ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ขยายผลตรวจจับยาลดความอ้วน ยึดของกลางมูลค่ามหาศาล


 


จากที่เป็นข่าวใหญ่ทางสื่อมวลชน กรณีพริตตี้สาวกระโดดตึกจากคอนโดชั้น 16 ย่านสุขุมวิท ซึ่งคาดว่าสาเหตุอาจเกิดจากการกินยาลดความอ้วนแล้วทำให้เกิดอาการประสาทหลอน อย. ได้ร่วมกับตำรวจบก.ปคบ. สืบสวนหาที่มาของการซื้อขายยาลดน้ำหนัก จนพบมีการขายเป็นยาชุดผ่านทางเฟซบุ๊ก และขยายผลจนพบว่าแหล่งจำหน่ายอยู่ที่ จ.มหาสารคาม โดยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ได้เข้าตรวจค้นและยึดของกลาง รวมมูลค่ากว่า 5 ล้านบาท ไปแล้วนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 ได้ขยายผลตรวจเพิ่มอีก 3 จุด ที่จังหวัดมหาสารคามเช่นกัน พบของกลางอีกเป็นจำนวนมาก

 
เจ้าหน้าที่ อย. ภายใต้การอำนวยการของ นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา , ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการฯ อย. และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักด่านอาหารและยา ร่วมกับ ตำรวจ บก.ปคบ. นำทีมโดย พล.ต.ต.ประเสริฐ พัฒนาดี ผบก.ปคบ. , พ.ต.อ.อังกูร คล้ายคลึงรอง ผบก.ปคบ. , พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ ผกก.4 บก.ปคบ. แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า จากการที่มีข่าวพริตตี้สาวกระโดดตึกจากคอนโดชั้น 16 ย่านสุขุมวิท ซึ่งคาดว่าสาเหตุอาจเกิดจากการกินยาลดความอ้วนแล้วทำให้เกิดอาการประสาทหลอน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รู้สึกห่วงใยเป็นอย่างยิ่งและไม่อยากเห็นผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย สอดคล้องกับนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค จึงร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. สืบสวนแหล่งที่มาของยาลดน้ำหนักที่พริตตี้นำมากิน พบเป็นยาชุด ซื้อขายผ่านทางเฟซบุ๊ก และได้ขยายผลต่อถึง
แหล่งจำหน่ายยาลดน้ำหนักดังกล่าว พบว่าแหล่งจำหน่ายอยู่ที่ จ.มหาสารคาม

 
โดยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ อย. , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม , ตำรวจ บก.ปคบ. , ตำรวจกองบังคับการปราบปราม , ตำรวจท่องเที่ยว , ตำรวจทางหลวงและตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ลงพื้นที่ไปยังสถานที่เป้าหมายเพื่อตรวจค้นและจับกุม จำนวน 4 แห่ง รวมมูลค่าของกลางกว่า 5 ล้านบาท

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 ได้มีการขยายผลเข้าตรวจค้นเพิ่มอีก 3 จุด คือ 1) ร้านมาร์ทผ้าม่าน 2 บ้านเลขที่ 401-402 หมู่ 1 ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม 2.) บ้านเลขที่ 403 หมู่ 1ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม 3.) บ้านเลขที่ 127 หมู่ 8 ต.เวียงชัย อ.พยัคฆภูมิพิสัยจ.มหาสารคามตรวจพบ
 
 
1. วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ลักษณะเป็นแคปซูลสีน้ำเงิน-ขาวใส ลักษณะคล้ายยาเฟนเทอร์มีน 30 มก. จำนวน 1,050 แคปซูล
2. วัตถุออกฤทธิ์ประเภท 4 ลักษณะเป็นแคปซูลสีส้ม-ดำ ลักษณะคล้ายไดอะซีแพมจำนวน 16,000 แคปซูล
3. ผลิตภัณฑ์ยาลดน้ำหนักทึ่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา ลักษณะเป็นแคปซูลสีเขียวเข้ม-เขียวอ่อน , สีฟ้า-ขาว, สีม่วง-เหลือง สีชมพู-ขาว สีขาว-ส้ม, สีฟ้าเข้ม-ฟ้าอ่อน, สีขาว-เขียว, สีน้า
เงินเหลือง , สีแดง-เขียว จำนวน 103,560 แคปซูล
4. ยาชุดลดน้ำหนัก 70 ชุด
รวมของกลางมูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท
 
 
 

ในเบื้องต้นได้แจ้งข้อหาดังนี้
1. มีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 ไว้ในความครอบครองหรือใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท
2. มีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 4 ไว้ในความครอบครองหรือใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ
3. ขายยาแผนบัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
4. ขายยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ขายยาบรรจุเสร็จหลายขนาดโดยจัดเป็นชุดในคราวเดียวกัน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำ
 

เภสัชกรหญิง สุภัทรา บุญเสริม ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักด่านอาหารและยา กล่าวต่อไปว่า อย. ขอเตือนหญิงสาวที่อยากลดน้ำหนัก อย่าได้คิดที่จะซื้อยาลดน้ำหนักมากินเด็ดขาด ขอให้ระลึกเสมอว่า ยาที่โฆษณาชวนเชื่ออวดสรรพคุณในการลดน้ำหนักที่ขายผ่านทางโซเชียลมีเดีย ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบจะเป็นยาปลอมไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่ได้ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ และไม่มีผลวิจัยรับรองสรรพคุณจากการใช้ยาตามหลักการแพทย์ที่ถูกต้อง ผู้ที่ได้รับยาปลอมดังกล่าว เสี่ยงต่ออันตรายถึงชีวิต หากบริโภคเกินขนาด หรือมีโรคประจำตัวแทรกซ้อน ตามที่มีข่าวจากผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้ยาลดน้ำหนักอยู่เป็นระยะ ๆ ดังนั้นก่อนใช้ยาใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง พร้อมทั้งขอปรามมายังผู้ขายยาผ่านทาง SocialMedia หรือร้านขายยาต่าง ๆ อย่าได้กระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการขายวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เพราะอาจเกิดผลร้ายต่อผู้บริโภค หาก อย. ตรวจพบจะดำเนินคดีขั้นเด็ดขาด
 

เภสัชกรหญิง สุภัทรา บุญเสริม กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดน้ำหนักว่า ที่จริงการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง คือ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนในสัดส่วนที่เหมาะสม และต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคด้วย การใช้ยาลดน้ำหนักอย่างไม่ถูกต้องจะไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้ เพราะหากใช้ติดต่อกันระยะหนึ่ง น้ำหนักจะกลับขึ้นได้อีก (yo-yo effect) และเสี่ยงจากผลข้างเคียงของยา หากผู้บริโภคพบการขายยาลดน้ำหนักผ่านทางสื่อต่าง ๆ สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือ สายด่วน บก.ปคบ. 1135 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ร่วมมือกับ อย.ในการเฝ้าระวังตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้ผู้บริโภคทั่วประเทศ









 

LastUpdate 21/04/2559 19:26:45 โดย : Admin

27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 3:38 am