯ แม้ระหว่างสัปดาห์จะเผชิญแรงกดดันจากตัวเลขส่งออกของไทยที่หดตัวมากกว่าคาดและสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน

 
สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท
 
 
เงินบาทพลิกแข็งค่าทดสอบแนว 34.50 ช่วงปลายสัปดาห์ หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือนครึ่งที่ 34.89 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงตามเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียในช่วงต้นสัปดาห์ท่ามกลางแรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ จากตัวเลขเงินเฟ้อ PCE/Core PCE เดือนเม.ย. ของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาด ซึ่งหนุนโอกาสการคุมเข้มนโยบายการเงินต่อเนื่องของเฟด นอกจากนี้เงินบาทยังมีปัจจัยลบจากตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนเม.ย. ที่หดตัวลงมากกว่าที่คาด และจากสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ อนึ่ง เงินบาทได้รับแรงหนุนไม่มากนัก หลังกนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ไปอยู่ที่ระดับ 2.00% ตามการคาดการณ์ของตลาด     

อย่างไรก็ดี เงินบาทแข็งค่ากลับมาในช่วงปลายสัปดาห์ หลังสภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ซึ่งทำให้แรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยมีน้อยลง ประกอบกับเงินดอลลาร์ฯ ทยอยปรับตัวลงตามบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังข้อมูล ISM ภาคการผลิตที่อ่อนแอและท่าทีของเจ้าหน้าที่เฟด กระตุ้นให้ตลาดทยอยปรับการคาดการณ์กลับมาให้น้ำหนักกับโอกาสที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมที่ 5.00-5.25%  ในการประชุม FOMC วันที่ 13-14 มิ.ย. นี้

ในวันศุกร์ที่ 2 มิ.ย. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.54 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับ 34.68 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (26 พ.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 29 พ.ค.-2 มิ.ย. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 8,615.08 ล้านบาท และ 6,664.85  ล้านบาท ตามลำดับ

สัปดาห์ถัดไป (5-9 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.30-34.90 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์การเมืองและอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ของไทย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI/ISM ภาคบริการเดือนพ.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนเม.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางออสเตรเลีย ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/66 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจเดือนพ.ค. ของจีน อาทิ ข้อมูลการส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต  

 
 
สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย
 
ดัชนีหุ้นไทยปิดใกล้เคียงระดับปิดสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้หุ้นไทยดีดตัวขึ้นในช่วงแรก ท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกต่อข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ ก่อนจะทยอยย่อตัวลงในเวลาต่อมาโดยมีแรงกดดันจากตัวเลขส่งออกเดือนเม.ย. ของไทยที่หดตัวมากกว่าตลาดคาด สถานการณ์การเมืองในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมถึงแรงขายสุทธิต่อเนื่องของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดี หุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาได้ช่วงปลายสัปดาห์ตามทิศทางหุ้นต่างประเทศ หลังสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงเพิ่มเพดานหนี้สำเร็จ สำหรับสัปดาห์นี้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นตามแรงซื้อคืนหุ้นบิ๊กแคป ส่วนหุ้นกลุ่มแบงก์ปรับตัวขึ้นรับอานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น  

ในวันศุกร์ (2 มิ.ย.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,531.20 จุด เพิ่มขึ้น 0.02% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 53,168.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.04% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 0.50% มาปิดที่ระดับ 486.80 จุด

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (5-9 มิ.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,520 และ 1,500 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,545 และ 1,555 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. ข้อมูลนำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพ.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1/66 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ค. ของจีน อาทิ ดัชนี PMI ภาคบริการ ดัชนีราคาผู้บริโภค และดัชนีราคาผู้ผลิต
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 มิ.ย. 2566 เวลา : 11:16:56
24-04-2024
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

2. ประกาศ กปน.: 25 เม.ย. 67 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาร่วมใจ

3. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.67) บวก 7.94 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,357.46 จุด

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.67) บวก 11.57 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,361.09 จุด

5. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 2,260 เหรียญ และแนวต้านอยู่ที่ 2,330 เหรียญ

6. ทองนิวยอร์ก ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) ร่วง 67.40 เหรียญ แห่เทขายทอง หลังคลายกังวลความตึงเครียดอิหร่าน - อิสราเอล

7. ดัชนีดาวโจนส์ ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.67) บวก 253.58 จุด รับแรงช้อนซื้อหลังหุ้นตกหนัก -จับตาผลประกอบการบริษัทเทคฯรายใหญ่

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 36.90-37.15 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาด (23 เม.ย. 67) ร่วงแรง 850 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 41,050 บาท

10. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (23 เม.ย.67) อ่อนค่าลงเล็กน้อย ที่ระดับ 37.06 บาทต่อดอลลาร์

11. ประเทศไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคใต้ ฝนฟ้าคะนอง 20-30% กรุงเทพปริมณฑลและภาคอื่นๆ ฝน 10% / อุตุฯเตือน 24-25 เม.ย.มีพายุฤดูร้อน

12. ตลาดหุ้นไทยเปิด (23 เม.ย.67) บวก 5.89 จุดดัชนีอยู่ที่ 1,355.41 จุด

13. พรุ่งนี้ น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ทุกชนิด และพรีเมี่ยม GSH95 ลดลง 0.40 บาทต่อลิตร

14. ตลาดหุ้นปิด (22 เม.ย.67) บวก 17.44 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,349.52 จุด

15. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (22 เม.ย.67) บวก 15.02 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,347.10 จุด

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2024, 8:21 am