กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เผยสิ้นปี 2555ประชาชน-ธุรกิจ ตื่นตัวซื้อกรมธรรม์ยอดทะลุ591,167 ฉบับด้วยยอดทุนประกันภัยพิบัติ 62,985 ล้านบาทเฉพาะกรกฎาคม-ธันวาคม พุ่งร้อยละ 644กรุงเทพฯฮิตสุดซื้อกรมธรรม์ 180,626 ฉบับส่วนใหญ่กลุ่มที่อยู่อาศัยพระนครศรีอยุธยาแชมป์โรงงานอุตสาหกรรมผลักดันเบี้ยประกันถูกลง
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ประชาชนและภาคธุรกิจให้ความสำคัญต่อการทำประกันภัยพิบัติสูงขึ้น โดยยอดกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติใหม่ของกองทุนฯ ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2556มียอดจำหน่ายรวมจำนวนทั้งสิ้น 591,167 ฉบับจากบริษัทประกันภัยทั้งสิ้น 52 บริษัททุนประกันภัยพิบัติ 62,985 ล้านบาทและมูลค่าเบี้ย 450 ล้านบาท ขณะที่เป็นทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ47,864 ล้านบาท เบี้ยประกันต่อตามสัดส่วนฯจำนวน 359 ล้านบาท และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ทั้งนี้กองทุนฯ ได้ดำเนินการรับประกันภัยต่อสำหรับกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยจำนวน 539,946 ฉบับ
(ร้อยละ 91 ของกรมธรรม์ทั้งหมด) กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 47,476 ฉบับ (ร้อยละ 8 ของกรมธรรม์ทั้งหมด) และกลุ่มอุตสาหกรรม 3,745 ฉบับ(ร้อยละ 1 ของกรมธรรม์ทั้งหมด) โดยมีทุนประกันภัยต่อในกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย 26,393 ล้านบาท (ร้อยละ 55 ของทุนประกันภัยต่อฯทั้งหมด) กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 7,350 ล้านบาท (ร้อยละ 15 ของทุนประกันภัยต่อทั้งหมด) และกลุ่มอุตสาหกรรม 14,121 ล้านบาท (ร้อยละ 30ของทุนประกันภัยต่อทั้งหมด) สำหรับเบี้ยประกันภัยต่อกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยมีจำนวน 132 ล้านบาท (ร้อยละ 37 ของเบี้ยประกันภัยต่อทั้งหมด) กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีจำนวน 71 ล้านบาท (ร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันภัยต่อทั้งหมด) และกลุ่มอุตสาหกรรมมีจำนวน 159 ล้านบาท (ร้อยละ 43 ของเบี้ยประกันภัยต่อทั้งหมด)
ความตื่นตัวในการทำประกันภัยพิบัติของประชาชนและธุรกิจปรากฏชัดเจนในช่วงกลางไตรมาสที่สามต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคมสะท้อนจากจำนวนกรมธรรม์สะสมที่เพิ่มขึ้นจาก 79,363ฉบับในเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นช่วงแรกของการเข้าสู่ฤดูฝนเป็น591,162 ฉบับในเดือนธันวาคม 2555 หรือเพิ่มขึ้น511,799 ฉบับหรือร้อยละ644
ทั้งนี้ 5 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงตามการประมาณการของกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปทุมธานีนทบุรี นครปฐมและกรุงเทพฯ มีการซื้อประกันภัยพิบัติรวมกันทั้งสิ้น 266,866 ฉบับ (ร้อยละ 45 ของกรมธรรม์ทั้งหมด) เป็นเบี้ยประกันภัยต่อสัดส่วนของกองทุนจำนวน236 ล้านบาทและมีมูลค่าทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ25,675 ล้านบาท (ร้อยละ 54 ของทุนประกันภัยตามสัดส่วนของกองทุนฯ ทั้งหมด)ขณะที่จังหวัดที่เหลืออีก 72 จังหวัด มียอดกรมธรรม์ทั้งสิ้น324,301 ฉบับ(ร้อยละ 55 ของกรมธรรม์ทั้งหมด)มีเบี้ยประกันภัยตามสัดส่วนของกองทุน214 ล้านบาท และทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ22,188 ล้านบาท (ร้อยละ 46 ของทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ ทั้งหมด
นอกจากนั้นประชาชนและภาคธุรกิจในเขตกรุงเทพฯตระหนักถึงการซื้อประกันความเสี่ยงภัยพิบัติสูงสุดด้วยจำนวนกรมธรรม์180,626 ฉบับ (ร้อยละ 30 ของกรมธรรม์ทั้งหมด) คิดเป็นเบี้ยประกัน116 ล้านบาท (ร้อยละ 26 ของเบี้ยประกันทั้งหมดเป็นทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ 13,523 ล้านบาท (ร้อยละ 28 ของทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ)ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยจำนวน9,166 ล้านบาทถัดมาได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ด้วยจำนวนกรมธรรม์40,700 ฉบับ มูลค่าเบี้ยประกัน23 ล้านบาท มีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนกองทุนฯ2,783 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มบ้านที่อยู่อาศัยจำนวน2,114 ล้านบาท ในขณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดพบว่าทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมมูลค่า3,216 ล้านบาทจากทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯทั้งสิ้น3,695 ล้านบาท มีกรรมธรรม์และมีเบี้ยประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯทั้งสิ้น8,038 ฉบับและ 45 ล้านบาทตามลำดับ
การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมากองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติได้ผลักดันให้อัตราเบี้ยประกันภัยทั้งในประเทศและต่างประเทศปรับลดลง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงความคุ้มครองภัยได้อย่างเพียงพอ ทั่วถึง โดยเทียบเคียงกับอัตรามาตรฐานสากลของประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และเพื่อไม่ให้ต้นทุนในการทำประกันภัยสูงเกินกว่าประเทศคู่แข่ง และสามารถดึงดูดให้นักลงทุนยังคงดำเนินการอยู่ในประเทศไทย
ข่าวเด่น