ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ชี้ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังความต้องการซื้อน้ำมันดิบจากยุโรปและสหรัฐซบเซา


 ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังความต้องการนำเข้าน้ำมันดิบจากทางยุโรปซบเซา ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่โรงกลั่นน้ำมันต่างๆ ในยุโรปเริ่มลดกำลังการกลั่นหรือปิดตัวลง ด้วยเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ ขณะที่สหรัฐฯ เองก็มีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาขายในยุโรปมากขึ้นอีกด้วย

 
- อิรักและรัสเซียยังคงสามารถส่งออกน้ำมันดิบตามปกติ แม้ความขัดแย้งในแถบยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลางยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยนักวิเคราะห์คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก เว้นแต่จะเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้จริง
 
- สหรัฐฯ ส่งออกน้ำมันคอนเดนเสทไปเกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นลำแรกในรอบ 40 ปี หลังจากที่สหรัฐฯ ยกเลิกการส่งออกน้ำมันคอนเดนเสทตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา โดยสหรัฐฯ อนุญาติให้บริษัทพลังงานต่างๆ สามารถส่งออกน้ำมันคอนเดนเสทได้ หลังจากที่มีปริมาณการผลิต shale oil และก๊าซเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐฯ  ส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องหาผู้ซื้อน้ำมันในยุโรปและเอเซียเป็นแหล่งส่งออกทางเลือก
 
+ ตัวเลขภาคโรงงานของจีน เดือน ก.ค. ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 18 เดือน  มาแตะที่ระดับ 52 จุด ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 51 จุด จากตัวเลขเศรษฐกิจของจีนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ตลาดคาดว่าจีนซึ่งเป็นผู้ที่มีความต้องการใช้น้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ของโลก อาจมีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี
 
- ยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯเดือน มิ.ย. ปรับตัวลดลงมาสู่ระดับ 406,000 ยูนิต เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. ที่ระดับ 504,000 ยูนิต ซึ่งเป็นการปรับลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่ ก.ค. 56 ที่ผ่านมา
 
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงคโปร์ล่าสุดเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 เดือน หลังโรงกลั่นหลายแห่งกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นจากการปิดซ่อมบำรุง
 
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังที่สิงคโปร์ปรับลดลงถึงระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน แต่อย่างไรก็ตามอุปทานในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่อุปสงค์มีปริมาณลดลงจากทางด้านภาคเกษตรกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากฝนตกหนักในช่วงนี้
 
ทิศทางราคาน้ำมันดิบ
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 98-105 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 105-111 เหรียญฯ
 
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
-จับตาการออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมของสหรัฐ และสหภาพยุโรป ที่จะมีต่อรัสเซีย  โดยล่าสุดสหรัฐฯ ย้ำว่าการคว่ำบาตรจะเน้นที่บริษัทน้ำมัน บริษัทผู้ผลิตอาวุธและเจ้าหน้าที่ของทางการรัสเซีย ขณะที่ทางกลุ่มอียูเรียกร้องให้หลายธนาคารในยุโรประงับการให้เงินลงทุนใหม่แก่รัสเซีย 
 
-การส่งออกน้ำมันดิบของลิเบียแม้จะกลับมาเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง จากเดิมในช่วงต้นปีที่ระดับ 200,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ราว 450,000 – 500,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงในประเทศยังคงน่าจับตามองเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศได้
 
-ติดตามการส่งออกน้ำมันดิบของอิรักที่ล่าสุดยังคงดำเนินไปตามปกติ และคาดว่าในเดือน ก.ค. จะส่งออกน้ำมันดิบสูงถึงราว 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม จับตาการจัดตั้งรัฐบาลอิรักที่ล่าสุดยังคงล่าช้าออกไปอย่างต่อเนื่อง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นหลายแห่งปรับเพิ่มการผลิตขึ้น ส่งแรงหนุนต่อราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปสหรัฐฯ คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สมดุลกับความต้องการใช้ในช่วงหน้าร้อนนี้ 
 
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันพฤหัสยอดขอสร้างบ้านใหม่สหรัฐฯ - มิ.ย. 57
วันจันทร์ยอดขายบ้านรอปิดการขายสหรัฐฯ - มิ.ย. 57
วันอังคารความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.ค. 57
วันพุธจีดีพีไตรมาส 2/57 สหรัฐฯ (ครั้งที่ 1)
การจ้างงานภาคเอกชนสหรัฐฯ - ก.ค. 57
วันพฤหัสอัตราการว่างงานยุโรป - ก.ค. 57
ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของเมืองชิคาโก - ก.ค. 57
วันศุกร์อัตราการว่างงานสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM) - ก.ค. 57
ความรู้สึกผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตยุโรป (Markrit)- ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (Official) - ก.ค. 57
ดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC)- ก.ค. 57

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ก.ค. 2557 เวลา : 13:35:45

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 6:59 am