เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
รับมือสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 56


 

 

 

 

สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา  โดยขณะนี้มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้งแล้วเกือบครึ่งประเทศ   ซึ่งกระทรวงมหาดไทย   โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน    

 

 

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายพื้นที่ โดยขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง) 33 จังหวัด 335 อำเภอ 2,242 ตำบล 21,814 หมู่บ้าน   กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  จึงได้วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน  โดยประสานให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งสำรวจความต้องการใช้น้ำ พื้นที่ประสบภัย

ขณะที่นายกรัฐมนตรี ก็ห่วงใยสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้น  จึงได้กำชับทุกหน่วยงานบูรณาการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  เน้นให้ความสำคัญกับการจัดสรรน้ำ  เพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นลำดับแรก  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะเร่งด่วน โดยประสานให้จังหวัดที่ประสบภัยแล้งสำรวจความต้องการใช้น้ำ พื้นที่ประสบภัย

พร้อมตรวจสอบทรัพยากรที่ใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยเฉพาะภาชนะกักเก็บน้ำ ถังน้ำกลาง ประจำหมู่บ้าน และรถบรรทุกน้ำ ตลอดจนสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล  เพื่อเป็นข้อมูลในการบูรณาการทรัพยากรและ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนซึ่งจะทำให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง

สำหรับการดำเนินการในระยะยาว  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะได้ประสานการดำเนินงานตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ในการวางยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติที่เกี่ยวข้อง กับน้ำทั้งระบบ ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง กับคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ตามแนวทาง Single Command โดยยึดปริมาณน้ำต้นทุนเป็นหลักในการบริหารจัดการน้ำ ให้สามารถระบุถึงแหล่งที่มาและการใช้น้ำ ในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ด้าน นายปรีชา    เร่งสมบูรณ์สุข   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า การแก้ปัญหาระยะสั้นได้สั่งการให้จัดหาภาชนะใส่น้ำ รถบรรทุกน้ำ แหล่งน้ำดิบ เครื่องสูบน้ำ และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการช่วยเหลือประชาชน ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลางและระยะยาว  ได้เตรียมงบประมาณ 150 ล้านบาท ให้จังหวัดละ 2 ล้านบาท เพื่อบูรณาการขุดลอกคูคลองเพื่อให้เส้นทางน้ำแต่ละพื้นที่ได้มีการเชื่อมโยงกัน เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการเข้าหาแหล่งน้ำ

 


LastUpdate 22/02/2556 11:25:33 โดย : Admin
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 12:48 pm