สรุปการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
หมายเหตุ ข้อมูลที่นำมาคำนวนมาจาก Bisnews และ DailyFX.com และการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของสินทรัพย์คิดจากราคาเปิดและราคาปิดในรอบสัปดาห์ ขณะที่การเหวี่ยงตัวคิดจากราคาสูงสุดและต่ำสุดของสัปดาห์
สรุปการเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
การเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการแกว่งตัวตามตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯอย่างมีนัยสำคัญ โดยการประกาศตัวเลขการประมาณการณ์ GDP ไตรมาสแรกครั้งที่ 2 ได้ปรับตัวลดลงจากครั้งแรกที่ระดับ 2.5% มาอยู่ที่ 2.4% และตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานประจำสัปดาห์ได้ปรับเพิ่มขึ้นสูงถึง 10,000 ราย ก็ได้เป็นแรงผลักดันให้ราคาทองคำขึ้นแตะบริเวณ 1,420 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามในบริเวณดังกล่าวได้มีแรงเทขายจำนวนมากอยู่ ประกอบกับตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในท้ายสัปดาห์ได้กลับมาดีอีกครั้ง ทำให้ฉุดรั้งราคาทองคำลงมาที่บริเวณ 1,390 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และโดยรวมทั้งสัปดาห์ราคาทองคำได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.02% เท่านั้น
ประเมินสถานการณ์และทิศทางราคาทองคำในสัปดาห์นี้
ราคาทองคำ : แนวรับ 1,370(19,600) 1,350(19,300) 1,320(18,900)
แนวต้าน 1,430(20,300) 1,450(20,700) 1,480 (21,100)
หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) และผลการรายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟด (FOMC MEETING MINUTES) ครั้งล่าสุด ได้มีการส่งสัญญาณว่าอาจมีการลดวงเงินมาตรการคิวอีลง หากสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดแรงงาน ส่งผลให้ราคาทองคำผันผวนไปตามการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ทำให้สัปดาห์นี้สิ่งสำคัญที่สุดของสหรัฐฯจะอยู่ที่การเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรฯและอัตราการว่างงาน ซึ่งมีเป้าหมายอัตราการว่างงานอยู่ในระดับ 6.5% ซึ่งหากตัวเลขเหล่านี้ได้ปรับตัวดีขึ้น ก็จะส่งผลต่อความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลดวงเงินคิวอีให้เพิ่มมากขึ้นและราคาทองคำอาจถูกกดดันปรับลงอีกครั้งได้
ขณะที่ทางฝั่งยุโรปนั้นต้องให้ความสนใจไปที่การประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Minimum Bid Rate) ซึ่งในการประชุมครั้งล่าสุดได้มีการปรับลดลง 0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของยูโรโซนที่กำลังเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และทางประธานธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ยังได้ให้ความเห็นว่า พร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก หากภาวะเศรษฐกิจของยูโรโซนยังไม่ดีขึ้น รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงต่ำกว่า 0% ด้วย ซึ่งส่งผลให้ราคาทองคำปรับขึ้นจากการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนั้น ดังนั้นแล้วหากการประชุมในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้มีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยจากทางอีซีบี ก็อาจส่งผลต่อการแกว่งตัวของราคาทองคำได้ นอกจากนี้ยังต้องติดตามด้วยว่าการแถลงการณ์ของประธานอีซีบีหลังการประชุมได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจของยูโรโซนอย่างไรบ้าง
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ว่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาทองคำจะปรับลงมาที่บริเวณ 1,390 ดอลลาร์ต่ออนซ์ แต่เป็นเพียงการย่อตัวลงในการปรับฐานระยะสั้นเท่านั้น หลังจากที่ราคาทองคำยังไม่สามารถผ่านบริเวณ 1,420 ดอลลาร์ต่อออนซ์ไปได้ ดังนั้นการลงทุนอาจเน้นเข้าซื้อเก็งกำไรเมื่อมีการย่อตัวของราคาลงมาและวางจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง โดยยังมีแนวต้านบริเวณ 1,420-1,430 ดอลลาร์ต่อออนซ์เป็นด่านแรกที่ราคาจะต้องเผชิญกับแรงเทขายทำกำไรออกมาก่อนที่จะขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญถัดไปบริเวณ 1,450-1,480 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ขณะที่แนวรับสำคัญได้แก่ 1,370 - 1,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์
* ที่มา Bisnews และ foexfactory.com ข้อมูลวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้
ข่าวเด่น