เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า ซึมยาว SCB EIC หั่นประมาณการเศรษฐกิจลง


 

เศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นเป็น 2.7% (เดิม 2.4%) แต่นับว่าเติบโตชะลอลงมาจาก 3% ในปีก่อน สำหรับปี 2567 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวชะลอลงอีกเป็น 2.5% (เดิม 2.3%) โดยจะต้องเผชิญปัจจัยกดดันหลายด้าน อาทิ ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางต่าง ๆ มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น และสภาพคล่องโลกที่เริ่มตึงตัวขึ้น อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานทั่วโลกที่มีความยืดหยุ่นสูง การค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น และห่วงโซ่อุปทานโลกที่เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีหน้า สำหรับมุมมองนโยบายการเงินโลก SCB EIC ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ ยุโรป และอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันไปจนถึงกลางปี 2567 ก่อนปรับลดลงสู่ระดับที่เข้มงวดน้อยลงในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า ทั้งนี้ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังอยู่สูงกว่าระดับอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว (Neutral rate) ไปจนถึงปี 2568
 
SCB EIC ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 เป็น 2.6% (เดิม 3.1%) จากข้อมูลเศรษฐกิจไตรมาส 3 ขยายตัวต่ำกว่าคาดมาก การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวสูงขึ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2566 ต่ำกว่าที่ประเมินไว้และความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2567 รวมถึงนักท่องเที่ยวจีนที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาดการณ์ ในปี 2567 ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจลงเช่นกันเป็น 3.0% (เดิม 3.5%) ตามแรงส่งเศรษฐกิจที่แผ่วลง แนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่ำลงจากรายได้ครัวเรือนที่ฟื้นไม่ทั่วถึงและหนี้ครัวเรือนที่ลดลงช้า การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจีนใช้เวลานานขึ้น รวมถึงการลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำลงจากความล่าช้าของการประกาศใช้ พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี  2567
 
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีทิศทางฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้สูงกว่าช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาไทยมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น
 
อย่างเห็นได้ชัดหลังเริ่มเข้าสู่ช่วง High season ของการท่องเที่ยวไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียและรัสเซีย ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนแม้เริ่มมีสัญญาณดีขึ้นแต่ยังคงต่ำกว่าคาด ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกที่มีแนวโน้มพลิกกลับเป็นบวกได้ในไตรมาสนี้ ส่วนหนึ่งจากราคาส่งออกสินค้าเกษตรที่ปรับสูงขึ้นจากผลกระทบภัยแล้งและการจำกัดการส่งออกสินค้าในหลายประเทศ สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงมากในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลจากนโยบายช่วยเหลือค่าครองชีพโดยเฉพาะราคาพลังงาน ทั้งนี้ราคาพลังงานโลกมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงจากการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ และความไม่แน่นอนของสงครามอิสราเอล-ฮามาส ประกอบกับราคาสินค้าเกษตร (เช่น ข้าวและน้ำตาล) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากภัยแล้งและนโยบายควบคุมการส่งออกของอินเดีย จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เงินเฟ้อในปี 2567 กลับมาเร่งตัวได้อีกครั้ง
 
ในระยะข้างหน้า ยังต้องจับตาสงครามอิสราเอล-ฮามาสและนโยบายการคลัง โดย SCB EIC มองว่าในกรณีฐานสงครามครั้งนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก แต่หากเหตุการณ์ลุกลามรุนแรง เช่น อิหร่านเพิ่มความรุนแรงในสงครามตัวแทน (Proxy war) หรือเข้าร่วมสงครามโดยตรง (Direct war) เศรษฐกิจและเงินเฟ้อโลกรวมถึงไทยจะได้รับผลกระทบ ผ่านราคาน้ำมันโลกและความผันผวนในตลาดการเงินที่ปรับสูงขึ้น อีกทั้ง เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนที่สำคัญจากนโยบายการคลัง อาทิ โครงการดิจิทัล วอลเล็ต (Digital wallet) ซึ่ง SCB EIC ประเมินว่า โครงการนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและลดค่าใช้จ่ายครัวเรือนได้ในช่วงเวลาที่ดำเนินโครงการ โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยที่ยังเปราะบางและมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคสูง อย่างไรก็ดี โครงการนี้ยังมีความไม่แน่นอนทางด้านกฎหมาย รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางการคลัง
 
SCB EIC คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะคงอยู่ที่ระดับ 2.5% ต่อเนื่องตลอดปี 2567 เนื่องจากเป็นระดับอัตราดอกเบี้ย ณ Neutral rate ที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว และช่วยให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% แม้โครงการ Digital wallet จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวได้สูงกว่าระดับศักยภาพและอาจก่อให้เกิดแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์เพิ่มขึ้นบ้าง แต่จะเป็นเพียงผลชั่วคราว หลังจากนั้นเศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้ตามศักยภาพเดิม และเงินเฟ้อจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมายของ ธปท. ได้ สำหรับค่าเงินบาทในไตรมาสที่ผ่านมากลับมาแข็งค่าเร็วขึ้น เป็นผลจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงตามมุมมองการคงดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และเงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าตลาดการเงินไทย ในระยะต่อไป SCB EIC ยังคงมุมมองว่าเงินบาทจะแข็งค่าต่อสู่ระดับ 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปีนี้ และ 33-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นปีหน้า
 
อ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่... https://www.scbeic.com/th/detail/product/eic-monthly-1123
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 06 ธ.ค. 2566 เวลา : 18:18:44
11-05-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 10 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนพระรามที่ 4 ตัดถนนรัชดาภิเษก

2. ตลาดหุ้นปิด (9 พ.ค.68) บวก 4.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,210.94 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,250 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,340 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 พ.ค.68) ลบ 5.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,200.92 จุด

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) ร่วง 85.90 เหรียญ หลังสหรัฐ-อังกฤษ บรรลุข้อตกลงการค้า

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) พุ่ง 254.48 จุด ขานรับ "สหรัฐ-อังกฤษ" บรรลุข้อตกลงการค้า

7. อุตุฯเตือนระวัง "พายุฤดูร้อน" วันนี้ "ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนฟ้าคะนอง 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 30% ภาคใต้ 30-40%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.30 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 33.02 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 พ.ค. 68) ร่วงลง 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,450 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) บวก 6.28 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.87 จุด

12. ประกาศ กปน.: 13 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) และถนนอนามัยงามเจริญ

13. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 13.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.59 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (8 พ.ค.68) ลบ 7.43 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.84 จุด

15. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) ร่วง 30.90 เหรียญ รับสงครามการค้าส่งสัญญาณคลี่คลาย

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 11, 2025, 4:25 pm