เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
Special report : "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" พลังงานสะอาด ต้นทุนต่ำ ลดการพึ่งพาต่างชาติได้ แต่ทำไมที่ไทยถึงไม่มี?


 

หากพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เชื่อว่าหลายๆ คนอาจมีความรู้สึกติดลบกับพลังงานชนิดนี้ เนื่องจากเหตุการณ์พลังงานนิวเคลียร์ระเบิดที่ฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังที่สร้างภาพจดจำอันน่าหวาดกลัวของพลังทำลายล้างที่เกิดขึ้น อันมีต้นเหตุมาจากการระเบิดตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่ถ้าพูดตามหลักการแล้ว จริงๆ พลังงานนิวเคลียร์นั้น เป็นพลังงานที่ทั้งสะอาดและปลอดภัยกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดเอาไว้มาก แต่สาเหตุหลักที่ไทย รวมถึงในอีกหลายๆ ประเทศไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็เป็นเพราะ “ความกลัว” จากภาพจำในเหตุการณ์ระเบิดดังกล่าว รวมถึงสื่อบันเทิงและภาพยนตร์ต่างๆ ที่เผยแพร่ความน่ากลัวของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการระเบิดตัวพลังงานชนิดนี้ จนทำให้คนส่วนใหญ่ล้วนมีอคติกับพลังงานนิวเคลียร์นำหน้าไปก่อนแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักมันดีพอ
 
พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร?

พลังงานนิวเคลียร์ จัดว่าเป็นพลังงานสะอาด ที่หลังการผลิตไฟฟ้า สิ่งที่ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมรอบข้าง มีเพียง “ไอน้ำ” เท่านั้น ไม่เหมือนกับโรงไฟฟ้าอื่นๆ ที่ปล่อยของเสีย และมลพิษออกมาหลังการผลิตกระแสไฟ เช่น โรงไฟฟ้าจากถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ ที่กระบวนการสร้างต้องมีการจุดไฟสองสิ่งนี้ให้เกิดความร้อน และเอาไอร้อนดังกล่าวไปเป็นแรงปั่น Turbine และตัว Generator (เป็น 2 อุปกรณ์ที่มีกลไกหลักในการสร้างกระแสไฟฟ้า) เพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าออกมา ซึ่งหลังการผลิตก็ปล่อยทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกออกมา แต่กระบวนการสร้างกระแสไฟจากพลังงานนิวเคลียร์นั้น เริ่มมาจากในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่มีอะตอมของธาตุที่ชื่อ ยูเรเนียม นั้น ถูกทำให้แตกตัวมีขนาดเล็กลง และเมื่ออะตอมแตกตัวก็สามารถชนเข้ากับอะตอมยูเรเนียมชิ้นอื่นๆ ได้ด้วย ทำให้เกิด Chain Reaction หรือ อะตอมแตกตัวต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ซึ่งรูปแบบที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า “ปฏิกิริยาฟิสชั่น” (Nuclear Fission) เป็นพลังงานที่ที่เกิดขึ้นมาในรูปแบบของความร้อน และก็นำความร้อนนี้ไปใช้ในการผลิตไอน้ำเพื่อหมุนกังหันผลิตไฟฟ้านั่นเอง
 
ซึ่งในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ การควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยา (Reactivity) ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถือเป็นงานหลักของทางโรงไฟฟ้า ที่ต้องควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาให้อยู่ภายในช่วงระดับที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย (ซึ่งจะควบคุมให้สูงหรือต่ำก็ขึ้นอยู่กับความต้องการผลิตไฟฟ้าในช่วงเวลานั้นมากน้อยแค่ไหน) โดยในกรณีที่เกิดขึ้นของเคส เชอโนบิล (โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอโนบิล ประเทศยูเครน เกิดการระเบิดเมื่อปี 2529) มีสาเหตุมาจากการควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Generation แรก ที่กลไกของมันคือต้องมีคนคอยเหยียบเบรกให้อัตราการเกิด Reactivity ต่ำลงมา ไม่อย่างนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะพุ่งสูงขึ้นจนเกินระดับที่เหมาะสม ซึ่งการระเบิดในโรงไฟฟ้าเชอโนบิล เกิดจาก Human Errors หรือเรียกง่ายๆ ว่าความสะเพร่าของคนงานที่ควบคุมไม่ดีพอจนเกิดเหตุการณ์ที่ร้ายแรงในที่สุด
 
ส่วนในเคสการระเบิดของฟุกุชิมะนั้น เป็นเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใน Generation ที่ 2 โดยในวันที่ระเบิดนั้น ตรงกับการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ซึ่งรุนแรงมากติดอันดับโลก ขนาดที่ทำให้แกนของโลกขยับออกจากแนวเดิม และทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิที่พัดถล่มเกาะฮอนชู (จังหวัดฟุกุชิมะ ตั้งอยู่ในภูมิภาคโทโฮคุ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ทางเหนือของเกาะฮอนชู) โดยในส่วนของโรงไฟฟ้าก็มี Security ป้องกันภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ด้วยการปิดการใช้งานตัวเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ แต่ปัญหาก็คือสึนามิที่พัดเข้ามาในอีก 1 ชั่วโมงต่อมาหลังการปิดระบบ มีคลื่นสูงถึง 14 เมตร ซึ่งผิดจากการคาดการณ์ของวิศวกรในโรงไฟฟ้าที่ตั้งไว้ 9 เมตร ซัดถล่มเข้ามาภายใน เป็นเหตุให้เครื่องปั่นไฟฉุกเฉิน ที่ทำหน้าที่สูบสารหล่อเย็นไปยังรอบๆ แกนของเตาปฏิกรณ์เพื่อ Cool Down ระบบ เกิดหยุดชะงักขึ้นมา อุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์จึงเพิ่มสูงขึ้นจนร้อนจัด ส่งผลให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์บางส่วนหลอมละลาย หรือเรียกว่า การหลอมละลายนิวเคลียร์ (Nuclear Meltdown) จนเกิดการระเบิด อีกทั้งยังมีสารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกสู่บรรยากาศและมหาสมุทรในหน้าประวัติศาสตร์ดังที่เห็น
 
เรียกได้ว่าการระเบิดของฟุกุชิมะเป็นเหตุมาจากภัยพิบัติทางธรรมชาติเสียมากกว่า เนื่องจากจุดด้อยของพื้นที่โรงไฟฟ้าที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น ประเทศที่อยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างมาก หากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาตั้งในประเทศไทย ก็นับว่าความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดจากภัยธรรมชาติแทบจะไม่มีเลย และด้วยเทคโนโลยีและระบบสมัยใหม่ในปัจจุบัน กรณีการระเบิดของเชอโนบิลก็ไม่สามารถเกิดขึ้นซ้ำสองได้อีกแล้ว เพราะการควบคุมอัตราการเกิดปฏิกิริยาในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีหลักการทำงานที่สลับกับ Generation แรก ที่หากไม่มีการควบคุมอัตราการเกิด Reactivity เลย ปฏิกิริยาก็จะลดต่ำลงจนเตา Shut Down หยุดทำงานในที่สุด  จึงต้องมีการเหยียบคันเร่ง ควบคุมให้ปฏิกิริยาสูงขึ้นมาตลอดเวลา ซึ่งไม่เป็นอันตรายใดๆ หากมี Human Errors หยุดควบคุมเตาปฏิกรณ์ไปกลางคัน
 
ในส่วนของกากพลังงานเหลือทิ้งที่สามารถปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีออกมาได้หลังการผลิตนั้น จริงๆสัดส่วนของกากพลังงานดังกล่าวมีน้อยมาก และส่วนใหญ่ก็สามารถปล่อยทิ้งไว้ (มีการจัดเก็บให้พ้นคน) อย่างน้อย 5 ปี สารกัมมันตภาพรังสีก็จะหายไปเอง และกากพลังงานส่วนน้อยที่มีความเข้มข้นของสารกัมมันตภาพรังสีสูง ก็สามารถโบกคอนกรีตขังไว้ หรือใช้เทคโนโลยีทำการขุดฝังลงในดินชั้นลึกได้ และถ้าจะลงลึกไปถึงกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์แล้ว ใน 1 เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) = 1 Gigawatt เทียบกับพลังงานจากเขื่อนทั้งหมดของไทย 3.12 Gigawatt
 
 

กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาของ กฟผ.
 
ส่วนพลังงานความร้อน เช่น จากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่ผลิตได้มากสุดตามภาพด้านบนอย่างแม่เมาะจะผลิตได้ 2.2 Gigawatt ซึ่ง 1-2 เตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็สามารถแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 แห่งได้เลย แถมยังสามารถแก้ปัญหาผลกระทบมลภาวะเป็นพิษ จากการเผาถ่านหินที่คร่าชีวิตผู้คนในชุมชนที่มีพื้นที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินได้อีกด้วย ซ้ำแล้วหากเราสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้เองในไทยประเทศเราก็จะมีความมั่นคงทางด้านพลังงาน และลดความเสี่ยงทางด้านปัญหาเศรษฐกิจ หรือความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่น ในตัวอย่างจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ทั่วโลกได้พบเจอกับผลกระทบที่เกิดขึ้นไปแล้วก่อนหน้านี้
 
แล้วทำไมที่ไทยถึงไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์? 
 
หากย้อนกลับไปตั้งแต่ในปี 2510 ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีความคิดที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และต่อมารัฐบาล ณ ตอนนั้น ก็ได้เห็นชอบโครงการ ซึ่ง กฟผ. ได้เสนอขออนุมัติเพื่อเปิดประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แล้ว แต่ติดที่ปัญหาเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยเฉพาะความคิดเห็นของผู้คนส่วนใหญ่เป็นห่วงเรื่องการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีและเรื่องการกำจัดกากพลังงานนิวเคลียร์ จึงทำให้โครงการเลื่อนไปอย่างไม่มีกำหนด ต่อมาทาง กฟผ. ก็ได้ริ่เริ่มโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นมาอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534  และได้สถานที่ตั้งที่เหมาะสม จำนวน 5 แห่งแล้วด้วย แต่เนื่องจากไม่มีนโยบายจากรัฐบาลที่ชัดเจน โครงการจึงถูกพับเก็บไปอีกตามเคย จนกระทั่งถึงปี 2550 รัฐบาลในช่วงเวลานั้นตระหนักถึงปัญหาการผลิตไฟฟ้า ที่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันประมาณ 80% ของความต้องการใช้ภายในประเทศ และต้องพึ่งพิงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติถึง 70% จึงทำให้มีการร่างแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อย่างจริงจัง ทั้งจัดตั้งสำนักพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขึ้นภายในกระทรวงพลังงาน คัดเลือกสถานที่ตั้ง การกำกับดูแลด้านความปลอดภัย และการจัดเตรียมด้านบุคลากรแล้วเรียบร้อย แต่เนื่องจากเกิดกระแสคัดค้านของประชาชนต่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซ้ำแล้วในปี 2554 ซึ่งเป็นปีของการร่างแผนโครงการโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ในปีเดียวกันก็เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ที่ได้กล่าวไปข้างต้น จึงยิ่งโหมกระแสตื่นกลัวต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฝังรากลึกจนมาถึงทุกวันนี้
 
ความกลัวของระดับสาธารณชน จึงเป็น 1 เหตุผลหลักที่ทำให้โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ ซ้ำแล้วยังต้องมีนโยบายจากรัฐบาลที่สอดรับกับเรื่องนี้ด้วย ซึ่งทุกวันนี้ บรรดานักวางแผนและจัดหาพลังงานยังไม่เคยล้มเลิกกับโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สอดคล้องกับการรายงานของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่รายงานว่า “ประเทศไทยจำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อเป็นพลังงานเลือกใหม่ที่สำคัญในช่วง 10 ปีข้างหน้า เพราะตอนนี้ ทรัพยากรพลังงานซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเริ่มหายากและไม่เพียงพอ การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะทำให้ไทยมีต้นทุนค่าไฟฟ้าถูก สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจให้แก่ประเทศโดยรวมได้”
 
หากคนไทยมีความรู้ความเข้าใจกับพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้นในระดับสาธารณะ “โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” อาจได้มีการหยิบยกขึ้นมาเดินหน้าแผนกันอีกครั้ง อันเป็นการปูทางความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย อย่างไม่ต้องสงสัย

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 09 ธ.ค. 2566 เวลา : 19:18:59
11-05-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: ด่วนมาก!!! คืนวันนี้ 10 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนพระรามที่ 4 ตัดถนนรัชดาภิเษก

2. ตลาดหุ้นปิด (9 พ.ค.68) บวก 4.35 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,210.94 จุด

3. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,250 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,340 เหรียญ

4. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (9 พ.ค.68) ลบ 5.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,200.92 จุด

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) ร่วง 85.90 เหรียญ หลังสหรัฐ-อังกฤษ บรรลุข้อตกลงการค้า

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (8 พ.ค.68) พุ่ง 254.48 จุด ขานรับ "สหรัฐ-อังกฤษ" บรรลุข้อตกลงการค้า

7. อุตุฯเตือนระวัง "พายุฤดูร้อน" วันนี้ "ภาคอีสาน-ภาคตะวันออก" ฝนฟ้าคะนอง 40% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 30% ภาคใต้ 30-40%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.30 บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) อ่อนค่าลง ที่ระดับ 33.02 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (9 พ.ค. 68) ร่วงลง 350 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,450 บาท

11. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (9 พ.ค.68) บวก 6.28 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.87 จุด

12. ประกาศ กปน.: 13 พ.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) และถนนอนามัยงามเจริญ

13. ตลาดหุ้นปิดวันนี้ (8 พ.ค.68) ลบ 13.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.59 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (8 พ.ค.68) ลบ 7.43 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,212.84 จุด

15. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (7 พ.ค.68) ร่วง 30.90 เหรียญ รับสงครามการค้าส่งสัญญาณคลี่คลาย

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 11, 2025, 4:26 pm