ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
กรมพัฒน์ฯ เตรียม'ลบ'กว่าหมื่นรายชื่อนิติบุคคลปล่อยธุรกิจร้าง


 


กรมพัฒน์ฯ เตรียม'ลบ'หมื่นรายชื่อนิติบุคคลปล่อยธุรกิจร้างป้องกันความเสียหายทางเศรษฐกิจ พร้อมอัพเดทสถานะนิติบุคคลไทย  ที่ยังเคลื่อนไหวและมีตัวตนให้ตรงกับความจริง  

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Cleansing ข้อมูลนิติบุคคลร้างที่มีสำนักงานใหญ่ในกทม. พบมีธุรกิจ  10,701 ราย ไม่มีการเคลื่อนไหว ทั้งไม่ส่งงบการเงินเกิน 3 ปี 8,821 ราย และจดทะเบียนเลิกแล้วแต่ไม่มี          ผู้ชำระบัญชีทำการอยู่ 1,880 ราย พร้อมขีดชื่อทิ้งภายในก.ย.59 โดยนิติบุคคลกลุ่มนี้จะสร้างความคลุมเครือให้ธุรกิจไทย ทำให้ไม่ทราบสถานะที่แท้จริงของนิติบุคคล อาจเกิดการหลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิดว่านิติ บุคคลนั้นยังดำเนินการอยู่ และส่งผลกระทบต่อการประเมินเศรษฐกิจของประเทศตามมา

นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนิติบุคคล จำนวนหนึ่งที่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริง ว่า นิติบุคคลนั้นไม่ได้ยื่นงบการเงินประจำปีต่อกรมฯ 3 ปี ติดต่อกัน  ไม่มีที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จด ทะเบียนไว้ อีกทั้งบางรายจดทะเบียนเลิกแล้วแต่ไม่ดำเนินการยื่นรายงานการชำระบัญชีต่อนายทะเบียน  หรือไม่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปีนับแต่วันจดทะเบียนเลิก ซึ่งเป็นมูลเหตุให้เชื่อ ว่านิติบุคคลนั้นไม่ได้ประกอบธุรกิจหรือกิจการใด ๆ หรือไม่มีตัวผู้ชำระบัญชีอยู่แล้วแต่กรณี นายทะเบียน จะดำเนินการถอนทะเบียนร้าง โดยมีขั้นตอนดังนี้  

1. กรณีเชื่อว่า นิติบุคคลไม่ได้ประกอบธุรกิจหรือกิจการใดๆ นายทะเบียนจะมีหนังสือฉบับแรกถึง
นิติบุคคลเพื่อสอบถามว่ายังประกอบกิจการอยู่หรือไม่ เมื่อครบ 30 วัน นับแต่วันที่ส่งหนังสือฉบับแรกแล้ว  นายทะเบียนยังไม่ได้รับแจ้งจากนิติบุคคล หรือได้รับแจ้งจากนิติบุคคลว่าไม่ได้ประกอบกิจการแล้ว  
นายทะเบียนจะโฆษณาลงหนังสือพิมพ์ พร้อมกับมีหนังสือฉบับที่ 2 ถึงนิติบุคคลที่นายทะเบียนไม่ได้รับแจ้ง ว่ายังประกอบกิจการอยู่เพื่อแจ้งว่าเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือฉบับที่ 2 นิติบุคคลนั้นจะถูกขีดชื่อ ออกจากทะเบียน เว้นแต่จะแสดงเหตุให้เห็นเป็นอย่างอื่น

2. กรณีเชื่อว่า ไม่มีตัวผู้ชำระบัญชีทำการอยู่ นายทะเบียนจะมีหนังสือฉบับแรกถึงนิติบุคคลและ
ผู้ชำระบัญชีเพื่อแจ้งให้ดำเนินการเพื่อให้มีตัวผู้ชำระบัญชี หรือยื่นรายงานการชำระบัญชี หรือจดทะเบียน เสร็จการชำระบัญชี แล้วแต่กรณี หากไม่ดำเนินการดังกล่าวภายใน 180 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือฉบับแรก       นายทะเบียนจะโฆษณาลงหนังสือพิมพ์ พร้อมกับมีหนังสือฉบับที่ 2 ถึงนิติบุคคลและผู้ชำระบัญชี เพื่อแจ้งว่า  เมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่ส่งหนังสือฉบับที่ 2 นิติบุคคลนั้นจะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน เว้นแต่แสดงเหตุให้ เห็นเป็นอย่างอื่น

สำหรับปี 2559 นายทะเบียนได้ดำเนินการตรวจสอบนิติบุคคลที่มีสำนักงานใหญ่ในเขต กรุงเทพมหานครพบว่า มีนิติบุคคลที่มีมูลเหตุชัดเจนว่าเป็นธุรกิจร้างอยู่กว่า 10,701 ราย จากนิติบุคคลที่ดำเนินกิจการอยู่   ทั่วประเทศจำนวน 635,024 ราย แบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) กรณีไม่ส่งงบการเงินย้อนหลัง 3 ปีติดต่อกัน จำนวน 8,821 ราย และ 2) กรณีจดทะเบียนเลิกแล้วแต่ไม่มีผู้ชำระบัญชีทำการอยู่ จำนวน 1,880 ราย โดยกรมฯ คาดว่าจะออกคำสั่งขีดชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทร้างออกจากทะเบียนได้ภายในเดือนกันยายน 2559  

ทั้งนี้ การถอนทะเบียนร้างของนิติบุคคลจะมีผลให้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคล แต่ความรับผิดชอบ ของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน กรรมการ ผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นยังคงต้องมีอยู่ และสามารถเรียกบังคับ ได้เสมือนยังไม่ได้สิ้นสภาพนิติบุคคล และนิติบุคคลดังกล่าวอาจฟื้นคืนสู่ทะเบียนได้อีกครั้ง ถ้าผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียยื่นคำร้องต่อศาล หากได้รับผลระทบที่ไม่เป็นธรรมจากการที่นิติบุคคลนั้นถูกขีดชื่อออกจาก ทะเบียน โดยศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าเหมาะสมที่จะกลับคืนสู่ทะเบียนหรือไม่ อย่างไรก็ดีการยื่นคำร้องต้อง กระทำภายใน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียน

อธิบดี กล่าวในท้ายที่สุด “ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด เป็นนิติ บุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งแล้วนิติบุคคลทุกรายมี หน้าที่ต้องจัดทำงบการเงินประจำปียื่นต่อกรมฯ เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินธุรกิจประจำปี นอกจากนี้ ภาครัฐสามารถนำตัวเลขงบการเงินมาประเมินวิเคราะห์ทิศทางของเศรษฐกิจไทยว่ามี การเติบโตมากน้อยเพียงไร เพื่อจะได้กำหนดยุทธศาสตร์ทางการค้าของประเทศไทยได้อย่างทันท่วงที  ดังนั้นจึงขอฝาก   ให้นิติบุคคลทุกรายต้องดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาลประกอบกับมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และประเทศชาติด้วย” 
 


 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 01 ส.ค. 2559 เวลา : 06:46:56

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 11:35 pm