ย้อนหลังไปหลายสิบปี ก่อนที่รถญี่ปุ่นจะเข้ามาตีตลาดเมืองไทย ในยุคที่เส้นทางการคมนาคมยังไม่สะดวกสบายเท่าทุกวันนี้ ชาวนนทบุรีในยุคนั้นนิยมใช้ "รถเฟียต รุ่น 500" ซึ่งมีถิ่นฐานต้นกำเนิดการผลิตในประเทศอิตาลี เพราะมีรูปทรงขนาดกะทัดรัด สามารถซอกซอนไปตามตรอกซอกซอย ช่วยสร้างความสะดวกแก่การขนผลหมากรากไม้จากเรือกสวนไร่นาไปขายยังตลาดสดได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นรถแท็กซี่คันแรกๆ ที่วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารในชุมชนนั้นๆ
ปัจจุบัน แม้กาลเวลาจะทำให้ปริมาณของรถเฟียต 500 ลดจำนวนลง ทว่าจำนวนที่มีเพียงน้อยนิดก็ยังคงทำหน้าที่รับ-ส่งผู้โดยสารไม่เเปลี่ยนแปลง จนถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ที่น่าภูมิใจของเมืองนนทบุรีไปเลย
รถเฟียต 500 มี 2 แบบคือแบบที่เปิดประทุน ไม่มีประตู ด้านข้างมีเพียงขอบขึ้นมากั้นป้องกันไม่ให้คนตกรถเท่านั้น
ส่วนอีกแบบมีประตูคล้ายรถเก๋ง แต่ที่นิยมนำมาขับรับจ้างจะเป็นแบบเปิดประทุน มีประตู เวลาฝนตกไม่เปียก แต่นำมาขับเป็นรถรับ-ส่งไม่ได้
เปิดเข้าออกและขนผักไม่สะดวก นิยมใช้แบบเปิดประทุน ตอนเช้าเปิดเอาผ้าใบลงมา พอช่วงสายแดดร้อนก็นำมาปิด
เครื่องยนต์รถเฟียต 500 ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศจึงอยู่ได้ทนทาน พอมาสมัยนี้อากาศร้อนมากขึ้นทำให้เครื่องยนต์ใช้การได้ไม่ดี
ประกอบกับอะไหล่ที่เริ่มหายากขึ้นไปตามปริมาณรถที่มีจำนวนลดลง บรรดาเจ้าของรถเฟียต 500 จึงประยุกต์นำเอาเครื่องยนต์ซูบารุ
ระบบเครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยน้ำ เครื่องยนต์ของประเทศญี่ปุ่นมาใช้แทน
ผู้หลงไหลในรถชนิดนี้บอกว่า เฟียต 500 ไม่ใช่รถสวย แต่น่ารัก มีความคลาสสิก รถแบบนี้มีไม่มากมีเสน่ห์ตรงลักษณะรูปทรงของรถเป็นทรงมน รถสมัยใหม่เป็นลักษณะเหลี่ยมๆ รถเฟียตน่ารัก แต่ไม่เหมาะสำหรับขับทางไกล เพราะเป็นรถเล็ก ทำให้รถ 10 ล้อหรือรถใหญ่มองไม่เห็น
เมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว รถเฟียตราคา 3-4 หมื่น ถือว่าแพงมาก ปัจจุบันจะหาซื้อรถเฟียตสักคันได้ยาก นอกจากนี้ราคาก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 3-4 แสนบาทต่อคัน รถเฟียต 500 นี้ เป็นรถตำนานของจังหวัดนนทบุรี เพราะในสมัยก่อนนำมาเป็นรถแท็กซี่ วิ่งรับส่งผู้โดยสาร แต่มาระยะหลังมีคนเห็นคุณค่าในความสวยงามของเจ้าเฟียตน้อย จึงนำมาตกแต่งให้สวยงาม ขับอวดสายตาผู้คนทั่วไป
ข่าวเด่น