สรุปการเคลื่อนไหวในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาทองคำในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาเหวี่ยงตัวในระดับ 40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปิดตัวลบลงไป 3.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยการขยับขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์เกิดขึ้นเนื่องจากความตึงเครียดในซีเรีย ที่กระแสข่าวค่อนข้างรุนแรง สืบเนื่องจากสหรัฐฯนั้นพร้อมที่จะเปิดฉากเข้าจู่โจม ส่งผลให้ช่วงครึ่งสัปดาห์แรกราคาทองคำทำจุดสูงสุดที่ 1,433 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามเมื่อ เมื่อส.ส.สหรัฐมีความเห็นว่า การจู่โจมครั้งนี้ควรรอความเห็นชอบจากสภาคองเกรสก่อน อีกทั้งอังกฤษยังคงอยากให้รอผลการตรวจสอบจากยูเอ็น ส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวลงอย่างรวดเร็วและราคาทองคำก็ปรับตัวลดตามลงด้วย ขณะที่ตัวเลขการประมาณการจีดีพีไตรมาสที่ 2 ครั้งที่ 2 ของสหรัฐฯ รวมไปถึงตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานได้ออกมาค่อนข้างดี สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันราคาทองคำในช่วงท้ายสัปดาห์
ประเมินสถานการณ์และทิศทางราคาทองคำในสัปดาห์นี้
ราคาทองคำ : แนวรับ 1,370(20,800) 1,340(20,360) 1,310(19,900)
แนวต้าน 1,430(21,740) 1,450(22,040) 1,490 (22,660)
สำหรับสัปดาห์นี้คาดว่าราคาทองคำจะมีความผันผวนค่อนข้างมาก เนื่องจากจะมีการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมถึงจะมีการประชุมของธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) ซึ่งจะประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Minimum Bid Rate) อีกทั้งยังมีการประชุมของ G20 โดยตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจนั้นจะเน้นไปที่สหรัฐฯเป็นหลัก โดยช่วงกลางดึกของวันพุธจะมีการสรุปภาวะเศรษฐกิจซึ่งจัดทำโดย FOMC (Beige Book) ตามมาในวัพฤหัสบดีด้วยการประกาศตัวเลขการจ้างงานของ ADP และทิ้งท้ายในวันศุกร์ด้วย ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงาน ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขสำคัญที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)ให้ความสำคัญในการประเมินสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน โดยเฉพาะมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ(คิวอี)
ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศคงต้องติดตามเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงินบาทที่กำลังเป็นประเด็นค่อนข้างมาก จากการอ่อนค่าอย่างหนักในรอบ 3 ปี เนื่องจากเงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นค่อนข้างมาก อีกทั้งความกังวลถึงการยุติมาตรการคิวอี ยังกดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าด้วยเช่นกัน
กลยุทธ์การลงทุน
ราคาทองคำปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า แม้สัปดาห์ที่แล้วจะไม่สามารถปิดเหนือแดนบวกได้ เนื่องจากเมื่อราคาทองคำเข้าสู่ระดับ 1,400-1,430 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็เกิดแรงขายทำกำไรค่อนข้างมาก ดังนั้นในสัปดาห์นี้ อาจต้องเน้นการเก็งกำไรระยะสั้นไปก่อน โดยควรรอซื้อเมื่อราคาทองคำเผชิญกับแรงขายทำกำไร ขณะที่จุดขายทำกำไรอาจพิจารณาแนวต้าน สำหรับกรอบแนวรับแนวต้านที่สำคัญ ได้แก่แนวรับที่ 1,370 - 1,340 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และแนวต้านที่ 1,450 - 1,490 ดอลลาร์ต่อออนซ์
การประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์หน้า
วันจันทร์ที่ 2 ก.ย. 14.15 น. ยุโรป ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของสเปน 50.1 49.8
14.45 น. ยุโรป ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของอิตาลี 50.7 50.4
15.00 น. ยุโรป ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม 51.3 51.3
ทั้งวัน สหรัฐ วันหยุดธนาคาร(วันแรงงาน) - -
วันอังคารที่ 3 ก.ย. 08.00 น. จีน ดัชนี PMI ภาคบริการ - 54.1
14.00 น. ยุโรป การว่างงานของสเปน -5.2 K -64.9 K
20.00 น. สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม 53.9 53.9
21.00 น. สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของ ISM 54.2 55.4
วันพุธที่ 4 ก.ย. 14.15 น. ยุโรป ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของสเปน 49.3 48.5
14.45 น. ยุโรป ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมของอิตาลี 49.2 48.7
15.00 น. ยุโรป ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม 51 51
16.00 น. ยุโรป ยอดค้าปลีก 0.5% -0.5%
19.30 น. สหรัฐ ดุลการค้า -38.6 B -34.2 B
ตี 1 สหรัฐ Beige Book - -
วันพฤหัสบดีที่ 5 ก.ย. 18.45 น. ยุโรป Minimum Bid Rate 0.50% 0.50%
19.30 น. สหรัฐ ตัวเลขการจ้างงานของ ADP 181 K 200 K
19.30 น. ยุโรป การแถลงการณ์ของประธานอีซีบี - -
19.30 น. สหรัฐ การขอรับสวัสดิการการว่างงานประจำสัปดาห์ 330 K 331 K
21.00 น. สหรัฐ ดัชนี PMI ภาคบริการของ ISM 55.2 56
22.00 น. สหรัฐ ตัวเลขการสต็อกน้ำมันดิบ - 3.0 M
ทั้งวัน ทั้งหมด G20 Meetings(วันแรก) - -
วันศุกร์ที่ 6 ก.ย. 13.00 น. ยุโรป ดุลการค้าของเยอรมนี 15.9 B 15.7 B
17.00 น. ยุโรป ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนี -0.3% 2.4%
19.30 น. สหรัฐ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร 181 K 162 K
19.30 น. สหรัฐ อัตราการว่างงาน 7.4% 7.4%
ทั้งวัน ทั้งหมด G20 Meetings(วันสุดท้าย) - -
หมายเหตุ: ระดับความสำคัญของเหตุการณ์ มาก ปานกลาง น้อย ประกาศแล้ว, ** เป็นตัวเลขจริงที่มีการประกาศออกมา
* ที่มา Bisnews และ foexfactory.com ข้อมูลวันที่ 31 สิงหาคม 2556 ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้
ข่าวเด่น