บลจ.กรุงศรี เสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศ 6M3(KFFIF6M3) อายุประมาณ 6 เดือน เสนอขายระหว่างวันที่ 12 – 18 มี.ค. 56 ลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท จ่ายผลตอบแทนประมาณ 3.00% ต่อปี
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด (บลจ.กรุงศรี)เปิดเผยว่า “บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศ 6M3(KFFIF6M3) อายุประมาณ 6 เดือน มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ เช่น เงินฝากธนาคาร Union National Bank (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) สัดส่วนการลงทุน 20% เงินฝากธนาคาร Bank of China (สาขามาเก๊า , สาธารณรัฐประชาชนจีน) สัดส่วนการลงทุน 10% เงินฝากธนาคาร Commercial Bank of Qatar (กาตาร์) สัดส่วนการลงทุน 10% ตราสารหนี้ ECP รับประกันโดยธนาคาร Sberbank of Russia สัดส่วนการลงทุน 15% ตราสารหนี้ ECP รับประกันโดยธนาคารGazprombank OJSC (รัสเซีย) สัดส่วนการลงทุน 15% ตราสารหนี้ EMTN ออกโดยธนาคาร Banco Santander Brasil S.A. (บราซิล) สัดส่วนการลงทุน 15% และตราสารหนี้ EMTN ออกโดยธนาคาร Banco Itau Unibanco S.A (บราซิล) สัดส่วนการลงทุน 15%และกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติประมาณ 3.00 % ต่อปี และหลังครบกำหนดอายุโครงการบริษัทจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารเงิน (KFCASH) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนต่อไป”
“กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศ 6M3(KFFIF6M3) เป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้เหมาะกับนักลงทุนที่มองหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและต้องการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก และสามารถลงทุนได้เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน” ”
นายฉัตรพี กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐฯมีการขยายตัวเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยตลาดแรงงานและตลาดที่อยู่อาศัยปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ผลกระทบจากการสิ้นสุดมาตรการภาษีจะเริ่มเห็นในเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ทางด้านดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐฯปรับตัวขึ้นมากกว่าที่คาดในเดือนกุมภาพันธ์ และการใช้จ่ายส่วนบุคคลยังคงเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม นอกจากนี้ ผลการทดสอบภาคธนาคารภายใต้ภาวะวิกฤตของเฟดบ่งชี้ว่า ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ 17 จาก 18 แห่งมีเงินทุนมากพอที่จะรองรับการทรุดตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจ จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาดี ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนเป็นไปในทางบวก ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น และเส้นอัตราผลตอบแทนมีลักษณะชันมากขึ้น ถึงแม้มาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายโดยอัตโนมัติ (sequestration) มูลค่า 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมก็ตาม ขณะที่ทางด้านธนาคารกลางยุโรปมีมติไม่เป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ย และธนาคารกลางยุโรปได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงจากเดิมคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 0.3 เป็นหดตัวร้อยละ 0.4 และคาดว่าจีดีพีปี 2557 จะขยายตัวร้อยละ 1.0 จากคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 1.2”
ข่าวเด่น