ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน Sideway คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น(02/07/61)


 ทิศทางตลาด

  Sideway? คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น ภายใต้ปัจจัยเดิม (+) หุ้นกลุ่มพลังงานตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นและทรงตัวในระดับสูงทั้ง 3 ตลาด  (WTI, Brent และ Dubai) เฉลี่ย 74 – 78 USD/bbl อย่างไรก็ตามภาพรวมยังคงมี
  ความผันผวน จาก (-) นโยบายการค้า ที่คาดยังมีความไม่แน่นอน ขณะที่ในวันที่ 6/7/61 จะมีผลบังคับใช้ต่อการเรียกเก็บภาษีนำเข้าอัตรา 25% วงเงิน 34,000 ล้านUSD (จากวงเงินทั้งหมด 50,000 ล้านUSD) สินค้าจากจีน นอกจากนี้ยังมีประเด็นการจำกัดการลงทุนต่อทุกประเทศทั่วโลก (รวมจีน) ที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต่อสินค้าเทคโนโลยีของสหรัฐฯ พร้อมติดตามสถานการณ์สงครามการค้า หากมีความรุนแรงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโลก หลังข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ และคู่ค้ารายใหญ่ เช่น จีน และกลุ่ม EU ซึ่งยังคงมีการตอบโต้กันไปมา
  และ (-) นโยบายการเงิน หลังเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ทำให้คาดทั้งปีนี้เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้ง คาดสิ้นปี’61 อยู่ที่ 2.25 – 2.50% พร้อมติดตามเงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่า ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงทองคำ ที่ซื้อขายในรูปเงินสหรัฐฯ ปรับลดลง แต่ในทางกลับกันกลุ่มส่งออกคาดได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง ล่าสุดเคลื่อนไหวบริเวณ 33.00 บาท/USD แข็งค่าขึ้นมากเล็กน้อยจากวันศุกร์ที่ผ่านมา (33.20 บาท) อย่างไรก็ตามยังเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดตั้งแต่ต้นปี

  ส่วนประเด็นในประเทศ คาดได้รับ Sentiment บวก จากการกลับเข้ามาซื้อสุทธิของต่างชาติ มูลค่ากว่า 2,800 ล้านบาท แต่ภาพรวม YTD ยอดขายสุทธิสะสม ยังอยู่ในระดับสูงถึง 180,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนดวันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง พร้อมแรงเก็งกำไรต่อผลประกอบการ – 2Q/61 เริ่มต้นจากกลุ่มธนาคาร ประมาณกลางเดือนนี้ หลังจากนั้นเป็นกลุ่ม Real Sector ถึงกลางเดือนส.ค.
  ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ช่วงวันที่ 18/6/61 – 9/7/61 มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost  อายุโครงการ 50 ปี และกำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 คาดลงนามสัญญาต้นปี’62


ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
  
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+) ตลาดต่างประเทศ DJIA +55.36, NASDAQ +6.62, S&P +2.06, FTSE +21.30, CAC +47.89 และ DAX +128.77
ภายใต้ปัจจัยหนุน หลังจีนเตรียมประกาศมาตรการผ่อนคลายข้อจำกัดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงการลงทุนในภาคพลังงานและการธนาคาร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างทบทวนข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดของการลงทุนจากต่างประเทศ คาดเปิดเผยรายละเอียดในเร็วๆ นี้ 
โดยรายงานระบุว่า ข้อจำกัดด้านพลังงาน ทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม กระแสการหมุนเวียนด้านการค้า และการให้บริการระดับมืออาชีพ จะถูกยกเลิกหรือผ่อนคลายลง เพื่อให้สอดคล้องกับที่รัฐบาลจีนได้ประกาศมาตรการเปิดเสรีในภาคการเงินและยานยนต์
และยังได้รับปัจจัยหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคาร หลังเฟดระบุว่า ธนาคารขนาดใหญ่ 34 แห่ง จาก 35 แห่ง สามารถผ่านการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) รอบที่ 2 ของเฟด ส่งผลให้ธนาคารดังกล่าวสามารถเปิดเผยแผนการซื้อคืนหุ้น หรือเพิ่มการจ่ายเงินปันผล ขณะที่โกลด์แมน แซคส์ และมอร์แกน สแตนลีย์ ผ่านการทดสอบอย่างมีเงื่อนไข โดยเฟดกำหนดให้ธนาคารทั้ง 2 แห่ง จ่ายเงินปันผลที่ไม่สูงกว่าระดับในปีที่แล้ว ส่วนธนาคารดอยซ์แบงก์ที่ดำเนินกิจการในสหรัฐฯ ไม่ผ่านการทดสอบ
ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด (1) การใช้จ่ายของผู้บริโภค - พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.2% ลดลงจากที่เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเม.ย. และต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% และ (2) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)  - พ.ค. เพิ่มขึ้น 0.2%MoM  หลังเพิ่มขึ้น 0.2% เมื่อเม.ย. แต่ เพิ่มขึ้น 2.3%YoY ซึ่งเป็นระดับสูงสุดจาก มี.ค.’ 55

และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL เป็นต้น
(2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP เป็นต้น
(3) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ทรงตัว อยู่ที่ 2.85% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)

ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.76 อยู่ที่ 16.09

หุ้นแนะนำ : AOT

ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$0.70 อยู่ที่ US$74.15 ต่อบาร์เรล หลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ที่มีการใช้งาน ล่าสุด ลดลง 4 แท่น อยู่ที่ 858 แท่น โดยลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน

ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$3.5 อยู่ที่ US$1,254.5 ต่อออนซ์ ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร หลังสัญญาทองคำลดลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และยังได้รับปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง

(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +2,823 ล้านบาท ยอดสะสม 
-180,077 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 2 – 6 ก.ค.’61
2/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย

  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิ.ย.
  • ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย.

3/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย

  • ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ค.

4/7/61 ไม่มีรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
5/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย

  • ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.จาก ADP
  • จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมิ.ย.
  • ดัชนีภาคบริการเดือนมิ.ย.
  • สต็อกน้ำมัน

6/7/61 สหรัฐฯ เปิดเผย

  • ดุลการค้าเดือนพ.ค.
  • ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.

หุ้นแนะนำ

AOT : ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน

  • แม้ว่ากำลังการให้บริการจะเต็มที่แล้ว หลังการขยายสนามบินสุวรรณภูมิที่ล่าช้า (คาดทยอยเสร็จปี’63 – 65) แต่ปริมาณผู้โดยสารยังสามารถเพิ่มได้ จากการปรับตัวของสายการบิน ที่หันมาใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้น รวมถึงการใช้ประโยชน์จาก Slot ในช่วง Off-Peak และคาดในระยะสั้นยังมี Upside จากการประมูลสัมปทานพื้นที่ Duty Free ฉบับใหม่ คาดได้ข้อสรุปในปีนี้
  • Theme การเติบโตนักท่องเที่ยวจีน (สัดส่วนประมาณ 30%ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย) ยังคงมีความแข็งแกร่งในระยะยาว จากการเติบโตของชนชั้นกลางในจีน หนุนให้ชาวจีนนิยมท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งยังเป็นโอกาสอีกมาก เมื่อพิจารณาจากชาวจีนที่มี Passport ปัจจุบันมีสัดส่วนต่ำ เพียง 8.9% ของประชากร ขณะที่ไทยเป็นปลายทางท่องเที่ยวอันดับ 1 ของชาวจีน
  • ประสิทธิภาพของทรัพย์สิน/เงินลงทุน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะยาว จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา)  และแผนการเข้าบริหารสนามบินภูมิภาค ซึ่งใช้เงินลงทุนต่ำ แต่จะสามารถช่วยลดความแออัดของสนามบินหลัก
  • ราคาเป้าหมายที่ 83.00 บาท
  • 90% ภายใน 5 ปี
  • ประเมินราคาเป้าหมายปี’61 ที่ 24.50 บาท

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ก.ค. 2561 เวลา : 09:49:30

27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 1:07 am