เฟดจะลด QE ในเดือนกันยายนไหมหนอ?
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมิน อาจเร็วเกินไปที่เฟดจะตัดสินใจลดขนาด QE ในการประชุมเดือนหน้า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่แข็งแกร่งพอ แม้ตัวเลขการว่างงานแตะร้อยละ 7.4
เตือนตลาดผันผวนเดือนกันยายน หลังนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดเฟดอาจลดขนาด QE ครั้งแรก
ประเด็นหนึ่งที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด จะเริ่มลดปริมาณการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่หนุนด้วยสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือเรียกสั้นๆ ว่า มาตรการ QE3 (Third round of quantitative easing) ครั้งแรกเมื่อใด คงเป็นคำถามที่กวนใจนักลงทุนทั่วโลกอยู่ไม่น้อย ผิดกับเมื่อช่วงต้นปีที่ตลาดการเงินดูเหมือนว่าจะไม่สนใจประเด็นดังกล่าวเลย ถึงกับขนาดที่หลายฝ่ายได้ขนานนามมาตรการนี้ว่า QE Infinity ด้วย เพราะเชื่อว่ามันจะมีอยู่ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
แต่ถ้อยแถลงของนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ในผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 18-19 มิ.ย.ก็ทำให้นักลงทุนตระหนักได้ถึงความจริงที่ว่า QE3 จะไม่ได้อยู่ไปชั่วฟ้าดินสลาย โดยประธานเฟดได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวสอดคล้องกับประมาณการของเฟด การลดปริมาณการเข้าซื้อตราสารในมาตรการ QE จะเกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้” ซึ่งเฟดมองว่าอัตราการว่างงานจะอยู่ที่ร้อยละ 7.2-7.3 ภายในสิ้นปีนี้ และ “หากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นต่อเนื่อง มาตรการ QE น่าจะสิ้นสุดลงกลางปี 2557 ซึ่งขณะนั้นอัตราการว่างงานน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 7”
ความโกลาหลของราคาสินทรัพย์ที่ตอบสนองราวกับว่ามาตรการ QE กำลังจะหยุดลงในเร็ววันนี้ ทำให้นายเบอร์นันเก้ ต้องออกมาสื่อสารกับตลาดใหม่ในถ้อยแถลงต่อสภาคองเกรสในเดือนกรกฎาคมว่า เฟดไม่ได้กำหนดการปรับเปลี่ยนมาตรการ QE ไว้ล่วงหน้า ดังนั้น ถ้าหากมุมมองของสภาวะการจ้?างงานออกมาแย่กว่าที่คาดไว้ เฟดอาจตัดสินใจคงระดับการเข้าซื้อสินทรัพย์ใน ปั?จจุบันไปอีกระยะหนึ่ง ประเด็นหลักจึงอยู่ที่แนวโน้มของอัตราการว่างงานในสหรัฐฯ จะสามารถลดต่ำกว่าร้อยละ 7.3 ได้หรือไม่
จากการวิเคราะห?พบว?าการฟ??นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ (GDP) ในช?วงที่ผ?านมา ยังคงไม?แข็งแกร่งเพียงพอที่จะทําให?อัตราการว?างงานปรับตัวลดลงได้จริง เพราะการเติบโตเพียงร้อยละ 1.7 ในไตรมาสที่สอง และตัวเลขไตรมาสแรกที่ถูกปรับลดเหลือร้อยละ 1.1 เท่านั้น น่าจะทำให้อัตราการว่างงานปัจจุบันยังคงลอยเหนือระดับร้อยละ 7.5 เพราะฉะนั้น ตัวเลขอัตราการว่างงานล่าสุดที่ร้อยละ 7.4 อาจถูกบิดเบือนได้จากสัดส่วนของผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน (Participation rate) ลดลงมากเป็นพิเศษ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากประชาชนบางส่วนตัดสินใจที่จะเลิกหางานโดยถาวร ทำให้ตัวเลขอัตราการว่างงานอาจต่ำกว่าความเป็นจริง
เมื่อพิจารณาในส่วนของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เราพบว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อเดือนราว 1.6 แสนตำแหน่ง (นับแต่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่มีการจ้างงานน้อยที่สุดจนถึงปัจจุบัน) ซึ่งหากอิงตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวต่อเนื่องไปข้างหน้า การจ้างงานจะกลับสู่ภาวะปกติ (เทียบเท่ากับภาวะปกติในเดือนมกราคม 2551) ในช่วงไตรมาสสามของปี 2557 ซึ่งมีนัยยะว่า การฟื้นตัวของตลาดแรงงานอาจจะล่าช้ากว่าที่นายเบน เบอร์นันเก้ส่งสัญญาณไว้ สอดคล้องกับมุมมองของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีที่ว่าการเริ่มถอน QE น่าจะเกิดในช่วงปลายปี 2556 มากกว่า
นอกจากนี้ ความกังวลต?อประเด็นเงินเฟ?อที่อยู?ในระดับต่ำ (Disinflation) ซึ่งเฟดกล?าวไว?ในรายงานวานนี้ว?า “เงินเฟ?อที่ทรงตัวต่ำกว?าระดับ 2% ช?วงระยะเวลาหนึ่งอาจก?อให?เกิดความเสี่ยงต?อเศรษฐกิจ” น่าจะเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เฟดยังคงดำเนินมาตรการ QE ไปอีกซักระยะหนึ่ง อย่างน้อยจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับมาส่งสัญญาณเร่งตัวขึ้นบ้าง
โดยสรุป ถึงแม้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าการเริ่มถอนมาตรการ QE น่าจะเกิดครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ โดยเฉพาะเมื่ออัตราการว่างงานปรับตัวลดลงมาสู่ระดับร้อยละ 7.4 ในเดือนกรกฎาคม แต่ศูนย?วิเคราะห?เศรษฐกิจทีเอ็มบียังประเมินว่ากันยายนอาจเร็วเกินไปที่คณะกรรมการจะตัดสินใจเช่นนั้น โดยเฟดน่าจะรอถึงช่วงปลายปีเพื่อดูสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนเสียก่อน อย่างไรก็ดี แม้การลดขนาด QE ครั้งแรกอาจไม่เกิดในการประชุมครั้งหน้า แต่การคาดการณ์ของตลาดดังกล่าว จะก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินเพิ่มมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะอย่างน้อยที่สุด เรากำลังนับถอยหลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่เฟดจะตัดสินใจดำเนินมาตรการลดปริมาณเงินดอลลาร์ฯ ที่เอ่อล้นอยู่ในระบบการเงิน เข้าไปทุกขณะ
ข่าวเด่น