ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ปลัดแรงงานเผยแผนต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตฯประมงและอาหารทะเล


 


ปลัดแรงงาน เปิดการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล ครั้งที่ 1/2559 เปิดเผยแผนงานในการต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล พร้อมชูโครงการประชารัฐ Ship to Shore Rights
 

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการต่อต้านรูปแบบการทำงานที่ไม่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเล ครั้งที่ 1/2559 ณ ห้องประชุมมิตรไมตรี 2 ชั้น 5 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในวันนี้ (10 พฤษภาคม 2559) ว่า “การประชุมในวันนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน 2 ชุด ซึ่งจะมีองค์กรแรงงานข้ามชาติ สมาคมผู้ประกอบการที่มีส่วนได้ส่วนเสีย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพิ่มเข้ามาด้วย โดยชุดแรกจะทำหน้าที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย นโยบายขับเคลื่อนในเรื่องการรับอนุสัญญา 188 และ C29 ในเรื่องของแรงงานบังคับ รวมทั้งรับผิดชอบในเรื่องสิทธิแรงงาน ชุดที่สอง จะทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย การตรวจแรงงาน การอบรมเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน การทำกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือ ซึ่งทำให้ผู้ใช้แรงงานและเครือข่ายแรงงานต่างด้าวได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงภาคเอกชนสมัครใจในการทำ Good Labour Practice (GLP)
 
 
 
 

โครงการดังกล่าว มีแผนงาน 4 แผน คือ 1) กฎหมายและนโยบาย โดยการวิเคราะห์ช่องว่างอนุสัญญาฉบับ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง วิเคราะห์ช่องว่างในพิธีสารว่าด้วยแรงงานบังคับ และพัฒนากรอบงานติดตามและประเมินผล (M&E) สำหรับแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยการขจัดรูปแบบของการใช้แรงงานเด็กที่เลวร้ายที่สุด (NPP II) ในด้านการวิจัยและวิเคราะห์ จะทำการศึกษาวิจัยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจ้างงาน สภาพการทำงานและความเป็นอยู่ในสถานที่ทำงานส่วนหนึ่งในภาคการประมงและการแปรรูปอาหารทะเล วิจัยและวิเคราะห์เกี่ยวกับสถานะของเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มอายุขั้นต่ำสุดที่ทำงานได้ประเมินความต้องการของตลาดแรงงานในภาคการประมงและการแปรรูปอาหารทะเล การวิเคราะห์ศูนย์    ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก (PIPO) และผลกระทบที่มีต่อการคุ้มครองแรงงาน 

2) การบังคับใช้ โดยการพิจารณาทบทวนและพัฒนายุทธศาสตร์ในการเอาชนะปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการตรวจแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ จัดการฝึกอบรมและเป็นพี่เลี้ยงให้กับเจ้าหน้าที่แรงงานและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายทางทะเล   22 จังหวัดชายฝั่ง จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับ ‘การระบุกรณีและสอบสวนการบังคับแรงงานและการค้ามนุษย์’   (ITC, Turin)
 
 
3) โครงการการปฏิบัติตามกฎโดยสมัครใจ โดยการสนับสนุนเวทีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาฐานข้อมูลสำหรับวิสาหกิจที่ใช้แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) และกรอบการติดตามการปรับปรุงสถานประกอบการ พัฒนาหรือปรับปรุงเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนการเจรจาระหว่างแรงงานและฝ่ายบริหาร การแก้ไขข้อพิพาท การจัดจ้างงานที่เป็นธรรม ฯลฯ
 
 
4) สนับสนุนการให้บริการและสร้างเสริมความเข้มแข็งแก่แรงงาน โดยการทำแผนที่และวิเคราะห์การให้บริการที่มีอยู่ในบางจังหวัดที่จัดให้โดยรัฐ สหภาพแรงงานและประชาสังคม ตลอดจนช่องว่างต่างๆ ระบุสหภาพแรงงานและประชาสังคมที่สามารถให้บริการที่จำเป็น และจัดตั้งองค์กรแรงงานในสถานที่ทำงานเป้าหมายที่เลือกไว้ กำหนดกรอบโครงเรื่องความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างกระทรวงแรงงานและสหภาพแรงงาน/องค์กรประชาสังคมต่างๆ

โดยได้มีการกำหนดชื่อย่อของโครงการนี้ว่า ‘Ship to Shore Rights’ ดูแลในเรื่องของสิทธิของเรือประมงไปจนถึงการทำงานบนฝั่ง ซึ่งจะใช้ชื่อนี้ในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ โครงการนี้เป็นโครงการสำคัญที่ได้รับความร่วมมือจากสหภาพยุโรป องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกระทรวงแรงงาน ซึ่งโครงการนี้มีระยะเวลาการดำเนินการ 42 เดือน” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในท้ายที่สุด

 





 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 10 พ.ค. 2559 เวลา : 16:44:47

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 2:56 am